สตูล – โครงการต้นกล้าอาชีพส่อเค้าปัญหา หลังวิทยาลัยที่เข้าหลักสูตรไม่รับการรายงานตัวผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ 116 คน อ้างศักยภาพแต่ละวิทยาลัยไม่เท่ากัน หากไม่กำหนดกรอบหลักสูตรให้ตรงกับความชำนาญ และภายใต้เวลาที่กระชั้นชิดนั้นทำให้ไม่สามารถเตรียมหลักสูตรอบรมได้ทัน
วันนี้ (1 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงาน จ.สตูล ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ 116 คน ไม่สามารถเข้ารายงานตัวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 30-31 เมษายน ที่ผ่านมา เนื่องจากวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ อ้างว่าไม่พร้อมเนื่องจากไม่สามารถเตรียมหลักสูตรในการฝึกอบรมได้ทัน
นางสาวชุลีพร โกสินทร์ จัดหางานจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า มีแรงงานว่างงาน และลูกเลิกจ้าง เข้าสมัครร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ จำนวน 225 คน และผ่านการซุ่มคัดเลือกจำนวน 116 คน โดยนัดที่จะมารายงานตัวต่อวิทยาลัยที่ระบุเข้าร่วมโครงการฯ 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคสตูล และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล ในวันที่ 30-31 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งผู้ที่ผ่านคัดเลือกมีรายชื่อเข้ารายงานตัวต่อวิทยาลัยเทคนิคสตูล 30 คน และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล 86 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกเกี่ยวกับอาชีพการเกษตร และงานธุรกิจการพิมพ์
ทั้งนี้ จัดหางานจังหวัดสตูลเห็นว่าผู้ที่ว่างงานเองหากต้องการมีงานทำ และทำงานในพื้นที่ควรไม่เกี่ยงงานทำไปก่อนเพื่อหาประสบการณ์ และมีความอดทน โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ควรใช้จ่ายอย่างประหยัด มีแบบแผนในการใช้จ่าย และไม่ควรลาออกจากงานเพื่อหวังเงินประกันสังคม เพียง 30% เพราะไม่คุ้มกัน
ส่วนปัญหาขณะนี้ก็พบว่าทางวิทยาลัยที่มีการระบุว่าจะเข้าร่วมโครงการยังไม่สามารถรับการรายงานตัวได้ ซึ่งทางวิทยาลัยฯเองให้เหตุผลว่าไม่พร้อมนั้น ในเรื่องนี้ทางจัดหางานจะมีการประสานไปทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ด้าน นายสุธา บัวดำ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคสตูล ผู้ดูแลประสานงานโครงการต้นกล้าอาชีพ เปิดเผย เปิดเผยว่า ทางวิทยาลัยไม่สามารถรับการลงทะเบียนการรายงานตัวของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากทางวิทยาลัยไม่มีความพร้อมในการเปิดหลักสูตรตามที่มีการเลือกของผู้เข้าร่วมโครงการฯตามกรอบใหญ่ของหลักสูตรกลางได้ เนื่องจากศักยภาพของแต่ละวิทยาลัยไม่เท่ากัน ประกอบกับการแจ้งให้วิทยาลัยส่งหลักสูตรที่สามารถจะเปิดได้มาล่าช้า จนเกินกว่าจะเตรียมการทัน ซึ่งแน่นอนในโครงการแรก ทางวิทยาลัยเปิดอบรมหลักสูตรไม่ทัน และในโครงการสองก็ยังไม่สามารถจะรับปากได้ว่าจะสามารถเปิดได้หรือไม่
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเห็นว่าเกิดจากการไม่ประสานงานกันที่ชัดเจนระหว่าง สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดหางาน ทางวิทยาลัย และประชาชนเอง ซึ่งทางวิทยาลัยก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแต่หากไม่ให้เวลาในการเตรียมการจัดหลักสูตรและบุคลากรก็ไม่สามารถจะรับโครงการนี้ไหว
วันนี้ (1 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงาน จ.สตูล ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ 116 คน ไม่สามารถเข้ารายงานตัวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 30-31 เมษายน ที่ผ่านมา เนื่องจากวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ อ้างว่าไม่พร้อมเนื่องจากไม่สามารถเตรียมหลักสูตรในการฝึกอบรมได้ทัน
นางสาวชุลีพร โกสินทร์ จัดหางานจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า มีแรงงานว่างงาน และลูกเลิกจ้าง เข้าสมัครร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ จำนวน 225 คน และผ่านการซุ่มคัดเลือกจำนวน 116 คน โดยนัดที่จะมารายงานตัวต่อวิทยาลัยที่ระบุเข้าร่วมโครงการฯ 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคสตูล และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล ในวันที่ 30-31 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งผู้ที่ผ่านคัดเลือกมีรายชื่อเข้ารายงานตัวต่อวิทยาลัยเทคนิคสตูล 30 คน และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล 86 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกเกี่ยวกับอาชีพการเกษตร และงานธุรกิจการพิมพ์
ทั้งนี้ จัดหางานจังหวัดสตูลเห็นว่าผู้ที่ว่างงานเองหากต้องการมีงานทำ และทำงานในพื้นที่ควรไม่เกี่ยงงานทำไปก่อนเพื่อหาประสบการณ์ และมีความอดทน โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ควรใช้จ่ายอย่างประหยัด มีแบบแผนในการใช้จ่าย และไม่ควรลาออกจากงานเพื่อหวังเงินประกันสังคม เพียง 30% เพราะไม่คุ้มกัน
ส่วนปัญหาขณะนี้ก็พบว่าทางวิทยาลัยที่มีการระบุว่าจะเข้าร่วมโครงการยังไม่สามารถรับการรายงานตัวได้ ซึ่งทางวิทยาลัยฯเองให้เหตุผลว่าไม่พร้อมนั้น ในเรื่องนี้ทางจัดหางานจะมีการประสานไปทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ด้าน นายสุธา บัวดำ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคสตูล ผู้ดูแลประสานงานโครงการต้นกล้าอาชีพ เปิดเผย เปิดเผยว่า ทางวิทยาลัยไม่สามารถรับการลงทะเบียนการรายงานตัวของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากทางวิทยาลัยไม่มีความพร้อมในการเปิดหลักสูตรตามที่มีการเลือกของผู้เข้าร่วมโครงการฯตามกรอบใหญ่ของหลักสูตรกลางได้ เนื่องจากศักยภาพของแต่ละวิทยาลัยไม่เท่ากัน ประกอบกับการแจ้งให้วิทยาลัยส่งหลักสูตรที่สามารถจะเปิดได้มาล่าช้า จนเกินกว่าจะเตรียมการทัน ซึ่งแน่นอนในโครงการแรก ทางวิทยาลัยเปิดอบรมหลักสูตรไม่ทัน และในโครงการสองก็ยังไม่สามารถจะรับปากได้ว่าจะสามารถเปิดได้หรือไม่
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเห็นว่าเกิดจากการไม่ประสานงานกันที่ชัดเจนระหว่าง สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดหางาน ทางวิทยาลัย และประชาชนเอง ซึ่งทางวิทยาลัยก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแต่หากไม่ให้เวลาในการเตรียมการจัดหลักสูตรและบุคลากรก็ไม่สามารถจะรับโครงการนี้ไหว