ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผวจ.ภูเก็ตย้ำ เมืองท่องเที่ยวต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติเพราะเป็นจุดขายที่สำคัญ ฝากทุกภาคส่วนช่วยกันดูแลอย่างปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาผลประโยชน์กอบโกยเอาเงินออกนอกประเทศ
คณะนักศึกษาปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ รุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกันจัดกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตหัวข้อ “อนาคตภูเก็ตฝากไว้กับการท่องเที่ยว…จริงหรือ” โดยมีนายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช. นายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ นพ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงษ์ ประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต ร่วมเสวนา
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเป็นเมืองท่องเที่ยวว่า ภูเก็ตนั้นไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นเมืองท่องเที่ยวได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป คือ การอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะเป็นจุดขายที่สำคัญ รวมถึงการปฎิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น การห้ามไม่ให้มีก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ลาดชันเกิน 80 เมตรจากน้ำทะเล เพราะหากไม่ช่วยกันดูแลความสวยงาม ความเป็นธรรมชาติก็จะถูกทำลาย
นอกจากเรื่องของท่องที่เที่ยวแล้ว ยังพบว่ามีประชาชนในหลายตำบลซึ่งยังคงทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นสวนผลไม้ ยางพารา หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนช่วยเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม อยากให้ช่วยกันคิด เพราะโลกมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจะต้องปรับตัวให้ทัน โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว เมื่อมีการเติบโตเร็วการทำลายก็จะเกิดเร็วตามไปด้วย ทำให้อย่างไรที่จะให้การท่องเที่ยวอยู่ได้อย่างยั่งยืน และประโยชน์ต้องตกกับคนพื้นที่มากที่สุด ไม่ใช่ปล่อยให้คนต่างชาติเข้ามากอบโกยแล้วนำเงินตราออกไป เหลือเพียงรายได้จากการเสิร์ฟอาหาร ซักผ้าปูที่น้อย ในขณะที่เราต้องเสียงบประมาณอย่างมากมายในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มารองรับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจราจร ขยะ น้ำ และอื่นๆ ดังนั้นจะต้องคิดต่อไปว่าหากไม่มีการท่องเที่ยวแต่เราก็ยังสามารถที่จะอยู่ได้
ในขณะที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช.กล่าวว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะชื่นชมความสวยงามความเป็นธรรมชาติของภูเก็ต โดยเฉพาะชาวยุโรป เพราะเมื่อมาท่องเที่ยวแล้วสามารถเล่นน้ำได้โดยไม่หนาว และเรายังมีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งในส่วนของภูเก็ตนั้นพื้นที่ประมาณ 70% เป็นป่าควนเขา ส่วนเหลืออีก 30% เป็นที่ราบ แต่ในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงป่าเขามีน้อยมาก เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดที่สำคัญ และจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาการเมืองปัญหาโรคระบาด ได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าลดลงประมาณ 16%
ดังนั้น การที่จะทำให้การท่องเที่ยวอยู่ต่อไปได้ เราก็จะต้องทำให้ธรรมชาติที่มีอยู่ในความสวยงาม มีการบริหารจัดการเรื่องของผังเมืองให้ดีเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยต้องมองให้ไกลถึง 10 ปีข้างหน้า การพัฒนาผู้ให้บริการเพื่อให้มีจิตใจการให้บริการที่แท้จริงโดยจะต้องเรียนรู้ทั้งเรื่องของภาษา วัฒนธรรมทั้งของเราและต่างชาติ และที่สำคัญคือ เรื่องของความปลอดภัย”
ด้านนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่จะทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้นั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชนและประชาชน โดยส่วนของตนในฐานะ ส.ส.ก็ร่วมกับเพื่อน ส.ส.นำเสนอโครงการและแผนงานต่างๆ ไปยังรัฐบาล ซึ่งขณะนี้เราได้รับงบประมาณในการทำถนนไร้ฝุ่น การจัดสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ การแก้ปัญหาการจราจรบริเวณสี่แยกไทนาน ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบของกรมทางหลวง การปรับปรุงสะพานสารสิน และโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดตามมา
ทั้งนี้ก็จะต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน และยังฝากไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการด้านการมีจิตสำนึกรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ หากละเลยก็นั้นเหมือนกับเป็นการทำลายการท่องเที่ยวที่ชัดเจน
ขณะที่ นพ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงษ์ ประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต กล่าวว่า การค้นพบว่าภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงามนั้นยากที่เมืองอื่นๆ จะสร้างขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นจะคงต้องมาคิดพิจารณากันให้ดี ไม่ว่าจะเรื่องของการเกษตร การประมง ปศุสัตว์ ศุนย์กลางทางการเงิน เมืองท่าขนส่ง หรืออื่นๆ ซึ่งสามารถทำได้ แต่ก็ต้องมีส่วนประกอบในเรื่องของโครงสร้างพื้นที่ที่จะมารองรับ การแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสม
ดังนั้น การจะเป็นอะไรต่อไปของภูเก็ตนั้นก็จะต้องสอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่ เพราะมีจุดแข็งที่เห็นได้อย่างชัดเจนไม่ว่าความสวยงามของธรรมชาติ จำนวนห้องพักที่มีมากพอ สนามบินนานาชาติ สถานศึกษา โรงพยาบาล สนามกอล์ฟ สปา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ แต่ที่ผ่านมาไม่มีการต่อยอด ปัญหาสำคัญ คือ เราไม่มีแผนพัฒนาจังหวัดที่สมบูรณ์แท้จริง ต่างฝ่ายต่างทำจึงทำให้ไม่สอดประสานกัน ดังนั้น ทำอย่างไรที่จะมีการจัดทำแผนที่ชัดเจนและแต่ละท้องถิ่นก็ดำเนินการวางแผนให้สอดคล้องกับแผนหลักที่วางไว้
คณะนักศึกษาปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ รุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกันจัดกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตหัวข้อ “อนาคตภูเก็ตฝากไว้กับการท่องเที่ยว…จริงหรือ” โดยมีนายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช. นายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ นพ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงษ์ ประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต ร่วมเสวนา
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเป็นเมืองท่องเที่ยวว่า ภูเก็ตนั้นไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นเมืองท่องเที่ยวได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป คือ การอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะเป็นจุดขายที่สำคัญ รวมถึงการปฎิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น การห้ามไม่ให้มีก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ลาดชันเกิน 80 เมตรจากน้ำทะเล เพราะหากไม่ช่วยกันดูแลความสวยงาม ความเป็นธรรมชาติก็จะถูกทำลาย
นอกจากเรื่องของท่องที่เที่ยวแล้ว ยังพบว่ามีประชาชนในหลายตำบลซึ่งยังคงทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นสวนผลไม้ ยางพารา หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนช่วยเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม อยากให้ช่วยกันคิด เพราะโลกมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจะต้องปรับตัวให้ทัน โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว เมื่อมีการเติบโตเร็วการทำลายก็จะเกิดเร็วตามไปด้วย ทำให้อย่างไรที่จะให้การท่องเที่ยวอยู่ได้อย่างยั่งยืน และประโยชน์ต้องตกกับคนพื้นที่มากที่สุด ไม่ใช่ปล่อยให้คนต่างชาติเข้ามากอบโกยแล้วนำเงินตราออกไป เหลือเพียงรายได้จากการเสิร์ฟอาหาร ซักผ้าปูที่น้อย ในขณะที่เราต้องเสียงบประมาณอย่างมากมายในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มารองรับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจราจร ขยะ น้ำ และอื่นๆ ดังนั้นจะต้องคิดต่อไปว่าหากไม่มีการท่องเที่ยวแต่เราก็ยังสามารถที่จะอยู่ได้
ในขณะที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช.กล่าวว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะชื่นชมความสวยงามความเป็นธรรมชาติของภูเก็ต โดยเฉพาะชาวยุโรป เพราะเมื่อมาท่องเที่ยวแล้วสามารถเล่นน้ำได้โดยไม่หนาว และเรายังมีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งในส่วนของภูเก็ตนั้นพื้นที่ประมาณ 70% เป็นป่าควนเขา ส่วนเหลืออีก 30% เป็นที่ราบ แต่ในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงป่าเขามีน้อยมาก เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดที่สำคัญ และจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาการเมืองปัญหาโรคระบาด ได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าลดลงประมาณ 16%
ดังนั้น การที่จะทำให้การท่องเที่ยวอยู่ต่อไปได้ เราก็จะต้องทำให้ธรรมชาติที่มีอยู่ในความสวยงาม มีการบริหารจัดการเรื่องของผังเมืองให้ดีเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยต้องมองให้ไกลถึง 10 ปีข้างหน้า การพัฒนาผู้ให้บริการเพื่อให้มีจิตใจการให้บริการที่แท้จริงโดยจะต้องเรียนรู้ทั้งเรื่องของภาษา วัฒนธรรมทั้งของเราและต่างชาติ และที่สำคัญคือ เรื่องของความปลอดภัย”
ด้านนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่จะทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้นั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชนและประชาชน โดยส่วนของตนในฐานะ ส.ส.ก็ร่วมกับเพื่อน ส.ส.นำเสนอโครงการและแผนงานต่างๆ ไปยังรัฐบาล ซึ่งขณะนี้เราได้รับงบประมาณในการทำถนนไร้ฝุ่น การจัดสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ การแก้ปัญหาการจราจรบริเวณสี่แยกไทนาน ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบของกรมทางหลวง การปรับปรุงสะพานสารสิน และโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดตามมา
ทั้งนี้ก็จะต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน และยังฝากไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการด้านการมีจิตสำนึกรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ หากละเลยก็นั้นเหมือนกับเป็นการทำลายการท่องเที่ยวที่ชัดเจน
ขณะที่ นพ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงษ์ ประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต กล่าวว่า การค้นพบว่าภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงามนั้นยากที่เมืองอื่นๆ จะสร้างขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นจะคงต้องมาคิดพิจารณากันให้ดี ไม่ว่าจะเรื่องของการเกษตร การประมง ปศุสัตว์ ศุนย์กลางทางการเงิน เมืองท่าขนส่ง หรืออื่นๆ ซึ่งสามารถทำได้ แต่ก็ต้องมีส่วนประกอบในเรื่องของโครงสร้างพื้นที่ที่จะมารองรับ การแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสม
ดังนั้น การจะเป็นอะไรต่อไปของภูเก็ตนั้นก็จะต้องสอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่ เพราะมีจุดแข็งที่เห็นได้อย่างชัดเจนไม่ว่าความสวยงามของธรรมชาติ จำนวนห้องพักที่มีมากพอ สนามบินนานาชาติ สถานศึกษา โรงพยาบาล สนามกอล์ฟ สปา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ แต่ที่ผ่านมาไม่มีการต่อยอด ปัญหาสำคัญ คือ เราไม่มีแผนพัฒนาจังหวัดที่สมบูรณ์แท้จริง ต่างฝ่ายต่างทำจึงทำให้ไม่สอดประสานกัน ดังนั้น ทำอย่างไรที่จะมีการจัดทำแผนที่ชัดเจนและแต่ละท้องถิ่นก็ดำเนินการวางแผนให้สอดคล้องกับแผนหลักที่วางไว้