ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – หาดใหญ่โพลสำรวจความคิดเห็นพบว่าคนภาคใต้ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ เชื่อเป็นการเอื้อให้นักการเมืองได้รับผลประโยชน์ และไม่พอใจบทบาทของพรรคร่วมรัฐบาล ระบุถ้าจะทำต้องทำประชามติก่อน
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จาก 1,601 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม ที่ผ่านมา
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ผลสำรวจหาดใหญ่โพล โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.9 เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ตามมติของพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่านักการเมืองเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการเมือง มีเพียงร้อยละ 25.1 ที่เห็นว่าประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 59.7 ไม่พอใจแนวคิดและบทบาทของพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเพียงร้อยละ 19.7 พอใจกับแนวคิดและบทบาทของพรรคร่วมรัฐบาล และร้อยละ 20.9 ไม่แสดงความคิดเห็น
จากผลสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ประชาชนไม่เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามมาตราพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 ไม่เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 ว่าด้วยการทำหนังสือสัญญาต้องได้รับเห็นชอบจากรัฐสภา มีเพียงร้อยละ 34.5 เห็นด้วยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ทั้งนี้ในส่วนมาตรา 94 ประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบเขตเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.1 เห็นว่ารูปแบบเขตเลือกตั้งเขตละ 3 คนหรือรูปแบบเดิมของรัฐธรรมนูญปี 2550 ร้อยละ 41.3 เห็นว่าควรมีรูปแบบเขตเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว และร้อยละ 13.6 เห็นว่าควรเป็นรูปแบบเขตเลือกตั้งเขตจังหวัด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 49.2 เห็นว่าควรมีการทำประชามติ มากที่สุด รองลงมา ไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้ง สสร.3 มาจากกลุ่มอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 19.1 และ 11.4 ตามลำดับ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 11.4 ที่เห็นว่า ส.ส.และ ส.ว.ควรดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จาก 1,601 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม ที่ผ่านมา
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ผลสำรวจหาดใหญ่โพล โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.9 เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ตามมติของพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่านักการเมืองเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการเมือง มีเพียงร้อยละ 25.1 ที่เห็นว่าประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 59.7 ไม่พอใจแนวคิดและบทบาทของพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเพียงร้อยละ 19.7 พอใจกับแนวคิดและบทบาทของพรรคร่วมรัฐบาล และร้อยละ 20.9 ไม่แสดงความคิดเห็น
จากผลสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ประชาชนไม่เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามมาตราพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 ไม่เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 ว่าด้วยการทำหนังสือสัญญาต้องได้รับเห็นชอบจากรัฐสภา มีเพียงร้อยละ 34.5 เห็นด้วยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ทั้งนี้ในส่วนมาตรา 94 ประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบเขตเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.1 เห็นว่ารูปแบบเขตเลือกตั้งเขตละ 3 คนหรือรูปแบบเดิมของรัฐธรรมนูญปี 2550 ร้อยละ 41.3 เห็นว่าควรมีรูปแบบเขตเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว และร้อยละ 13.6 เห็นว่าควรเป็นรูปแบบเขตเลือกตั้งเขตจังหวัด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 49.2 เห็นว่าควรมีการทำประชามติ มากที่สุด รองลงมา ไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้ง สสร.3 มาจากกลุ่มอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 19.1 และ 11.4 ตามลำดับ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 11.4 ที่เห็นว่า ส.ส.และ ส.ว.ควรดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย