ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการสถาบันวิจัยเผยแนวปะการังฝั่งอันดามันฟื้นตัวดีขึ้นยกเว้นแนวปะการังใกล้ฝั่งที่มีสภาพเสื่อมโทรมลงเหตุจากการพัฒนาทางด้านต่างๆ ขณะที่การฟื้นฟูแนวปะการังทางสถาบันทำต่อเนื่อง
นางสาวนลินี ทองแถม นักวิชาการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลน ภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงสถานการณ์ปะการังในพื้นที่ฝั่งอันดามันว่า จากภาพรวมการสำรวจและติดตามสถานการณ์แนวปะการังในพื้นที่ฝั่งอันดามัน หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่า แนวปะการังเริ่มฟื้นตัวกลับมามีสภาพดีขึ้นกว่าเดิมมากโดยเฉพาะแนวปะการังที่อยู่ในบริเวณทะเลลึกที่ความเจริญทางด้านการท่องเที่ยวกระทบเข้าไปไม่ถึง ส่วนแนวปะการังที่อยู่ใกล้ฝั่งนั้นพบว่ามีสภาพที่แย่อยู่โดยเฉพาะแนวปะการังใกล้ฝั่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
“สำหรับสาเหตุที่แนวปะการังใกล้ฝั่งมีสภาพเสื่อมโทรม หรือฟื้นตัวได้ช้า ก็เนื่องจากพื้นที่บริเวณชายฝั่งมีการพัฒนาทางด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า การก่อสร้างโรงแรมที่พัก การพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว เมื่อมีการก่อสร้างเปิดหน้าดินมากตะกอนที่เกิดจากการเปิดหน้าดินเมื่อมีฝนตกก็จะไหลลงสู่ทะเลทำให้ตะกอนเหล่านี้ไปปกคลุมแนวปะการังทำให้แนวโน้มของการเสื่อมโทรมของแนวปะการังบริเวณใกล้ฝั่งมีสูงขึ้นด้วย” นางสาวนลินี กล่าวและว่า
สำหรับการฟื้นฟูแนวปะการังนั้น ขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินโครงการการฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณใกล้ชายฝั่งขึ้นโดยดำเนินการในพื้นที่บริเวณเกาะเฮ และเกาะแอล ในพื้นที่อำเภอเมือง จ.ภูเก็ต โดยการย้ายปลูกซึ่งปัจจุบันพบว่าแนวปะการังบริเวณดังกล่าวเริ่มมีการฟื้นตัวแล้วเช่นกัน และที่ผ่านมาได้มีการนำปะการังของกลางที่ได้จากการจับกุมไปปลูกเพิ่มด้วย
นอกจากนั้น ยังได้ดำเนินฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณเกาะพีพีเล จ.กระบี่ สำหรับการฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณเกาะพีพีเลนั้นทางสถาบันวิจัยฯได้ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ นักดำน้ำ ดำเนินโครงการฟื้นฟูแนวปะการังเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มดำเนินการการมาตั้งแต่ปี 2549 เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิถล่ม ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าแนวปะการังเริ่มที่จะฟื้นตัวกลับมา
สำหรับปีนี้ทางสถาบันวิจัยร่วมกับประชาชนนักดำน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการย้ายปลูกปะการังในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นในวันที่ 1 ธ.ค.2552
นางสาวนลินี ทองแถม นักวิชาการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลน ภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงสถานการณ์ปะการังในพื้นที่ฝั่งอันดามันว่า จากภาพรวมการสำรวจและติดตามสถานการณ์แนวปะการังในพื้นที่ฝั่งอันดามัน หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่า แนวปะการังเริ่มฟื้นตัวกลับมามีสภาพดีขึ้นกว่าเดิมมากโดยเฉพาะแนวปะการังที่อยู่ในบริเวณทะเลลึกที่ความเจริญทางด้านการท่องเที่ยวกระทบเข้าไปไม่ถึง ส่วนแนวปะการังที่อยู่ใกล้ฝั่งนั้นพบว่ามีสภาพที่แย่อยู่โดยเฉพาะแนวปะการังใกล้ฝั่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
“สำหรับสาเหตุที่แนวปะการังใกล้ฝั่งมีสภาพเสื่อมโทรม หรือฟื้นตัวได้ช้า ก็เนื่องจากพื้นที่บริเวณชายฝั่งมีการพัฒนาทางด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า การก่อสร้างโรงแรมที่พัก การพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว เมื่อมีการก่อสร้างเปิดหน้าดินมากตะกอนที่เกิดจากการเปิดหน้าดินเมื่อมีฝนตกก็จะไหลลงสู่ทะเลทำให้ตะกอนเหล่านี้ไปปกคลุมแนวปะการังทำให้แนวโน้มของการเสื่อมโทรมของแนวปะการังบริเวณใกล้ฝั่งมีสูงขึ้นด้วย” นางสาวนลินี กล่าวและว่า
สำหรับการฟื้นฟูแนวปะการังนั้น ขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินโครงการการฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณใกล้ชายฝั่งขึ้นโดยดำเนินการในพื้นที่บริเวณเกาะเฮ และเกาะแอล ในพื้นที่อำเภอเมือง จ.ภูเก็ต โดยการย้ายปลูกซึ่งปัจจุบันพบว่าแนวปะการังบริเวณดังกล่าวเริ่มมีการฟื้นตัวแล้วเช่นกัน และที่ผ่านมาได้มีการนำปะการังของกลางที่ได้จากการจับกุมไปปลูกเพิ่มด้วย
นอกจากนั้น ยังได้ดำเนินฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณเกาะพีพีเล จ.กระบี่ สำหรับการฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณเกาะพีพีเลนั้นทางสถาบันวิจัยฯได้ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ นักดำน้ำ ดำเนินโครงการฟื้นฟูแนวปะการังเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มดำเนินการการมาตั้งแต่ปี 2549 เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิถล่ม ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าแนวปะการังเริ่มที่จะฟื้นตัวกลับมา
สำหรับปีนี้ทางสถาบันวิจัยร่วมกับประชาชนนักดำน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการย้ายปลูกปะการังในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นในวันที่ 1 ธ.ค.2552