สตูล - ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 8 และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดสตูล พร้อมเป็นห่วงการจัดระเบียบการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
วันนี้ (3 ก.ย.) นางนิตยา วงศ์เดรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 8 และคณะเดินทางมาตรวจราชการ และประชุมร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของจังหวัดสตูล ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ศาลากลางจังหวัดสตูล ซึ่งมีประเด็นติดตามงาน ในนโยบายสังคม นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล
โครงการซึ่งผู้ตรวจราการสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะให้ความสนใจคือ การจัดระบบการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสตูล โดยเฉพาะส่วนที่อยู่พื้นที่เกาะ มาตรฐานการเรียนในวิชาหลักคือภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ระดับคะแนนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 40 โดยเกณฑ์มาตรฐานต้องเกินร้อยละ 50 ที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดต้องได้รับการพัฒนา และจากการสังเกตของผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า เด็กในจังหวัดสตูลยังใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันน้อย มีผลจากครอบครัว การแก้ปัญหาต้องพัฒนาระบบการเรียนการสอน และทำความเข้าใจกับชุมชน
การจัดน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคให้นักเรียนและชุมชนในพื้นที่อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า ของโรงเรียน หลายชุมชน การจัดสร้างล่าช้าเนื่องจากผู้รับจ้างอยู่ในกรุงเทพมหานคร และใช้วิธีการจ้างช่วงหรือจ้างต่อ สำหรับเรื่องที่ได้รับการชื่นชมจากที่ประชุมคือการรณรงค์ป้องกันไข้หวัดนก โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และการวางแผนพลังงานชุมชน
วันนี้ (3 ก.ย.) นางนิตยา วงศ์เดรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 8 และคณะเดินทางมาตรวจราชการ และประชุมร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของจังหวัดสตูล ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ศาลากลางจังหวัดสตูล ซึ่งมีประเด็นติดตามงาน ในนโยบายสังคม นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล
โครงการซึ่งผู้ตรวจราการสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะให้ความสนใจคือ การจัดระบบการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสตูล โดยเฉพาะส่วนที่อยู่พื้นที่เกาะ มาตรฐานการเรียนในวิชาหลักคือภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ระดับคะแนนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 40 โดยเกณฑ์มาตรฐานต้องเกินร้อยละ 50 ที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดต้องได้รับการพัฒนา และจากการสังเกตของผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า เด็กในจังหวัดสตูลยังใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันน้อย มีผลจากครอบครัว การแก้ปัญหาต้องพัฒนาระบบการเรียนการสอน และทำความเข้าใจกับชุมชน
การจัดน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคให้นักเรียนและชุมชนในพื้นที่อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า ของโรงเรียน หลายชุมชน การจัดสร้างล่าช้าเนื่องจากผู้รับจ้างอยู่ในกรุงเทพมหานคร และใช้วิธีการจ้างช่วงหรือจ้างต่อ สำหรับเรื่องที่ได้รับการชื่นชมจากที่ประชุมคือการรณรงค์ป้องกันไข้หวัดนก โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และการวางแผนพลังงานชุมชน