สุราษฎร์ธานี - รัฐจับเข่าคุยกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ภายในประเทศ รวมถึงตลาดส่งออกต่าง ปท.อีก 10 ประเทศ เพื่อเร่งระบายผลไม้โดยเฉพาะเงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณมากในช่วงเดือน ก.ค-ส.ค.
นายประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงผลการประชุมเจรจาซื้อขายผลไม้ ว่า จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ประเมินสถานการณ์การผลิตเบื้องต้นในฤดูกาลที่ผลิตผลไม้ ปี 2552 คาดว่า เงาะ จะมีปริมาณ 17,156 ตัน ทุเรียน 14,688 ตัน มังคุด 3,954 ตัน และลองกอง 4,242 ตัน ซึ่งคาดว่าผลไม้ที่อาจะจะเกิดปัญหามี เงาะ มังคุด และลองกอง รวมประมาณ 25,352 ตัน เนื่องจากผลผลิตจะออกพร้อมกันในหลายพื้นที่ทั้งภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะช่วงเดือน กรกฏาคม ถึง สิงหาคมนี้ จึงต้องเร่งกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามในปีนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกับหลายหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการเร่งระบายผลไม้ออกสู่ตลาดทั้งใน และนอกประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง
ด้านนายจักรชินบุษย์ ชื่นอารมณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาค จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขายผลไม้ รวมถึงการ เร่งระบายผลไม้ออกนอกประเทศ และยกระดับผลไม้ภาคใต้ โดยก่อนหน้านี้ทางศูนย์ส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาค สุราษฎร์ธานี กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดประชุมเจรจาซื้อขายผลไม้ โดยมีกลุ่มผู้ซื้อ
ผู้ขายในประเทศ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ จำนวน 16 ราย และห้างสรรพสินค้า มาเจรจาซื้อขายผลไม้ที่จะออกสู่ตลาดตามฤดูกาลและกลุ่มผู้ซื้อต่างประเทศอีก จำนวน 10 ประเทศ จำนวน 48 ราย
ทั้งนี้ เพื่อให้มีช่องทางการกระจายผลไม้ไทยผ่านผู้ส่งออก และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมถึงการเจรจาการค้า ระหว่างกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผลไม้ ผู้ค้ารายใหญ่ประจำจังหวัดต่างๆ ตลาดกลาง ตลาดส่งออก และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
นายประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงผลการประชุมเจรจาซื้อขายผลไม้ ว่า จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ประเมินสถานการณ์การผลิตเบื้องต้นในฤดูกาลที่ผลิตผลไม้ ปี 2552 คาดว่า เงาะ จะมีปริมาณ 17,156 ตัน ทุเรียน 14,688 ตัน มังคุด 3,954 ตัน และลองกอง 4,242 ตัน ซึ่งคาดว่าผลไม้ที่อาจะจะเกิดปัญหามี เงาะ มังคุด และลองกอง รวมประมาณ 25,352 ตัน เนื่องจากผลผลิตจะออกพร้อมกันในหลายพื้นที่ทั้งภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะช่วงเดือน กรกฏาคม ถึง สิงหาคมนี้ จึงต้องเร่งกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามในปีนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกับหลายหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการเร่งระบายผลไม้ออกสู่ตลาดทั้งใน และนอกประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง
ด้านนายจักรชินบุษย์ ชื่นอารมณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาค จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขายผลไม้ รวมถึงการ เร่งระบายผลไม้ออกนอกประเทศ และยกระดับผลไม้ภาคใต้ โดยก่อนหน้านี้ทางศูนย์ส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาค สุราษฎร์ธานี กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดประชุมเจรจาซื้อขายผลไม้ โดยมีกลุ่มผู้ซื้อ
ผู้ขายในประเทศ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ จำนวน 16 ราย และห้างสรรพสินค้า มาเจรจาซื้อขายผลไม้ที่จะออกสู่ตลาดตามฤดูกาลและกลุ่มผู้ซื้อต่างประเทศอีก จำนวน 10 ประเทศ จำนวน 48 ราย
ทั้งนี้ เพื่อให้มีช่องทางการกระจายผลไม้ไทยผ่านผู้ส่งออก และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมถึงการเจรจาการค้า ระหว่างกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตผลไม้ ผู้ค้ารายใหญ่ประจำจังหวัดต่างๆ ตลาดกลาง ตลาดส่งออก และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่