ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – หาดใหญ่โพล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พบว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย เรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริมพลังงานลมเป็นพลังงานทดแทน
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ ความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,196 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2552 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.4) มีอายุระหว่าง 36-45 ปี(ร้อยละ 39.4) องลงมา อายุ 18-25 ปี (ร้อยละ 33.2 ) และอายุ 26-35 ปี (ร้อยละ 19.4) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง ร้อยละ 39.4 รองลงมา เป็นนักเรียน/นักศึกษาและประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 25.1 และ23.9 ตามลำดับ
สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.5 ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งมากกว่าการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 (ร้อยละ 77.6) และร้อยละ 19.5 เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 48.7 มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 34.4 มั่นใจความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 16.9 มั่นใจความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้าฯในระดับมากถึงมากที่สุด
ประชาชนร้อยละ 28.4 เห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมพลังงานลม เป็นพลังงานทดแทนที่นำมาใช้ได้จริงในประเทศไทย มากที่สุด รองลงมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานขยะ คิดเป็นร้อยละ 25.1 13.6 และ 10.7 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 3.5 ที่เห็นว่าให้สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ ความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,196 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2552 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.4) มีอายุระหว่าง 36-45 ปี(ร้อยละ 39.4) องลงมา อายุ 18-25 ปี (ร้อยละ 33.2 ) และอายุ 26-35 ปี (ร้อยละ 19.4) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง ร้อยละ 39.4 รองลงมา เป็นนักเรียน/นักศึกษาและประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 25.1 และ23.9 ตามลำดับ
สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.5 ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งมากกว่าการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 (ร้อยละ 77.6) และร้อยละ 19.5 เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 48.7 มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 34.4 มั่นใจความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 16.9 มั่นใจความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้าฯในระดับมากถึงมากที่สุด
ประชาชนร้อยละ 28.4 เห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมพลังงานลม เป็นพลังงานทดแทนที่นำมาใช้ได้จริงในประเทศไทย มากที่สุด รองลงมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานขยะ คิดเป็นร้อยละ 25.1 13.6 และ 10.7 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 3.5 ที่เห็นว่าให้สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์