ระนอง-สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระนอง ออกประกาศเตือนประชาชนในที่เสี่ยงภัย ให้เฝ้าระวังภัยธรรมชาติ จากผลกระทบพายุดีเปรสชั่น ระหว่างวันที่ 20-23 มกราคม 53 นี้
นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ตรวจสอบสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับปรากฏหย่อมความกดอากาศต่ำ เพิ่มกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน ในทะเลจีนใต้ตอนล่าง จะเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ของประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 20-23 มกราคม 2553 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมาก ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการป้องกัน
รวมทั้งระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ 2-3 วันนี้ บริเวณที่ราบลุ่ม ริมน้ำ ที่ลาดเชิงเขา ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก หรือดินถล่ม สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาคลื่นลมในทะเล อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย จึงขอให้ทุกหน่วยงาน และอำเภอดำเนินการติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศโดยใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยทราบอย่างกว้างขวาง พร้อมแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ลุ่มริมน้ำ และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดทราบเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยผ่านทางวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่อย่างรวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ และกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับอำเภอให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ขอให้เตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครเตือนภัย “มิสเตอร์เตือนภัย” และอาสาสมัครชุดปฏิบัติการค้นหา และกู้ภัยตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับอำเภอให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันฝ่ายพลเรือนของอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์ และรายงานสถานการณ์ให้จังหวัดทราบทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะยุติทางโทรศัพท์/โทรสาร หมายเลข 0-7786-2093 และ 0-7786-2095
นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ตรวจสอบสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับปรากฏหย่อมความกดอากาศต่ำ เพิ่มกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน ในทะเลจีนใต้ตอนล่าง จะเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ของประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 20-23 มกราคม 2553 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมาก ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการป้องกัน
รวมทั้งระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ 2-3 วันนี้ บริเวณที่ราบลุ่ม ริมน้ำ ที่ลาดเชิงเขา ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก หรือดินถล่ม สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาคลื่นลมในทะเล อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย จึงขอให้ทุกหน่วยงาน และอำเภอดำเนินการติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศโดยใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยทราบอย่างกว้างขวาง พร้อมแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ลุ่มริมน้ำ และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดทราบเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยผ่านทางวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่อย่างรวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ และกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับอำเภอให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ขอให้เตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครเตือนภัย “มิสเตอร์เตือนภัย” และอาสาสมัครชุดปฏิบัติการค้นหา และกู้ภัยตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับอำเภอให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันฝ่ายพลเรือนของอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์ และรายงานสถานการณ์ให้จังหวัดทราบทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะยุติทางโทรศัพท์/โทรสาร หมายเลข 0-7786-2093 และ 0-7786-2095