ศูนย์ข่าวภูเก็ต - “ศาลเจ้ากะทู้ภูเก็ต” ศาลเจ้าเก่าแก่อายุกว่า 184 ปี กำหนดจัดงานประเพณีถือศีลกินผักยิ่งใหญ่ แต่ยึดถือพิธีกรรมแบบดั่งเดิม เผยได้รับเลือกจากผู้เข้าร่วมพิธีถือศีลกินผักจากมาเลเซียเป็นศาลเจ้าต้นแบบ ททท.เตรียมนำผู้ประกอบการ/สื่อมวลชนร่วมถ่ายทอดพิธีกรรมคาดเงินสะพัดจำนวนมาก
วันนี้ (13 ต.ค.) นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ นายศิริพัฒ พัฒกุล นายอำเภอกะทู้ นางสาววรรณประภา สุขสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ และนายอรรถพงษ์ จันทรัตน์วงศ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ประจำปี 2552 ของศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลเจ้ากะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต โดยงานดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-26 ตุลาคม 2552 นี้
นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ตว่า สำหรับศาลเจ้ากะทู้นั้นเป็นศาลเจ้าแรกของจังหวัดภูเก็ตที่จัดงานให้มีงานประเพณีถือศีลกินผักขึ้น โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2368 และมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องในสมัยพระยาถลางย้ายเมืองถลางมาตั้งที่บ้านเก็ตโฮ่ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ดีบุกแต่บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบมีไข้ป่าชุกชุม เมื่อมีคณะงิ้สมาจัดแสดงเกิดเจ็บป่วย ทางคณะงิ้ว จึงได้ประกอบพิธีกินผักขึ้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า “กิ๊วอ่องไต่เต่ และยกอ่องส่องเต่” หลังจากนั้นปรากฏว่าโรคภัยไข้ก้ได้หมดไป ชาวกะทู้จึงเกิดความศัทธาและถือปฏิบัติตามต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้นั้นจะยึดรูแบบพิธีกรรมแบบดังเดิมในอดีต เพราะฉะนั้น คนที่ต้องการที่จะร่วมถือศีลกินผักแบบดังเดิมจริงๆ สามารถมาร่วมที่ศาลเจ้ากะทู้ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ศาลเจ้ากะทู้ได้รับเลือกเป็นต้นแบบในการปฏิบัติประเพณีดังกล่าวให้กับชาวจีนในมาเลเซียที่เริ่มจัดประเพณีถือศีลกินผักแล้ว สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้จำนวนมาก ส่วนม้าทรงนั้นได้มีการขึ้นทะเบียนและเน้นย้ำให้ใช้อาวุธในการทรมานร่างกายที่มีอยู่ในตำนานเท่านั้น
ด้าน นายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ กล่าวว่า เนื่องจากจุดกำเนิดของประเพณีถือสีลกินผักมีจุดเริ่มต้นที่ศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งเกิดมาจากความเสื่อมใสศรัทธาของพี่น้องประชาชนที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา และหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลเมืองกะทู้ได้กำหนดให้เป็นเมืองศูนย์รวมทางด้านวัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เนื่องจากพื้นที่ของเทศบาลเมืองกะทู้ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ดังนั้น ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ จะเน้นการปฎิบัติตามประเพณีดั้งเดิมในอดีต เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบความหมายที่แท้จริงของการถือศีลกินผัก และร่วมสืบทอดกันต่อไปตราบนานเท่านาน
สำหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดงานดังกล่าวนั้น ขณะนี้ทางเทศบาลฯ ได้มีการประดับตกแต่งธงสีเหลืองซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของประเพณีตามถนนสายต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าขณะนี้ใกล้เข้าสู่ประเพณีที่ดีงามแล้ว และในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ก็จะมีการประกอบพิธีเปิดซุ้มประตูงานประเพณีถือศีลกินผักศาลเจ้ากะทู้ ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองกะทู้ด้วย
ขณะที่ นายศิริพัฒ พัฒกุล นายอำเภอกะทู้ กล่าวว่า ในส่วนของอำเภอกะทู้คงเน้นเรื่องของการใช้ประทัดและดอกไม้เพลิงให้เป็นไปตามกรอบของประเพณี และอย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของปาฎิหารมากนัก แต่ควรเน้นแก่นแม้ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการประเพณีที่แท้จริง
ด้าน น.ส.วรรณประภา สุขสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต กล่าวว่า ในส่วนของ ททท.สำนักงานภูเก็ตได้เริ่มทำการประชาสัมพันธ์การจัดงานดังกล่าวไปยังสำนักงาน ททท.ทั้งในประเทศจำนวน 35 แห่ง และต่างประเทศจำนวน 30 แห่ง มาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
พร้อมกันนี้ยังได้นำสื่อมวลชนจากส่วนกลางและต่างประเทศมาพบปะกับตัวแทนของศาลเจ้าต่างๆ เพื่อนำเรื่องราวที่ได้รับทราบไปนำเสนอ และในช่วงของการจัดงานประเพณีถือสีลกินผักทาง ททท.สำนักงานต่างประเทศก็มีการนำคณะสื่อมวลชนในลักษณะของเฟรนทริปเพื่อประชาสัมพันธ์และถ่ายทำสารคดีกิจกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งที่มีการตอบรับมาแล้ว เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เยอรมนี ฝรั่งเศส เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 9 วันของงานประเพณีจะมีรายได้จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับประเพณีถือศีลกินผักจำนวนประมาณ 30 ล้านบาท แต่หากรวมค่าใช้จ่ายเรื่องของที่พักและอื่นๆ ด้วยคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 200 ล้านบาท
ขณะที่ นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า รายได้ 80% ของจังหวัดภูเก็ตมาจากการท่องเที่ยว โดยในปี 2550 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 5 ล้านคน มีรายได้ประมาณ 90,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ นอกจากความสวยงามของธรรมชาติแล้ว ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมที่ถือเป็นรากเหง้าความเป็นมาของคนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยเฉพาะประเพณีถือศีลกินผักที่คนภูเก็ตได้ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลายาวนานแล้ว
วันนี้ (13 ต.ค.) นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ นายศิริพัฒ พัฒกุล นายอำเภอกะทู้ นางสาววรรณประภา สุขสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ และนายอรรถพงษ์ จันทรัตน์วงศ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ประจำปี 2552 ของศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลเจ้ากะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต โดยงานดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-26 ตุลาคม 2552 นี้
นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ตว่า สำหรับศาลเจ้ากะทู้นั้นเป็นศาลเจ้าแรกของจังหวัดภูเก็ตที่จัดงานให้มีงานประเพณีถือศีลกินผักขึ้น โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2368 และมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องในสมัยพระยาถลางย้ายเมืองถลางมาตั้งที่บ้านเก็ตโฮ่ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ดีบุกแต่บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบมีไข้ป่าชุกชุม เมื่อมีคณะงิ้สมาจัดแสดงเกิดเจ็บป่วย ทางคณะงิ้ว จึงได้ประกอบพิธีกินผักขึ้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า “กิ๊วอ่องไต่เต่ และยกอ่องส่องเต่” หลังจากนั้นปรากฏว่าโรคภัยไข้ก้ได้หมดไป ชาวกะทู้จึงเกิดความศัทธาและถือปฏิบัติตามต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้นั้นจะยึดรูแบบพิธีกรรมแบบดังเดิมในอดีต เพราะฉะนั้น คนที่ต้องการที่จะร่วมถือศีลกินผักแบบดังเดิมจริงๆ สามารถมาร่วมที่ศาลเจ้ากะทู้ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ศาลเจ้ากะทู้ได้รับเลือกเป็นต้นแบบในการปฏิบัติประเพณีดังกล่าวให้กับชาวจีนในมาเลเซียที่เริ่มจัดประเพณีถือศีลกินผักแล้ว สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประเพณีถือศีลกินผักของศาลเจ้ากะทู้จำนวนมาก ส่วนม้าทรงนั้นได้มีการขึ้นทะเบียนและเน้นย้ำให้ใช้อาวุธในการทรมานร่างกายที่มีอยู่ในตำนานเท่านั้น
ด้าน นายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ กล่าวว่า เนื่องจากจุดกำเนิดของประเพณีถือสีลกินผักมีจุดเริ่มต้นที่ศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งเกิดมาจากความเสื่อมใสศรัทธาของพี่น้องประชาชนที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา และหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลเมืองกะทู้ได้กำหนดให้เป็นเมืองศูนย์รวมทางด้านวัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เนื่องจากพื้นที่ของเทศบาลเมืองกะทู้ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ดังนั้น ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ จะเน้นการปฎิบัติตามประเพณีดั้งเดิมในอดีต เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบความหมายที่แท้จริงของการถือศีลกินผัก และร่วมสืบทอดกันต่อไปตราบนานเท่านาน
สำหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดงานดังกล่าวนั้น ขณะนี้ทางเทศบาลฯ ได้มีการประดับตกแต่งธงสีเหลืองซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของประเพณีตามถนนสายต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าขณะนี้ใกล้เข้าสู่ประเพณีที่ดีงามแล้ว และในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ก็จะมีการประกอบพิธีเปิดซุ้มประตูงานประเพณีถือศีลกินผักศาลเจ้ากะทู้ ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองกะทู้ด้วย
ขณะที่ นายศิริพัฒ พัฒกุล นายอำเภอกะทู้ กล่าวว่า ในส่วนของอำเภอกะทู้คงเน้นเรื่องของการใช้ประทัดและดอกไม้เพลิงให้เป็นไปตามกรอบของประเพณี และอย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของปาฎิหารมากนัก แต่ควรเน้นแก่นแม้ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการประเพณีที่แท้จริง
ด้าน น.ส.วรรณประภา สุขสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต กล่าวว่า ในส่วนของ ททท.สำนักงานภูเก็ตได้เริ่มทำการประชาสัมพันธ์การจัดงานดังกล่าวไปยังสำนักงาน ททท.ทั้งในประเทศจำนวน 35 แห่ง และต่างประเทศจำนวน 30 แห่ง มาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
พร้อมกันนี้ยังได้นำสื่อมวลชนจากส่วนกลางและต่างประเทศมาพบปะกับตัวแทนของศาลเจ้าต่างๆ เพื่อนำเรื่องราวที่ได้รับทราบไปนำเสนอ และในช่วงของการจัดงานประเพณีถือสีลกินผักทาง ททท.สำนักงานต่างประเทศก็มีการนำคณะสื่อมวลชนในลักษณะของเฟรนทริปเพื่อประชาสัมพันธ์และถ่ายทำสารคดีกิจกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งที่มีการตอบรับมาแล้ว เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เยอรมนี ฝรั่งเศส เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 9 วันของงานประเพณีจะมีรายได้จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับประเพณีถือศีลกินผักจำนวนประมาณ 30 ล้านบาท แต่หากรวมค่าใช้จ่ายเรื่องของที่พักและอื่นๆ ด้วยคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 200 ล้านบาท
ขณะที่ นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า รายได้ 80% ของจังหวัดภูเก็ตมาจากการท่องเที่ยว โดยในปี 2550 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 5 ล้านคน มีรายได้ประมาณ 90,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ นอกจากความสวยงามของธรรมชาติแล้ว ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมที่ถือเป็นรากเหง้าความเป็นมาของคนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยเฉพาะประเพณีถือศีลกินผักที่คนภูเก็ตได้ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลายาวนานแล้ว