ศูนย์ข่าวหาดใหญ่–หาดใหญ่โพลชี้ประชาชนร้อยละ 39.2 เชื่อเหตุผลหยุดเดินรถไฟเพราะความไม่ปลอดภัยของในการให้บริการ ร้อยละ 38.1 ที่เห็นด้วยกับสหภาพในการหยุดเดินรถไฟ ร้อยละ 33.4 หนุนหาทางออกโดยตั้งโต๊ะเจราหาข้อยุติ และร้อยละ 66.0 เห็นควรให้นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แสดงความรับผิดชอบในกรณีอุบัติเหตุเขาเต่า
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสงขลา เรื่อง “ ประชาชนได้หรือเสียในการหยุดเดินรถไฟของสหภาพฯ ” เกี่ยวกับการหยุดเดินรถไฟของสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,098 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม 2552
โดยผลการสำรวจประชาชนร้อยละ 54.8 ไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถไฟของสหภาพฯ โดยมีข้อเรียกร้องเรื่องความปลอดภัยของประชาชน มีเพียงร้อยละ 38.1 ที่เห็นด้วยกับสหภาพในการหยุดเดินรถไฟ และร้อยละ 7.1 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 39.2 เชื่อว่าการหยุดเดินรถไฟมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยของประชาชนมากที่สุด รองลงมาคือสหภาพฯไม่ชอบการบริหารของผู้ว่าการรถไฟฯ และต้องการเพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการ คิดเป็นร้อยละ 29.1 และ 28.9 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการยุติปัญหาการหยุดเดินรถไฟพบว่าประชาชนร้อยละ 33.4 ควรมีการเปิดโต๊ะเจรจาหาข้อยุติร่วมกันมากที่สุด รองลงมาให้มีการเอาผิดทางวินัยกับพนักงานขับรถไฟ และมีการปฏิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 29.6 และ 19.9 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 เห็นควรให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แสดงความรับผิดชอบในกรณีอุบัติเหตุเขาเต่า มีเพียงร้อยละ 24.6 ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบในกรณีอุบัติเหตุเขาเต่า และร้อยละ 9.4 ไม่แสดงความคิดเห็น
ประชาชนร้อยละ 36.6 ต้องการให้มีการปฏิรูปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมากที่สุด รองลงมา มีการลงทุนในระบบรางรถไฟ และมีการเรียกเก็บสัมปทานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ของการรถไฟ คิดเป็นร้อยละ 34.4 และ 11.6 ตามลำดับ
ในส่วนความเป็นไปได้โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี พบว่า ประชาชนร้อยละ 49.7 เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการลงทุนในรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีเพียงร้อยละ 26.5 ไม่เกิดการลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และร้อยละ 23.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.5) อายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 42.2) รองลงมา มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 29.1) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 13.4) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาสถานภาพด้านอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 37.9) รองลงมา ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 30.6) และร้อยละ 18.2 เป็นนักเรียนและนักศึกษา
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสงขลา เรื่อง “ ประชาชนได้หรือเสียในการหยุดเดินรถไฟของสหภาพฯ ” เกี่ยวกับการหยุดเดินรถไฟของสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,098 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม 2552
โดยผลการสำรวจประชาชนร้อยละ 54.8 ไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถไฟของสหภาพฯ โดยมีข้อเรียกร้องเรื่องความปลอดภัยของประชาชน มีเพียงร้อยละ 38.1 ที่เห็นด้วยกับสหภาพในการหยุดเดินรถไฟ และร้อยละ 7.1 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 39.2 เชื่อว่าการหยุดเดินรถไฟมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยของประชาชนมากที่สุด รองลงมาคือสหภาพฯไม่ชอบการบริหารของผู้ว่าการรถไฟฯ และต้องการเพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการ คิดเป็นร้อยละ 29.1 และ 28.9 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการยุติปัญหาการหยุดเดินรถไฟพบว่าประชาชนร้อยละ 33.4 ควรมีการเปิดโต๊ะเจรจาหาข้อยุติร่วมกันมากที่สุด รองลงมาให้มีการเอาผิดทางวินัยกับพนักงานขับรถไฟ และมีการปฏิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 29.6 และ 19.9 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 เห็นควรให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แสดงความรับผิดชอบในกรณีอุบัติเหตุเขาเต่า มีเพียงร้อยละ 24.6 ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบในกรณีอุบัติเหตุเขาเต่า และร้อยละ 9.4 ไม่แสดงความคิดเห็น
ประชาชนร้อยละ 36.6 ต้องการให้มีการปฏิรูปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมากที่สุด รองลงมา มีการลงทุนในระบบรางรถไฟ และมีการเรียกเก็บสัมปทานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ของการรถไฟ คิดเป็นร้อยละ 34.4 และ 11.6 ตามลำดับ
ในส่วนความเป็นไปได้โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี พบว่า ประชาชนร้อยละ 49.7 เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการลงทุนในรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีเพียงร้อยละ 26.5 ไม่เกิดการลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และร้อยละ 23.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.5) อายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 42.2) รองลงมา มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 29.1) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 13.4) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาสถานภาพด้านอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 37.9) รองลงมา ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 30.6) และร้อยละ 18.2 เป็นนักเรียนและนักศึกษา