ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำนักงานสาธารณสุขตั้งคลินิกชิคุนกุนยา ทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รองรับการให้บริการและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย. เผย อธิบดีกรมควบคุมโรค กำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเร่งควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
นายแพทย์ พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน ในเรื่องของการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้น ล่าสุด ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้จัดตั้งคลินิกชิคุนกุนยาขึ้นในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วทั้งจังหวัดแล้ว เพื่อบริการให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยโรคดังกล่าว ตลอดจนเป็นศูนย์รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย
นายแพทย์ พงษ์สวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ในการป้องกันโรคดังกล่าวนั้น ทางอธิบดีกรมควบคุมโรคได้สั่งการให้หน่วยงานที่เร่งช่วยกันกำจัดโรคให้หมดโดยเร็วที่สุด เนื่องจากระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศได้ โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นิยมเข้าไปท่องเที่ยวพักผ่อน อาทิ การท่องเที่ยวขี่ช้างและเดินป่า ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากภายในป่าเป็นแหล่งที่มียุงลายชุกชุม นอกจากนี้ ยุงลายยังเป็นพาหะนำโรคชิคุนกุนยา
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าวระบาดไปยังนักท่องเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จะต้องช่วยกันดูแล และช่วยกันแจกจ่ายยาทากันยุงให้กับนักท่องเที่ยวก่อนเข้าป่าทุกครั้ง พร้อมทั้งแจกจ่ายเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวแก่นักท่องเที่ยว เพื่อป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย
นายแพทย์ พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน ในเรื่องของการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้น ล่าสุด ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้จัดตั้งคลินิกชิคุนกุนยาขึ้นในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วทั้งจังหวัดแล้ว เพื่อบริการให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยโรคดังกล่าว ตลอดจนเป็นศูนย์รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย
นายแพทย์ พงษ์สวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ในการป้องกันโรคดังกล่าวนั้น ทางอธิบดีกรมควบคุมโรคได้สั่งการให้หน่วยงานที่เร่งช่วยกันกำจัดโรคให้หมดโดยเร็วที่สุด เนื่องจากระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศได้ โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นิยมเข้าไปท่องเที่ยวพักผ่อน อาทิ การท่องเที่ยวขี่ช้างและเดินป่า ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากภายในป่าเป็นแหล่งที่มียุงลายชุกชุม นอกจากนี้ ยุงลายยังเป็นพาหะนำโรคชิคุนกุนยา
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าวระบาดไปยังนักท่องเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จะต้องช่วยกันดูแล และช่วยกันแจกจ่ายยาทากันยุงให้กับนักท่องเที่ยวก่อนเข้าป่าทุกครั้ง พร้อมทั้งแจกจ่ายเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวแก่นักท่องเที่ยว เพื่อป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย