ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ท่องเที่ยวซบเซา จากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกยังวิกฤต ทำสภาพคล่องของผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวลดลง ต้องหันพึ่งสินเชื่อเอสเอ็มอี เพาเวอร์ พบสิ้นสุด 31 ก.ค.ยื่นเรื่องกู้แล้ว 295 ล้านบาท
นายขรรค์ชัย รัตนญาติ ผู้จัดการสาขาภูเก็ต ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยถึงการยื่นขอสินเชื่อเอสเอ็มอี เพาเวอร์ เพื่อธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ ในช่วงที่การท่องเที่ยวซบเซาจากที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาน้อย โดยแต่ละรายยื่นขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท
ปรากฏว่าในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวมายื่นขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งหมดเขตไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ทั้งหมด 87 ราย วงเงินสินเชื่อ 295 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้อนุมัติไปแล้วทั้งสิ้น 41 ราย วงเงิน 127 ล้านบาท โดยวงเงินที่ผู้ประกอบการยื่นขอมานั้นอยู่ที่ 5 ล้านบาทเกือบทุกราย แต่ธนาคารได้พิจารณาปล่อยสินเชื่อได้ตามความเหมาะสมของแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ครม.ได้มีมติขยายโครงการให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการนี้ต่อไปอีกจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2553 โดยผู้ประกอบการที่ยื่นขอกู้จะต้องยื่นผ่าน 4 สมาคม คือ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว โดยผู้ประกอบการสามารถระบุที่ขอกู้ได้ทั้งธนาคารเอสเอ็มอีและธนาคารออมสิน ซึ่งการขยายเวลาดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มการช่วยเหลือผู้ประกอบการออกไปอีกในสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ยังไม่ดีเท่าที่ควรในขณะนี้
คาดสิ้นปีปล่อยทะลุ 1,000 ล้านบาท
นายขรรค์ชัยยังกล่าวถึงภาพรวมการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของสาขาภูเก็ตว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงขณะนี้มีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 800 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ปีนี้ทั้งปีสำหรับสาขาภูเก็ตอยู่ที่ 360 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปีนี้สาขาภูเก็ตน่าที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่น่าจะน้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
สำหรับการที่สาขาภูเก็ตสามารถปล่อยสินเชื่อได้สูงในปีนี้ เนื่องจากความต้องการเงินทุนของเอสเอ็มอีเองและธนาคารได้มีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธนาคารให้มากขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะให้ผู้ประกอบการนึกถึงธนาคารเอสเอ็มอีเมื่อต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและขยายการลงทุน
นายขรรค์ชัย รัตนญาติ ผู้จัดการสาขาภูเก็ต ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยถึงการยื่นขอสินเชื่อเอสเอ็มอี เพาเวอร์ เพื่อธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ ในช่วงที่การท่องเที่ยวซบเซาจากที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาน้อย โดยแต่ละรายยื่นขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท
ปรากฏว่าในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวมายื่นขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งหมดเขตไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ทั้งหมด 87 ราย วงเงินสินเชื่อ 295 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้อนุมัติไปแล้วทั้งสิ้น 41 ราย วงเงิน 127 ล้านบาท โดยวงเงินที่ผู้ประกอบการยื่นขอมานั้นอยู่ที่ 5 ล้านบาทเกือบทุกราย แต่ธนาคารได้พิจารณาปล่อยสินเชื่อได้ตามความเหมาะสมของแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ครม.ได้มีมติขยายโครงการให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการนี้ต่อไปอีกจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2553 โดยผู้ประกอบการที่ยื่นขอกู้จะต้องยื่นผ่าน 4 สมาคม คือ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว โดยผู้ประกอบการสามารถระบุที่ขอกู้ได้ทั้งธนาคารเอสเอ็มอีและธนาคารออมสิน ซึ่งการขยายเวลาดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มการช่วยเหลือผู้ประกอบการออกไปอีกในสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ยังไม่ดีเท่าที่ควรในขณะนี้
คาดสิ้นปีปล่อยทะลุ 1,000 ล้านบาท
นายขรรค์ชัยยังกล่าวถึงภาพรวมการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของสาขาภูเก็ตว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงขณะนี้มีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 800 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ปีนี้ทั้งปีสำหรับสาขาภูเก็ตอยู่ที่ 360 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปีนี้สาขาภูเก็ตน่าที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่น่าจะน้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
สำหรับการที่สาขาภูเก็ตสามารถปล่อยสินเชื่อได้สูงในปีนี้ เนื่องจากความต้องการเงินทุนของเอสเอ็มอีเองและธนาคารได้มีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธนาคารให้มากขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะให้ผู้ประกอบการนึกถึงธนาคารเอสเอ็มอีเมื่อต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและขยายการลงทุน