นครศรีธรรมราช - “โคทม” ยกทีมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รุกสร้างสำนึกประชาธิปไตยที่ถูกต้อง-ตามงานกระจายอำนาจ
วันนี้ (4 ก.พ.) นายโคทม อารียา ประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่โครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคใต้ โดยมีผู้แทนโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จาก 14 จังหวัดภาคใต้
ทั้งนี้ ได้เดินสายสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกจังหวัดใน 14 จังหวัดภาคใต้ สำหรับการสัมมนาเป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อติดตามและประสานความเชื่อมโยงกับโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาฯที่ได้ดำเนินการไปแล้วในระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
นายโคทม กล่าวว่า เป็นการติดตามและเผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะทำงานการมีส่วนร่วมกระจายอำนาจ และสนับสนุนเครือข่าย พร้อมทั้งเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระดับภูมิภาค
ผลจากการดำเนินการสัมมนาจะทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนในทุกท้องที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมของสังคมประชาธิปไตย เพื่อเสริมพลังอำนาจของภาคประชาชนให้รู้สิทธิหน้าที่รู้สึก และเห็นคุณค่าในความรับผิดชอบต่อการมีส่วนร่วม
ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างสังคมประชาธิปไตย และสามารถแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองอย่างถูกต้องในการที่จะสะท้อนความต้องการของตนเองไปสู่การกำหนดนโยบายของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนได้รับประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
วันนี้ (4 ก.พ.) นายโคทม อารียา ประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่โครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคใต้ โดยมีผู้แทนโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จาก 14 จังหวัดภาคใต้
ทั้งนี้ ได้เดินสายสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกจังหวัดใน 14 จังหวัดภาคใต้ สำหรับการสัมมนาเป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อติดตามและประสานความเชื่อมโยงกับโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาฯที่ได้ดำเนินการไปแล้วในระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
นายโคทม กล่าวว่า เป็นการติดตามและเผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะทำงานการมีส่วนร่วมกระจายอำนาจ และสนับสนุนเครือข่าย พร้อมทั้งเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระดับภูมิภาค
ผลจากการดำเนินการสัมมนาจะทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนในทุกท้องที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมของสังคมประชาธิปไตย เพื่อเสริมพลังอำนาจของภาคประชาชนให้รู้สิทธิหน้าที่รู้สึก และเห็นคุณค่าในความรับผิดชอบต่อการมีส่วนร่วม
ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างสังคมประชาธิปไตย และสามารถแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองอย่างถูกต้องในการที่จะสะท้อนความต้องการของตนเองไปสู่การกำหนดนโยบายของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนได้รับประโยชน์ได้อย่างสูงสุด