ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ม็อบกุ้งรอบสอง เตรียมเคลื่อนไหว หลังคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ผิดสัญญา ขีดเส้นตายภายในสิ้นเดือนมิถุนายน หากไม่มีความคืบหน้า หรือความชัดเจนจะมีออกมาชุมนุมเรียกร้องอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายที่เกษตรกรร้องขอต่อรัฐบาล
วันนี้ (24 มิ.ย.) นายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า หลังจากที่ มติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552 ให้มีแนวทางการรับจำนำกุ้ง 2-3 แนวทาง แนวทางแรกก็คือ ให้ห้องเย็นรับฝากไว้ โดยขอความร่วมมือห้องเย็นรับฝากไว้เป็นเวลา 1 ปี โดยซื้อในราคาที่จำนำ
แนวทางที่ 2 ให้จำนำโดยองค์การคลังสินค้าเข้ามารับฝากสินค้าเหมือนปีที่แล้ว และอีกแนวทางหนึ่งก็คือ ใช้ระบบคอนแท๊คฟาร์มิ่งผ่านระบบสหกรณ์ ซึ่งในขณะนี้ล่าสุดมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 52 ไม่เห็นด้วยกับการรับจำนำในส่วนของที่จะให้ห้องเย็นดำเนินการ โดยอ้างว่า ห้องเย็นไม่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะทำให้กุ้งในช่วงนี้มีปัญหาต่อไปอีก
เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ ก็อยากจะให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ยึดแนวทางเหมือนปีที่แล้ว โดยองค์การคลังสินค้าดำเนินการจำนำเหมือนเดิม ส่วนของแนวทางระบบคอนแทร็กฟาร์มิ่งผ่านระบบสหกรณ์ที่ทาง คชก.อนุมัติเงินเพิ่มมาก็ให้ดำเนินการควบคู่กันไปด้วย เพื่อที่จะแก้ปัญหาเป็นการเร่งด่วนให้กับพี่น้องเกษตรกร
ทั้งนี้ หากว่าภายในระยะเวลาก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน 2552 ไม่มีความคืบหน้า หรือแนวทางที่ชัดเจนที่จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรได้ เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ก็จะออกมาเรียกร้องชุมนุมอีกครั้งหนึ่ง คิดว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ร้องขอกับรัฐบาล
วันนี้ (24 มิ.ย.) นายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า หลังจากที่ มติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552 ให้มีแนวทางการรับจำนำกุ้ง 2-3 แนวทาง แนวทางแรกก็คือ ให้ห้องเย็นรับฝากไว้ โดยขอความร่วมมือห้องเย็นรับฝากไว้เป็นเวลา 1 ปี โดยซื้อในราคาที่จำนำ
แนวทางที่ 2 ให้จำนำโดยองค์การคลังสินค้าเข้ามารับฝากสินค้าเหมือนปีที่แล้ว และอีกแนวทางหนึ่งก็คือ ใช้ระบบคอนแท๊คฟาร์มิ่งผ่านระบบสหกรณ์ ซึ่งในขณะนี้ล่าสุดมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 52 ไม่เห็นด้วยกับการรับจำนำในส่วนของที่จะให้ห้องเย็นดำเนินการ โดยอ้างว่า ห้องเย็นไม่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะทำให้กุ้งในช่วงนี้มีปัญหาต่อไปอีก
เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ ก็อยากจะให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ยึดแนวทางเหมือนปีที่แล้ว โดยองค์การคลังสินค้าดำเนินการจำนำเหมือนเดิม ส่วนของแนวทางระบบคอนแทร็กฟาร์มิ่งผ่านระบบสหกรณ์ที่ทาง คชก.อนุมัติเงินเพิ่มมาก็ให้ดำเนินการควบคู่กันไปด้วย เพื่อที่จะแก้ปัญหาเป็นการเร่งด่วนให้กับพี่น้องเกษตรกร
ทั้งนี้ หากว่าภายในระยะเวลาก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน 2552 ไม่มีความคืบหน้า หรือแนวทางที่ชัดเจนที่จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรได้ เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ก็จะออกมาเรียกร้องชุมนุมอีกครั้งหนึ่ง คิดว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ร้องขอกับรัฐบาล