ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าหน้าที่ยังต้องดูแลลูกโลมาเกยตื้นชายหาดภูเก็ตหลังยังปล่อยกลับลงทะเลไม่ได้ เหตุตามหาฝูงให้พบระบุเป็นโลมาหากินในน้ำลึก
น.ส.กาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กล่าวถึงความคืบหน้าการดูแลลูกโลมาซึ่งขึ้นมาเกยตื้นที่บริเวณหาดแสนสุข อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ให้ความช่วยเหลือลูกโลมาอายุประมาณ 1 ปี ที่ขึ้นมาเกยตื้นที่บริเวณหาดแสนสุข อ.เมือง จ.ภูเก็ต จำนวน 2 ตัว แต่รอดชีวิตจำนวน 1 ตัวนั้น
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังคงต้องดูแลโลมาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และสามารถว่ายน้ำและกินอาหารได้ตามปกติ ส่วนสาเหตุของการเกยตื้นนั้นเท่าที่ตรวจสอบและส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจไม่พบว่าโลมาดังกล่าวมีอาการป่วยแต่อย่างใด เชื่อว่าโลมาที่ขึ้นมาเกยตื้นทั้ง 2 ตัวน่าจะมีสาเหตุมาจากการหลงฝูง
ส่วนการดูแลโลมาตัวที่รอดชีวิตนั้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังต้องดูแลอยู่ยังไม่สามารถที่จะปล่อยลงทะเลได้ เนื่องจากจากการสำรวจยังไม่พบฝูงโลมาดังกล่าว โดยโลมาดังกล่าวเป็นโลมาลายจุดซึ่งจะอาศัยอยู่ในทะเลลึกนานๆจะว่ายน้ำเข้ามาสักครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ไม่อยากที่จะเลี้ยงไว้นานมากนัก เพราะถ้าเลี้ยงไว้นานแล้วนำไปปล่อยกลับลงทะเลจะทำให้โลมาหากินไม่เป็นไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ในทะเลได้ แต่การที่จะปล่อยโลมาดังกล่าวลงทะเลจะต้องหาฝูงให้พบก่อนว่าหากินอยู่ที่บริเวณใด ซึ่งคงจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง
น.ส.กาญจนา กล่าวต่อไปว่า สำหรับโลมาที่หากินอยู่ในฝั่งทะเลอันดามันนั้นมีจำนวนหลายฝูงที่พบเห็นบ่อยส่วนใหญ่จะเป็นโลมาลายแถบ และโลมากระโดด ส่วนโลมาลายจุดนั้นพบเห็นได้น้อยมากเนื่องจากเป็นโลมาที่หากินอยู่บริเวณน้ำลึก
น.ส.กาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กล่าวถึงความคืบหน้าการดูแลลูกโลมาซึ่งขึ้นมาเกยตื้นที่บริเวณหาดแสนสุข อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ให้ความช่วยเหลือลูกโลมาอายุประมาณ 1 ปี ที่ขึ้นมาเกยตื้นที่บริเวณหาดแสนสุข อ.เมือง จ.ภูเก็ต จำนวน 2 ตัว แต่รอดชีวิตจำนวน 1 ตัวนั้น
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังคงต้องดูแลโลมาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และสามารถว่ายน้ำและกินอาหารได้ตามปกติ ส่วนสาเหตุของการเกยตื้นนั้นเท่าที่ตรวจสอบและส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจไม่พบว่าโลมาดังกล่าวมีอาการป่วยแต่อย่างใด เชื่อว่าโลมาที่ขึ้นมาเกยตื้นทั้ง 2 ตัวน่าจะมีสาเหตุมาจากการหลงฝูง
ส่วนการดูแลโลมาตัวที่รอดชีวิตนั้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังต้องดูแลอยู่ยังไม่สามารถที่จะปล่อยลงทะเลได้ เนื่องจากจากการสำรวจยังไม่พบฝูงโลมาดังกล่าว โดยโลมาดังกล่าวเป็นโลมาลายจุดซึ่งจะอาศัยอยู่ในทะเลลึกนานๆจะว่ายน้ำเข้ามาสักครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ไม่อยากที่จะเลี้ยงไว้นานมากนัก เพราะถ้าเลี้ยงไว้นานแล้วนำไปปล่อยกลับลงทะเลจะทำให้โลมาหากินไม่เป็นไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ในทะเลได้ แต่การที่จะปล่อยโลมาดังกล่าวลงทะเลจะต้องหาฝูงให้พบก่อนว่าหากินอยู่ที่บริเวณใด ซึ่งคงจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง
น.ส.กาญจนา กล่าวต่อไปว่า สำหรับโลมาที่หากินอยู่ในฝั่งทะเลอันดามันนั้นมีจำนวนหลายฝูงที่พบเห็นบ่อยส่วนใหญ่จะเป็นโลมาลายแถบ และโลมากระโดด ส่วนโลมาลายจุดนั้นพบเห็นได้น้อยมากเนื่องจากเป็นโลมาที่หากินอยู่บริเวณน้ำลึก