ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่จังหวัดสงขลา เร่งจับกุ้งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนัก และกำลังเข้าฤดูมรสุมของภาคใต้อาจทำให้น้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้ง ทั้งนี้เพื่อลดความภาวะขาดทุนด้านการเงิน
วันนี้ (10 พ.ย.) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ จ.สงขลา เริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนัก เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนกุ้งไม่กินอาหารโตช้า โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็ก 70 – 100 ตัว/กิโลกรัม รวมทั้งกำลังเข้าฤดูมรสุมของภาคใต้มีฝนตกหนักอาจทำให้น้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้ง จึงจำเป็นต้องรีบจับกุ้ง เพื่อลดความเสี่ยงถึงแม้ว่าราคาจะลดลงกว่าปรกติ แต่ก็ยังดีกว่าขาดทุนเพราะน้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้ง
นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย จ.สงขลา เปิดเผยว่า จากภาวะฝนตกหนักเนื่องจากเข้าสู่ฤดูมรสุมของภาคใต้ ได้เริ่มส่งกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ จ.สงขลา เช่น อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร ซึ่งมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งมากที่สุดใน จ.สงขลา เพราะจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและมีฝนตกหนัก ทำให้กุ้งที่เลี้ยงไว้กินอาหารน้อยลง
เนื่องจากอุณหภูมิน้ำเย็นลง โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็ก ขนาด 70 – 100 ตัว ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือของภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรจำเป็นต้องจับกุ้งก่อนกำหนด เพราะหากเลี้ยงต่อไปจะต้องเสี่ยงต่อภาวะขาดทุนจากภาวะต้นทุนค่าอาหารที่เพิ่มขึ้นและสภาพน้ำท่วมบ่อกุ้ง เนื่องจากเกษตรกรทุกคนทราบถึงผลกระทบที่ประสบปัญหามาทุกปี
ปัจจุบันราคากุ้งขนาดใหญ่ ขนาด 40 – 60 ตัว/กิโลกรัมราคาปรับขึ้น กก.ละ 5 บาท เนื่องจากกุ้งมีจำนวนน้อยเพราะเกษตรกรได้ทำการจับขายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ขนาดเล็ก ขนาด 70 – 100 ตัว/กก.ราคาเริ่มตกลง เพราะเกษตรกรเร่งจับกุ้งเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงฤดูมรสุมซึ่งจะส่งผลทำให้กุ้งออกสู่ตลาดมากเกินไปจนล้นตลาดและถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางทั้งแพกุ้งและห้องเย็นรวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงจากภาวะฝนที่ตกหนักติดต่อกันคือการเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้งที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างมหาศาล
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจึงต้องเฝ้าระวังโดยการติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกอย่างใกล้ชิด ในขณะที่รอคิวการจับกุ้งจากทีมงานที่รับจ้างจับกุ้งที่ในช่วงนี้คิวการจับกุ้งเต็มเหยียดตลอดทั้งเดือน เพราะเกือบทุกฟาร์มเลี้ยงกุ้งจะเร่งจับกุ้งในช่วงนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมบ่อกุ้ง
วันนี้ (10 พ.ย.) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ จ.สงขลา เริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนัก เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนกุ้งไม่กินอาหารโตช้า โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็ก 70 – 100 ตัว/กิโลกรัม รวมทั้งกำลังเข้าฤดูมรสุมของภาคใต้มีฝนตกหนักอาจทำให้น้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้ง จึงจำเป็นต้องรีบจับกุ้ง เพื่อลดความเสี่ยงถึงแม้ว่าราคาจะลดลงกว่าปรกติ แต่ก็ยังดีกว่าขาดทุนเพราะน้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้ง
นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย จ.สงขลา เปิดเผยว่า จากภาวะฝนตกหนักเนื่องจากเข้าสู่ฤดูมรสุมของภาคใต้ ได้เริ่มส่งกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ จ.สงขลา เช่น อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร ซึ่งมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งมากที่สุดใน จ.สงขลา เพราะจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและมีฝนตกหนัก ทำให้กุ้งที่เลี้ยงไว้กินอาหารน้อยลง
เนื่องจากอุณหภูมิน้ำเย็นลง โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็ก ขนาด 70 – 100 ตัว ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือของภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรจำเป็นต้องจับกุ้งก่อนกำหนด เพราะหากเลี้ยงต่อไปจะต้องเสี่ยงต่อภาวะขาดทุนจากภาวะต้นทุนค่าอาหารที่เพิ่มขึ้นและสภาพน้ำท่วมบ่อกุ้ง เนื่องจากเกษตรกรทุกคนทราบถึงผลกระทบที่ประสบปัญหามาทุกปี
ปัจจุบันราคากุ้งขนาดใหญ่ ขนาด 40 – 60 ตัว/กิโลกรัมราคาปรับขึ้น กก.ละ 5 บาท เนื่องจากกุ้งมีจำนวนน้อยเพราะเกษตรกรได้ทำการจับขายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ขนาดเล็ก ขนาด 70 – 100 ตัว/กก.ราคาเริ่มตกลง เพราะเกษตรกรเร่งจับกุ้งเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงฤดูมรสุมซึ่งจะส่งผลทำให้กุ้งออกสู่ตลาดมากเกินไปจนล้นตลาดและถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางทั้งแพกุ้งและห้องเย็นรวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงจากภาวะฝนที่ตกหนักติดต่อกันคือการเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อเลี้ยงกุ้งที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างมหาศาล
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจึงต้องเฝ้าระวังโดยการติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกอย่างใกล้ชิด ในขณะที่รอคิวการจับกุ้งจากทีมงานที่รับจ้างจับกุ้งที่ในช่วงนี้คิวการจับกุ้งเต็มเหยียดตลอดทั้งเดือน เพราะเกือบทุกฟาร์มเลี้ยงกุ้งจะเร่งจับกุ้งในช่วงนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมบ่อกุ้ง