ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านห่วงปัญหาทำประมงลอบปูม้า บริเวณชายฝั่ง เกรงทำปูม้าสูญพันธุ์หลังจับปูม้าขนาดเล็กบริโภคก่อนกำหนด เสนอขยายเขตทำประมงลอบปูม้าออกไป พร้อมใช้กฎหมายบังคับ
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านอ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงปัญหาการทำประมงลอบปูม้าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังพบมีการทำลอบปูม้าในพื้นที่ชายฝั่งเพื่อจับปูม้าขนาดเล็กมาบริโภค ว่า การทำประมงลอบปูม้ามีปัญหาทุกพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านฝั่งตะวันออกของเกาะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของปูม้า โดยธรรมชาติปูม้าขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึกประมาณ 5 เมตร และปูม้าขนาดใหญ่จะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึกประมาณ 20 เมตร
แต่ปัจจุบันพบว่า มีการลักลอบทำประมงลอบปูม้าบริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปูม้าขนาดเล็กมากขึ้นเพื่อนำมาบริโภคและจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ ทั้งนำไปชุบแป้งทอด ส้มตำปูม้า และอื่นๆ ซึ่งการลักลอบจับปูม้าขนาดเล็กไปบริโภคก่อนกำหนด จะทำให้ปูม้าหายากขึ้น และสูญพันธุ์ไปในที่สุด เนื่องจากเครื่องมือการทำประมงชายฝั่ง และลอบปูม้า เป็นเครื่องมือที่ทำลายล้างขนาดใหญ่ จึงอยากให้ประมงจังหวัดไปศึกษาถึงธรรมชาติของปูม้า เพื่อหามาตรการออกกฎหมายมาบังคับ การกำหนดเขตการทำประมงลอบปูม้า เพื่อกั้นแนวเขตกลุ่มทำประมงลอบปู เพราะเชื่อว่าถ้ามีกฎหมายห้ามที่ชัดเจนประชาชนก็ยินดีที่จะทำตาม
ในขณะที่ นางสาวเพราลัย นุชหมอน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งอันดามัน กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการทำลายปูม้าขนาดเล็ก ว่า โดยส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยกับการขยายเขตการทำประมงลอบปูม้า เพราะเกรงว่าจะกระทบกับวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ซึ่งในการแก้ไขปัญหานั้นควรจะเสนอให้มีการแก้ที่อุปกรณ์การทำประมงลอบปูม้าก่อน อาจจะขยายขนาดท้องลอบเพื่อให้ปูม้าตัวเล็กสามารถลอดผ่านไปได้
ในขณะที่ นายธนู แนบเนียน ผู้ประสานงานองค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติฝั่งอันดามัน กล่าวในเรื่องเดียวกัน ว่า ปัญหาการจับปูม้าก่อนวัยอันควร ควรจะกำหนดให้มีมาตรการควบคุมการใช้เครื่องมือการทำประมงแทนการกำหนดเขตการทำประมง โดยเครื่องมือที่ใช้ทำการประมงจะต้องมีตาที่ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ปูขนาดเล็กสามารถออกไปได้ นอกจากนั้นควรจะต้องกำหนดให้มีการหามาตรการการเพิ่มผลผลิตปูม้าในแหล่งธรรมชาติ เช่น การไม่จับปูที่มีไข่ หรือการทำธนาคารปูไข่
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านอ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงปัญหาการทำประมงลอบปูม้าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังพบมีการทำลอบปูม้าในพื้นที่ชายฝั่งเพื่อจับปูม้าขนาดเล็กมาบริโภค ว่า การทำประมงลอบปูม้ามีปัญหาทุกพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านฝั่งตะวันออกของเกาะ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของปูม้า โดยธรรมชาติปูม้าขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึกประมาณ 5 เมตร และปูม้าขนาดใหญ่จะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึกประมาณ 20 เมตร
แต่ปัจจุบันพบว่า มีการลักลอบทำประมงลอบปูม้าบริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปูม้าขนาดเล็กมากขึ้นเพื่อนำมาบริโภคและจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ ทั้งนำไปชุบแป้งทอด ส้มตำปูม้า และอื่นๆ ซึ่งการลักลอบจับปูม้าขนาดเล็กไปบริโภคก่อนกำหนด จะทำให้ปูม้าหายากขึ้น และสูญพันธุ์ไปในที่สุด เนื่องจากเครื่องมือการทำประมงชายฝั่ง และลอบปูม้า เป็นเครื่องมือที่ทำลายล้างขนาดใหญ่ จึงอยากให้ประมงจังหวัดไปศึกษาถึงธรรมชาติของปูม้า เพื่อหามาตรการออกกฎหมายมาบังคับ การกำหนดเขตการทำประมงลอบปูม้า เพื่อกั้นแนวเขตกลุ่มทำประมงลอบปู เพราะเชื่อว่าถ้ามีกฎหมายห้ามที่ชัดเจนประชาชนก็ยินดีที่จะทำตาม
ในขณะที่ นางสาวเพราลัย นุชหมอน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งอันดามัน กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการทำลายปูม้าขนาดเล็ก ว่า โดยส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยกับการขยายเขตการทำประมงลอบปูม้า เพราะเกรงว่าจะกระทบกับวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ซึ่งในการแก้ไขปัญหานั้นควรจะเสนอให้มีการแก้ที่อุปกรณ์การทำประมงลอบปูม้าก่อน อาจจะขยายขนาดท้องลอบเพื่อให้ปูม้าตัวเล็กสามารถลอดผ่านไปได้
ในขณะที่ นายธนู แนบเนียน ผู้ประสานงานองค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติฝั่งอันดามัน กล่าวในเรื่องเดียวกัน ว่า ปัญหาการจับปูม้าก่อนวัยอันควร ควรจะกำหนดให้มีมาตรการควบคุมการใช้เครื่องมือการทำประมงแทนการกำหนดเขตการทำประมง โดยเครื่องมือที่ใช้ทำการประมงจะต้องมีตาที่ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ปูขนาดเล็กสามารถออกไปได้ นอกจากนั้นควรจะต้องกำหนดให้มีการหามาตรการการเพิ่มผลผลิตปูม้าในแหล่งธรรมชาติ เช่น การไม่จับปูที่มีไข่ หรือการทำธนาคารปูไข่