นครศรีธรรมราช – ชาวบ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช กว่า 500 คน รวมตัวคัดค้านการก่อสร้างประปาหมู่บ้าน พร้อมต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาชี้แจงโครงการประปาให้ประชาชนได้รับทราบอย่างชัดเจน
วันนี้ (20 ต.ค.) ที่บริเวณหน้าวัดคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ได้มีกลุ่มชาวบ้านกว่า 500 คน รวมตัวคัดค้านการก่อสร้างประปาหมู่บ้าน โดยมี นายวิรัตน์ ตรีโชติ ปราชญ์ชาวบ้าน นายยงยุทธ กระจ่างโลก กำนันตำบลกำโลน ร่วมเป็นแกนนำคัดค้าน
นายวิรัตน์ เปิดเผยว่า การรวมตัวของชาวบ้านในครั้งนี้ไม่ได้ต่อต้าน แต่ต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาชี้แจงโครงการประปาให้ชัดเจน ว่าใคร ทำอะไร อย่างไร ใครได้รับผลประโยชน์ อยู่ๆ ก็มีเจ้าหน้าที่ขอวัสดุอุปกรณ์มาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ที่บริเวณแอ่งน้ำวังหัวแหวน ซึ่งเป็นแอ่งน้ำแอ่งใหญ่บนน้ำตกวังไม้ปัก น้ำตกที่มีชื่อเสียงใน ต.กำโลน อ.ลานสกา น้ำตกแห่งนี้ถือเป็นหัวใจหลักของบ้านคีรีวง
นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการเช่นนี้ ถือว่าไม่ได้มีการทำประชาคมจากชาวบ้านก่อน ไม่ฟังความคิดเห็นของชาวบ้านว่าเขาคิดกันอย่างไร โครงการใดก็ตามแต่ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านแล้วไม่ควรทำ ชาวบ้านที่มาทั้งหมดนี้เราไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากว่าใต้แอ่งน้ำใหญ่นี้จะมีฝายใหญ่ 1 ฝายที่ก่อสร้างโดยชลประทานกักเก็บน้ำให้ชาวบ้านคีรีวง มีน้ำกินน้ำใช้ ตั้งแต่หลังภัยพิบัติคีรีวงครั้งใหญ่ที่ผ่านมา จนกระทั่งวันนี้เรามีน้ำกินน้ำใช้กันอย่างพอเพียง ยกเว้นในปี 2545 ที่มีน้ำลดน้อยลง แต่เราก็ยังคงอยู่กันได้ แก้ปัญหากันตามภูมิปัญญาของชาวบ้านได้
ทางด้านว่าที่ ร.ต.อภินันท์ เผือกผ่อง นายอำเภอลานสกา กล่าวว่า การคัดค้านของชาวบ้านในครั้งนี้ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการประปาภูเขาของอำเภอ แต่กลัวว่าหากก่อสร้างบริเวณนี้จะมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ และประปาบริเวณด้านล่างจะไม่มีน้ำ เมื่อถึงยามหน้าแล้ง การใช้แอ่งน้ำดังกล่าวจะทำให้ชาวบ้านที่ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ม.1, 3, 4 และอีก 700 ครัวเรือน จากหลายๆ หมู่บ้านได้มีน้ำใช้
ว่าที่ ร.ต.อภินันท์ กล่าวต่อว่า ได้ทราบเรื่องที่ชาวบ้านคัดค้านแล้ว และได้เรียกประชุมแกนนำ เพื่อทำความเข้าใจกัน โดยได้มีการนัดแกนนำทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้องการใช้น้ำ และฝ่ายที่คัดค้าน โดยมาหาทางออกกันว่า เมื่อไม่ให้ใช้พื้นที่แห่งนี้แล้วมีพื้นที่ใดบ้างที่สามารถใช้ได้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างตอบตกลง ต่างจะไปหาพื้นที่มา โดยจะให้ฝ่ายวิชาการแต่ละพื้นที่สำรวจความเป็นไปได้ และนำมาสรุปรวมกันอีกครั้งในวันที่ 27 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ในที่ประชุมต่อไป
วันนี้ (20 ต.ค.) ที่บริเวณหน้าวัดคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ได้มีกลุ่มชาวบ้านกว่า 500 คน รวมตัวคัดค้านการก่อสร้างประปาหมู่บ้าน โดยมี นายวิรัตน์ ตรีโชติ ปราชญ์ชาวบ้าน นายยงยุทธ กระจ่างโลก กำนันตำบลกำโลน ร่วมเป็นแกนนำคัดค้าน
นายวิรัตน์ เปิดเผยว่า การรวมตัวของชาวบ้านในครั้งนี้ไม่ได้ต่อต้าน แต่ต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาชี้แจงโครงการประปาให้ชัดเจน ว่าใคร ทำอะไร อย่างไร ใครได้รับผลประโยชน์ อยู่ๆ ก็มีเจ้าหน้าที่ขอวัสดุอุปกรณ์มาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ที่บริเวณแอ่งน้ำวังหัวแหวน ซึ่งเป็นแอ่งน้ำแอ่งใหญ่บนน้ำตกวังไม้ปัก น้ำตกที่มีชื่อเสียงใน ต.กำโลน อ.ลานสกา น้ำตกแห่งนี้ถือเป็นหัวใจหลักของบ้านคีรีวง
นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการเช่นนี้ ถือว่าไม่ได้มีการทำประชาคมจากชาวบ้านก่อน ไม่ฟังความคิดเห็นของชาวบ้านว่าเขาคิดกันอย่างไร โครงการใดก็ตามแต่ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านแล้วไม่ควรทำ ชาวบ้านที่มาทั้งหมดนี้เราไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากว่าใต้แอ่งน้ำใหญ่นี้จะมีฝายใหญ่ 1 ฝายที่ก่อสร้างโดยชลประทานกักเก็บน้ำให้ชาวบ้านคีรีวง มีน้ำกินน้ำใช้ ตั้งแต่หลังภัยพิบัติคีรีวงครั้งใหญ่ที่ผ่านมา จนกระทั่งวันนี้เรามีน้ำกินน้ำใช้กันอย่างพอเพียง ยกเว้นในปี 2545 ที่มีน้ำลดน้อยลง แต่เราก็ยังคงอยู่กันได้ แก้ปัญหากันตามภูมิปัญญาของชาวบ้านได้
ทางด้านว่าที่ ร.ต.อภินันท์ เผือกผ่อง นายอำเภอลานสกา กล่าวว่า การคัดค้านของชาวบ้านในครั้งนี้ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการประปาภูเขาของอำเภอ แต่กลัวว่าหากก่อสร้างบริเวณนี้จะมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ และประปาบริเวณด้านล่างจะไม่มีน้ำ เมื่อถึงยามหน้าแล้ง การใช้แอ่งน้ำดังกล่าวจะทำให้ชาวบ้านที่ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ม.1, 3, 4 และอีก 700 ครัวเรือน จากหลายๆ หมู่บ้านได้มีน้ำใช้
ว่าที่ ร.ต.อภินันท์ กล่าวต่อว่า ได้ทราบเรื่องที่ชาวบ้านคัดค้านแล้ว และได้เรียกประชุมแกนนำ เพื่อทำความเข้าใจกัน โดยได้มีการนัดแกนนำทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้องการใช้น้ำ และฝ่ายที่คัดค้าน โดยมาหาทางออกกันว่า เมื่อไม่ให้ใช้พื้นที่แห่งนี้แล้วมีพื้นที่ใดบ้างที่สามารถใช้ได้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างตอบตกลง ต่างจะไปหาพื้นที่มา โดยจะให้ฝ่ายวิชาการแต่ละพื้นที่สำรวจความเป็นไปได้ และนำมาสรุปรวมกันอีกครั้งในวันที่ 27 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ในที่ประชุมต่อไป