xs
xsm
sm
md
lg

รอง ผอ.ศอ.บต.ชี้เยาวชนไม่ตกเป็นเหยื่อกลุ่มป่วนใต้ พร้อมพัฒนาอาชีพลดการว่างงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยะลา - รอง (ผอ.ศอ.บต.) ชี้เด็กและเยาวชนต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและตกเป็นเครื่องของกลุ่มป่วนใต้ พร้อมส่งเสริมพัฒนาทางด้านอาชีพแก่เยาวชนที่ว่างงาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอีกระดับหนึ่ง

วันนี้ (28 ม.ค.) ที่ห้องประชุมชั้นล่าง อาคารสำนักงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อ.เมือง จ.ยะลา นายวีระยุทธ สุขเจริญ รอง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ฝ่ายยุติธรรม) รอง (ผอ.ศอ.บต.) ได้มีการประชุมหารือเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการกระทำของเด็ก และ เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชนกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก ผู้อำนวยการสถานพินิจเด็กและเยาวชน ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติของทั้ง 5 จังหวัดได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และ สตูล และ ผศ.ดร.ปาริชาต สุวรรณบุปผา รอง ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษา และ พัฒนาสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมในการประชุม

สำหรับการประชุมในครั้งนี้สืบเนื่องจากในปัจจุบันพบว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างการควบคุมตัวและรายงานตัวมีแนวโน้ม และ ความเสี่ยงที่จะถูกชักจูง เบี่ยงเบนให้เข้าร่วมในการกระทำความผิด หรือ เข้าร่วมในการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นและป้องกันมิให้กลุ่มเด็กและเยาวชนหวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำ หรือ ก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต จึงได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อดูแลเด็กและเยาวชนโดยตรง

นายวีระยุทธ สุขเจริญ รอง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ฝ่ายยุติธรรม) กล่าวว่า เด็กและเยาวชนในประเทศไทย ปัจจุบันนี้เป็นบุคคลที่ต้องให้ความสนใจเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากสภาพสังคมโลกที่อยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ หรือ เรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีสิ่งยั่วยวนยั่วยุ ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้วิจารณญาน หรือ วุฒิภาวะในการกลั่นกรองข้อมูลต่างๆ ทำให้เด็กและเยาวชนหลงไปในทางที่ไม่ถูกต้องในการดำเนินชีวิตต่อไป

โดยเฉพาะในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา นั้น ก็ประสบปัญหาเดียวกันกับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบ หรือ กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ได้พยายามที่จะนำเด็ก และ เยาวชนไปเป็นเครื่องมือในการก่อเหตุร้าย ซึ่งส่วนมากครอบครัวของชาวมุสลิมในพื้นที่มักจะส่ง บุตร – หลาน ของตน เข้าเรียนตามสถาบันปอเนาะ มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเรียนในภาคสามัญค่อนข้างน้อย เกิดปัญหาเยาวชนจบแล้วมีการว่างงานตามมา

ซึ่งในขณะนี้ทางศูนย์อำนวยการบริหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกับสถานพินิจเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยื่นมือเข้าช่วยเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการดูแลของสถานพินิจเด็กและเยาวชนกว่า 1,000 คน ซึ่งเมื่อเด็กออกจากสถานพินิจแล้ว จะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมในเรื่องของการศึกษา หรือ ส่งเสริมทางด้านการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบความประพฤติในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ผ่านการบำบัดสภาพร่างกาย และ พื้นฟูจิตใจ หันกลับไปเกี่ยวข้องกับขบวนการของยาเสพติด หรือ กลับไปร่วมขบวนการเพื่อก่อเหตุความรุ่นแรงในพื้นที่อีกต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น