พัทลุง - ประชาชนชาวจังหวัดพัทลุงร่วมกันแข่งขัน “ตีกลองพรก” ในเทศกาลลอยกระทง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งเดียวของภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรมด้วย
วันนี้ (2 พ.ย.) เทศบาลเมืองพัทลุงอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งเดียวภาคใต้ จัดแข่งขัน “กลองพรก” ครั้งที่ 8 ช่วงลอยกระทงที่บริเวณหาดแสนสุขลำปำ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง นายวาทิตย์ ไพศาลศิลป์ รองนายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง เป็นประธานเปิดการแข่งขันตีกลองพรก โดยมีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 46 ทีม ทั้งนี้การแข่งขันตีกลองพรกเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการส่งเสริมประเพณีลอยกระทง และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งเดียวของภาคใต้ให้คงอยู่คู่กับลูกหลานสืบไป
นายเกรียงไกร ชูแก้ว อายุ 39 ปี ผู้เข้าร่วมแข่งขันตีกลองพรก อยู่บ้านเลขที่ 186 ม.6 ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กล่าวว่า ปัจจุบันนั้นตนมีอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แต่รักและหลงไหลในกลองพรกมาตั้งแต่เยาว์วัย หลังจากว่างเว้นจากการขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างก็จะทำกลองพรก แต่จะทำเพื่อแข่งขันเท่านั้น โดยจะตระเวนแข่งขันบริเวณรอบนอกตัวเมืองพัทลุง ทั้ง ต.ท่าแค ต.สมหวัง และ อ.ป่าบอน
ทั้งนี้ ได้เริ่มทำการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2542 ในงานลอยกระทงที่บ้านทุ่งขึงหนัง ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน โดยเข้าทำการแข่งขันรุ่นเยาวชนและในปีแรกก็ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง หลังจากนั้นก็เข้าร่วมการแข่งขันมาตลอดทุกปี และจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญได้เข้าแข่งขันที่บริเวณหน้าโรงเรียนพาณิชยการพัทลุงบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นการแสดงกลุ่มพลังมวลชนในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จนกระทั่งในปี 2545 ทางเทศบาลเมืองพัทลุงก็รับโครงการดังกล่าวเข้ามาดูแล และจัดให้มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการขึ้นครั้งแรก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับ “กลองพรก” เป็นกลองที่ทำจากกะลามะพร้าว หุ้มด้วยหนังวัว เสียงจะมี 2 เสียง คือ เสียงทุ้ม และเสียงแหลม ส่วนความเป็นมานั้น ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง หลังจากออกพรรษาก็จะนำโพนมาตีพร้อมทำการแข่งขันเพื่อสร้างความสนุกสนาน แต่เมื่อเวลาทำการแข่งขันจะทำการแข่งขันเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น เลยเล็งเห็นความสำคัญของเด็กก็คิดหาวิธีให้เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรมด้วย จึงได้มีการคิดค้นประดิษฐ์กลองพรกขึ้นมาโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน และเริ่มทำการแข่งขันและแพร่หลายในเวลาต่อมา
วันนี้ (2 พ.ย.) เทศบาลเมืองพัทลุงอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งเดียวภาคใต้ จัดแข่งขัน “กลองพรก” ครั้งที่ 8 ช่วงลอยกระทงที่บริเวณหาดแสนสุขลำปำ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง นายวาทิตย์ ไพศาลศิลป์ รองนายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง เป็นประธานเปิดการแข่งขันตีกลองพรก โดยมีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 46 ทีม ทั้งนี้การแข่งขันตีกลองพรกเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการส่งเสริมประเพณีลอยกระทง และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งเดียวของภาคใต้ให้คงอยู่คู่กับลูกหลานสืบไป
นายเกรียงไกร ชูแก้ว อายุ 39 ปี ผู้เข้าร่วมแข่งขันตีกลองพรก อยู่บ้านเลขที่ 186 ม.6 ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กล่าวว่า ปัจจุบันนั้นตนมีอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แต่รักและหลงไหลในกลองพรกมาตั้งแต่เยาว์วัย หลังจากว่างเว้นจากการขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างก็จะทำกลองพรก แต่จะทำเพื่อแข่งขันเท่านั้น โดยจะตระเวนแข่งขันบริเวณรอบนอกตัวเมืองพัทลุง ทั้ง ต.ท่าแค ต.สมหวัง และ อ.ป่าบอน
ทั้งนี้ ได้เริ่มทำการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2542 ในงานลอยกระทงที่บ้านทุ่งขึงหนัง ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน โดยเข้าทำการแข่งขันรุ่นเยาวชนและในปีแรกก็ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง หลังจากนั้นก็เข้าร่วมการแข่งขันมาตลอดทุกปี และจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญได้เข้าแข่งขันที่บริเวณหน้าโรงเรียนพาณิชยการพัทลุงบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นการแสดงกลุ่มพลังมวลชนในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จนกระทั่งในปี 2545 ทางเทศบาลเมืองพัทลุงก็รับโครงการดังกล่าวเข้ามาดูแล และจัดให้มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการขึ้นครั้งแรก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับ “กลองพรก” เป็นกลองที่ทำจากกะลามะพร้าว หุ้มด้วยหนังวัว เสียงจะมี 2 เสียง คือ เสียงทุ้ม และเสียงแหลม ส่วนความเป็นมานั้น ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง หลังจากออกพรรษาก็จะนำโพนมาตีพร้อมทำการแข่งขันเพื่อสร้างความสนุกสนาน แต่เมื่อเวลาทำการแข่งขันจะทำการแข่งขันเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น เลยเล็งเห็นความสำคัญของเด็กก็คิดหาวิธีให้เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรมด้วย จึงได้มีการคิดค้นประดิษฐ์กลองพรกขึ้นมาโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน และเริ่มทำการแข่งขันและแพร่หลายในเวลาต่อมา