นครศรีธรรมราช - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขเร่งผุด “เมดิคัล ฮับ” หลังพบผู้ป่วยต่างประเทศเข้ารักษาตัวปีละกว่า 1 ล้านคน ส่งศึกษาแนวทางอุดช่องโหว่แพทย์-พยาบาลสมองไหลลงสู่ รพ.เอกชน
วันนี้ (8 ก.พ.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการดำเนินการในโครงการ “เมดิคัล ฮับ” หรือศูนย์กลางทางการแพทย์ของโลกว่า แนวคิดนี้ถือเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบทางการแพทย์ของประเทศไทย ได้กลายเป็นศูนย์กลาง หรือก้าวสู่ระดับสากลไปแล้วโดยปริยาย เมื่อลงลึกไปดูตัวเลขการเข้ารักษาตัว หรือการใช้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยมีจำนวนถึงกว่า 1 ล้านคนต่อปี รัฐบาลจึงพยายามปรับการขยายตัวเพื่อรองรับการขยายตัวด้านเมดิคอลฮับให้ดีขึ้น
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการขยายตัวดังกล่าวนั้นจะต้องมีแผนรองรับกำลังบุคลากรทางการแพทย์ในภาครัฐ จะต้องไม่ลดลงด้วย ซึ่งในประเด็นนี้กำลังศึกษาเพื่อหาแนวทาง และอุดช่องว่างให้มากที่สุด และศึกษาอย่างรอบด้าน ซึ่งโครงการนี้มีความจำเป็นในการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ดี
“ที่ผ่านนมาเรารับผู้ป่วยจากต่างประเทศราว 1 ล้านคนเศษต่อปี ซึ่งจำนวนนี้ได้กระจายอยู่ใน รพ.เอกชนทั้งหมด โรงพยาบาลของรัฐมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ ในการบริการทางการแพทย์ ซึ่งสามารถสร้างการขยายตัวด้านเศรษฐกิจได้ในช่วงนี้ดังนั้น หากมีช่องทางรัฐควรที่จะสนับสนุน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขกล่าวในที่สุด
วันนี้ (8 ก.พ.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการดำเนินการในโครงการ “เมดิคัล ฮับ” หรือศูนย์กลางทางการแพทย์ของโลกว่า แนวคิดนี้ถือเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบทางการแพทย์ของประเทศไทย ได้กลายเป็นศูนย์กลาง หรือก้าวสู่ระดับสากลไปแล้วโดยปริยาย เมื่อลงลึกไปดูตัวเลขการเข้ารักษาตัว หรือการใช้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยมีจำนวนถึงกว่า 1 ล้านคนต่อปี รัฐบาลจึงพยายามปรับการขยายตัวเพื่อรองรับการขยายตัวด้านเมดิคอลฮับให้ดีขึ้น
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการขยายตัวดังกล่าวนั้นจะต้องมีแผนรองรับกำลังบุคลากรทางการแพทย์ในภาครัฐ จะต้องไม่ลดลงด้วย ซึ่งในประเด็นนี้กำลังศึกษาเพื่อหาแนวทาง และอุดช่องว่างให้มากที่สุด และศึกษาอย่างรอบด้าน ซึ่งโครงการนี้มีความจำเป็นในการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ดี
“ที่ผ่านนมาเรารับผู้ป่วยจากต่างประเทศราว 1 ล้านคนเศษต่อปี ซึ่งจำนวนนี้ได้กระจายอยู่ใน รพ.เอกชนทั้งหมด โรงพยาบาลของรัฐมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ ในการบริการทางการแพทย์ ซึ่งสามารถสร้างการขยายตัวด้านเศรษฐกิจได้ในช่วงนี้ดังนั้น หากมีช่องทางรัฐควรที่จะสนับสนุน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขกล่าวในที่สุด