สุราษฎร์ธานี- จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในภาพรวม พบแผ่ขยายครอบคลุมทั่วทุกอำเภอ หลักๆ ยังคงเป็น อ.เมือง เกาะสมุย เกาะพะงัน เวียงสระ และ พระแสง อายุเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในระหว่าง 16-35 ปี พร้อมนำแนวทางการแก้ไขปัญหาเสพติดโดยกำหนด 4 มาตรการหลัก
นายโสภณ ศิริกุลพิพัฒน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำแผนปฏิบัติการการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
รวมทั้งมีส่วนในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกหมู่บ้านชุมชน และสถาบันการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้จัดสัมมนาเครือข่ายนักจัดรายการวิทยุหลัก วิทยุชุมชน ประชาสัมพันธ์สถานศึกษาตัวแทนนักเรียนนักศึกษาขึ้น
ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในภาพรวม พบว่า ภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งมีทั้งหมด 19 อำเภอ ยังคงมีการผลิตกัญชาเพื่อเสพในพื้นที่ต่างๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอชัยบุรี อำเภอพนม และอำเภอไชยา การค้าและการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่เกือบทุกอำเภอ เช่น อำเภอเมือง อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน อำเภอเวียงสระ และอำเภอพระแสง แต่เป็นไปในลักษณะรายย่อย ไม่มีกลุ่มนักค้ารายใหญ่ หรือรายสำคัญ
จากข้อมูลเฝ้าระวัง พบว่า ยาบ้ายังคงเป็นตัวแพร่ระบาดหลัก รองลงมา ได้แก่ กัญชาแห้ง และพืชกระท่อม อายุเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่มีอยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 16-35 ปี ราคาจำหน่าย ยาบ้าเม็ดละ 320-450 บาท
ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปัญหาเสพติดของจังหวัดจะมีมาตรการด้วยกัน 4 มาตรการ ได้แก่ 1.มาตราการ/แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่เฉพาะ มาตรการปราบปรามกลุ่มผู้ค้า ค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด นำเข้าบำบัด ป้องกันกลุ่มเสี่ยง จัดระเบียบสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน/กระบวนการชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2.มาตราการปราบปรามกลุ่มผู้ค้า การบังคับใช้กฎหมาย กำหนดเป้าหมายหลักพื้นที่ในการระดมกวาดล้าง/ตรวจค้น รวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานของหมายศาล เข้าตรวจค้น สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้น ตามหมายศาล
3.มาตรการด้านการบำบัดรักษา ค้นหาผู้เสพ ผู้ติด เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่เหมาะสม หรือจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดระบบติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษา และสอบถามความต้องการเพื่อให้ความช่วยเหลือหลังการบำบัดรักษา 4. การปราบปรามกลุ่ม/เครือข่ายการค้าในเรือนจำ สนธิกำลัง เข้าทำการจู่โจม ตรวจค้นเรือนจำ จัดชุดปฏิบัติการข่าวติดตามเครือข่าย จัดตั้งชุดซักถามข้อมูล เพื่อสืบสวนขยายผล ซึ่งหากทุกหน่วยงาน และทุกคนร่วมมือกันในการรณรงค์แก้ปัญหาอย่างจริงจัง จะสามารถลดระดับปัญหายาเสพติดให้อยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ ไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ความพึงพอใจของประชาชนเพิ่มขึ้น
นายโสภณ ศิริกุลพิพัฒน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำแผนปฏิบัติการการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
รวมทั้งมีส่วนในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกหมู่บ้านชุมชน และสถาบันการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้จัดสัมมนาเครือข่ายนักจัดรายการวิทยุหลัก วิทยุชุมชน ประชาสัมพันธ์สถานศึกษาตัวแทนนักเรียนนักศึกษาขึ้น
ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในภาพรวม พบว่า ภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งมีทั้งหมด 19 อำเภอ ยังคงมีการผลิตกัญชาเพื่อเสพในพื้นที่ต่างๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอชัยบุรี อำเภอพนม และอำเภอไชยา การค้าและการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่เกือบทุกอำเภอ เช่น อำเภอเมือง อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน อำเภอเวียงสระ และอำเภอพระแสง แต่เป็นไปในลักษณะรายย่อย ไม่มีกลุ่มนักค้ารายใหญ่ หรือรายสำคัญ
จากข้อมูลเฝ้าระวัง พบว่า ยาบ้ายังคงเป็นตัวแพร่ระบาดหลัก รองลงมา ได้แก่ กัญชาแห้ง และพืชกระท่อม อายุเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่มีอยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 16-35 ปี ราคาจำหน่าย ยาบ้าเม็ดละ 320-450 บาท
ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปัญหาเสพติดของจังหวัดจะมีมาตรการด้วยกัน 4 มาตรการ ได้แก่ 1.มาตราการ/แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่เฉพาะ มาตรการปราบปรามกลุ่มผู้ค้า ค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด นำเข้าบำบัด ป้องกันกลุ่มเสี่ยง จัดระเบียบสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน/กระบวนการชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2.มาตราการปราบปรามกลุ่มผู้ค้า การบังคับใช้กฎหมาย กำหนดเป้าหมายหลักพื้นที่ในการระดมกวาดล้าง/ตรวจค้น รวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานของหมายศาล เข้าตรวจค้น สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้น ตามหมายศาล
3.มาตรการด้านการบำบัดรักษา ค้นหาผู้เสพ ผู้ติด เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่เหมาะสม หรือจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดระบบติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษา และสอบถามความต้องการเพื่อให้ความช่วยเหลือหลังการบำบัดรักษา 4. การปราบปรามกลุ่ม/เครือข่ายการค้าในเรือนจำ สนธิกำลัง เข้าทำการจู่โจม ตรวจค้นเรือนจำ จัดชุดปฏิบัติการข่าวติดตามเครือข่าย จัดตั้งชุดซักถามข้อมูล เพื่อสืบสวนขยายผล ซึ่งหากทุกหน่วยงาน และทุกคนร่วมมือกันในการรณรงค์แก้ปัญหาอย่างจริงจัง จะสามารถลดระดับปัญหายาเสพติดให้อยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ ไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ความพึงพอใจของประชาชนเพิ่มขึ้น