พัทลุง - สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เผย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ยังมีพื้นที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูปลูกปาล์มได้ขนานใหญ่ คือพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา สามารถปลูกปาล์มได้ประมาณ 2 ล้านไร่ อนาคตมีแนวโน้มราคาปาล์มสูงขึ้น
นายธนภัทธ์ เหมือนจันทร์ นายกสมาพันธ์ปาล์มน้ำมัน แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ขณะนี้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งนี้เพราะตลาดยังมีความต้องการสูงอยู่ และขณะเดียวกันน้ำมันราคากลับเคลื่อนไหวราคาที่สูงขึ้น ทำให้ปาล์มมีความต้องการนำไปพัฒนาเป็นพืชพลังงานทดแทนจำนวนมากขึ้น
ในขณะที่ปัจจัยต้นทุนการปาล์มในปีนี้สูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.60 บาท / กก. ซึ่งเดิมเมือปี 2548 และ 2550 อยู่ที่ 1.60 บาท / กก. เพราะวัสดุในการผลิตปาล์มสูงขึ้นทุกตัว ปาล์มถ้าวิเคราะห์ถึงแนวโน้มอนาคตแล้วถือว่ายังคงเดินหน้าไปได้ดี
นายไพรวัลณ์ ชูใหม่ นักวิชาการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สถานการณ์ปาล์มเริ่มกระเตื้องขึ้น เฉพาะในพื้นที่จังหวัดพัทลุงแต่หากต่ำกว่า 3 บาท / กก. อยู่ที่ภาวะขาดทุน พัทลุงการปลูกปาล์มเริ่มขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2548 เพราะรัฐให้การสนับสนุน แต่ถ้าเกษตรกรทำเองแล้วยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุน พัทลุงปลูกปาล์มขนาดรายย่อย ปัจจุบันมีกว่า 20,000 ไร่ โดยขยายตัวประมาณปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้พัทลุงมีความพร้อมในการลงทุนปลูกปาล์ม เพราะมีทั้งลานเทรับซื้อในพื้นที่ และพร้อมทางด้านวิชาการให้การสนับสนุน
นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า พัทลุงปาล์มมีผลผลิตประมาณ 3 ตัน / ไร่ ไม่เหมือนกับจังหวัดกระบี่ บางแปลงปาล์มมีผลผลิตประมาณ 5- 8 ตัน / ไร่ แหล่งข่าวจากสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ยังมีพื้นที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูนำมาปลูกปาล์ม ได้อย่างขนานใหญ่ คือพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา สามารถปลูกปาล์มได้ประมาณ 2 ล้านไร่ ตั้งแต่ฝั่งนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง เพราะเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปาล์มในพื้นที่ภาคใต้มีการปลูกประมาณกว่า 2.9 ล้านไร่ มากที่สุดคือ จ.กระบี่ รองลงมาสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช นอกนั้นมีที่ จ.ตรัง และ จ.สตูล.
นายธนภัทธ์ เหมือนจันทร์ นายกสมาพันธ์ปาล์มน้ำมัน แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ขณะนี้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งนี้เพราะตลาดยังมีความต้องการสูงอยู่ และขณะเดียวกันน้ำมันราคากลับเคลื่อนไหวราคาที่สูงขึ้น ทำให้ปาล์มมีความต้องการนำไปพัฒนาเป็นพืชพลังงานทดแทนจำนวนมากขึ้น
ในขณะที่ปัจจัยต้นทุนการปาล์มในปีนี้สูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.60 บาท / กก. ซึ่งเดิมเมือปี 2548 และ 2550 อยู่ที่ 1.60 บาท / กก. เพราะวัสดุในการผลิตปาล์มสูงขึ้นทุกตัว ปาล์มถ้าวิเคราะห์ถึงแนวโน้มอนาคตแล้วถือว่ายังคงเดินหน้าไปได้ดี
นายไพรวัลณ์ ชูใหม่ นักวิชาการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สถานการณ์ปาล์มเริ่มกระเตื้องขึ้น เฉพาะในพื้นที่จังหวัดพัทลุงแต่หากต่ำกว่า 3 บาท / กก. อยู่ที่ภาวะขาดทุน พัทลุงการปลูกปาล์มเริ่มขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2548 เพราะรัฐให้การสนับสนุน แต่ถ้าเกษตรกรทำเองแล้วยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุน พัทลุงปลูกปาล์มขนาดรายย่อย ปัจจุบันมีกว่า 20,000 ไร่ โดยขยายตัวประมาณปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้พัทลุงมีความพร้อมในการลงทุนปลูกปาล์ม เพราะมีทั้งลานเทรับซื้อในพื้นที่ และพร้อมทางด้านวิชาการให้การสนับสนุน
นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า พัทลุงปาล์มมีผลผลิตประมาณ 3 ตัน / ไร่ ไม่เหมือนกับจังหวัดกระบี่ บางแปลงปาล์มมีผลผลิตประมาณ 5- 8 ตัน / ไร่ แหล่งข่าวจากสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ยังมีพื้นที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูนำมาปลูกปาล์ม ได้อย่างขนานใหญ่ คือพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา สามารถปลูกปาล์มได้ประมาณ 2 ล้านไร่ ตั้งแต่ฝั่งนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง เพราะเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปาล์มในพื้นที่ภาคใต้มีการปลูกประมาณกว่า 2.9 ล้านไร่ มากที่สุดคือ จ.กระบี่ รองลงมาสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช นอกนั้นมีที่ จ.ตรัง และ จ.สตูล.