ศูนย์ข่าวภูเก็ต - แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ 28 ชุมชนในภูเก็ต ผู้ว่าฯ ยกเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ในขณะที่การแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ระบุเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และข้อมูลที่แท้จริงจากพี่น้องประชาชน พร้อมขอความร่วมมือประชาชน อย่าพยายามให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อไว้ขาย แล้วไปบุกรุกที่อื่นต่อ
วันนี้ (3 ก.พ.) นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนต่างๆ 28 ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากการประชุมคณะกรรมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน 28 ชุมชน ซึ่งจัดให้มีการประชุมขึ้นที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) โดย มีนายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ประธานอนุกรรมการแก้ปัญหาที่ดินระดับชาติ ร่วมดำเนินการประชุม หัวหน้าส่วนราชการ อำเภอ ส่วนราชการในระดับอำเภอ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายสิทธิ์คนจนพัฒนาภูเก็ต จาก 28 ชุมชน ร่วมประชุม
ว่า
จริงๆ แล้วปัญหาชุมชนของจังหวัดภูเก็ตมีมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ได้แก้ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คือถ้าโดยภาพรวมภูเก็ตเป็นสังคมเมืองก็จริง แต่ว่าในความเป็นสังคมเมืองก็ต้องมีชุมชนที่ด้อยโอกาส หรือที่เราเรียกว่าชุมชนแออัด ซึ่งชุมชนเหล่านี้ก็ค่อยเพาะขึ้นไปเรื่อยๆ จาก 5 ชุมชน เป็น 10 ชุมชน จาก 10 เป็น 20 ชุมชน ปัจจุบันนี้ก็เกือบ 30 ชุมชน ตอนที่ตนเข้ามาอยู่ในจังหวัดภูเก็ตใหม่ๆ บอกมี 26 ชุมชน ถามไปถามมาบอก 28 ชุมชน และวันนี้ก็เกือบ 30 ชุมชนแล้ว แสดงว่ามันมีแต่เพิ่มไม่มีลด เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแก้ปัญหาตรงนี้
ทั้งนี้ เพราะคนบางที่มัวไปแก้ปัญหาคนรวย ปัญหาธุรกิจล่มจมอะไรต่างๆ เราลืมแก้ปัญหาคนเหล่านี้ไปหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ตนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของคนภูเก็ตทุกคน ไม่ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของใครคนใดคนหนึ่ง ตนก็ถือว่าทุกข์ของคนจนกับทุกข์ของคนรวยก็เท่าๆ กัน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาก็ต้องแก้ปัญหาทุกระดับ
อย่างทุกข์ของชุมชน 1.คือเรื่องของแนวเขต ที่จะต้องดูแลให้ชัดเจน แนวเขตแค่ไหนเป็นเขตของคนมีสตางค์ ของนายทุน แค่ไหนเป็นเขตที่ของรัฐ ของป่า ของธนารักษ์ ของประชาชน แล้วก็จะกันตรงไหนไว้เป็นป่า จะกันตรงไหนไว้เป็นที่สำหรับให้พี่น้องชุมชนแออัดพออยู่อาศัยไปได้ในรูปแบบของการให้เช่า หรือให้อยู่อาศัยโดยวิธีการอื่นใดก็แล้วแต่ อาจจะเป็นโฉนดรวม หรือว่าเป็นผังรวมของชุมชนเป็นหลัก
2.เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งการอุปโภคบริโภค คนทุกคนไม่ว่าจนหรือรวย มีเท่ากัน ใช้เหมือนกัน ก็จะต้องหาวิธีการที่จะบริการคนในชุมชนอย่างไรให้ได้ 3.เรื่องการฟื้นฟูธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ป่าชุมชนต่างๆ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดก็ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนเป็นตัวตั้ง เพราะคนที่จะรู้ปัญหาแท้จริงของชุมชนก็คือคนในชุมชน
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ตนต้องเร่งรัดทำเป็นอันดับแรกก่อนก็คือ ปัญหาเรื่องของสุขภาพ เพราะชุมชนส่วนใหญ่เป็นชุมชนแออัด ซึ่งได้มอบสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพดูแลในส่วนนี้ ในเรื่องของการเจ็บไข้ รองลงมา คือเรื่องของอาชีพ ทุกคนต้องมีอาชีพเพราะทุกคนต้องกิน ต้องใช้ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในเรื่องของการหาอาชีพให้คนในชุมชนได้มีอาชีพมีรายได้
ถัดจากเรื่องของอาชีพ คือ เรื่องของป่าชุมชน ก็จะพูดถึงแผนที่ว่าอาณาเขตแค่ไหนเป็นแนวป่า ก็จะกันเขตให้ชัดเจน แล้วก็เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งก็จะขยายผลต่อไป อีกเรื่อง คือ เรื่องที่อยู่อาศัยก็จะขยายไปเรื่อยๆ ตามความจำเป็นลดหลั่นกันไป นี่คือสิ่งที่จัดลำดับความสำคัญในการที่จะแก้ปัญหาให้กับชุมชน
อย่างไรก็ตามใน 3 ลำดับแรกที่กล่าวมาอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนลำดับสุดท้ายคือเรื่องปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาที่แก้ยากที่สุด เพราะเกี่ยวกับหลายฝ่าย เช่น ทางฝ่ายที่ดิน ทางฝ่าย ส.ป.ก.ป่าไม้ เจ้าท่า หรือของทางฝ่ายธนารักษ์ เหล่านี้เป็นต้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ และที่สำคัญก็ คือ ต้องอาศัยพี่น้องประชาชนให้ข้อมูลที่แท้จริง และอย่างที่ประธานอนุกรรมการแก้ปัญหาระดับชาติบอกว่าคืออย่าโลภ ไม่ใช่ว่าทำเพื่อรวย แต่ทำเพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ได้ที่อยู่อาศัยเพื่อเอาไปขาย
จุดนี้ต้องขอฝากพี่น้องชุมชนด้วยว่าได้ที่อยู่อาศัยแล้วอย่าเอาไปขาย คำว่าที่อยู่อาศัยก็บอกชัดเจนแล้วว่าที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ที่อยู่ขาย ถ้าขายแล้วไปบุกที่อื่นต่อ ไม่ใช่ทำนองอย่างนั้น นี้คือสิ่งที่หลายฝ่ายเป็นกังวล ส่วนใครที่คิดจะงอกเงยจากตรงนี้ไปเป็นรายได้ ก็ต้องไปหาที่อื่นไม่ใช่ที่ตรงนี้ นี่คือภาพรวมที่จะแก้ปัญหาของชุมชนที่ภูเก็ตให้เป็นระบบ ถ้าทำอย่างนี้ตนคิดว่าทุกชุมชนก็จะมีแนวที่จะเดินได้
“ปัญหาทุกปัญหาขึ้นอยู่กับเราว่าจะแก้หรือเปล่า ปัญหาไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนในชุมชน แต่มันต้องใช้เวลา” นายปรีชา กล่าวทิ้งท้าย
วันนี้ (3 ก.พ.) นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนต่างๆ 28 ชุมชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากการประชุมคณะกรรมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน 28 ชุมชน ซึ่งจัดให้มีการประชุมขึ้นที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) โดย มีนายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง ประธานอนุกรรมการแก้ปัญหาที่ดินระดับชาติ ร่วมดำเนินการประชุม หัวหน้าส่วนราชการ อำเภอ ส่วนราชการในระดับอำเภอ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายสิทธิ์คนจนพัฒนาภูเก็ต จาก 28 ชุมชน ร่วมประชุม
ว่า
จริงๆ แล้วปัญหาชุมชนของจังหวัดภูเก็ตมีมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ได้แก้ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คือถ้าโดยภาพรวมภูเก็ตเป็นสังคมเมืองก็จริง แต่ว่าในความเป็นสังคมเมืองก็ต้องมีชุมชนที่ด้อยโอกาส หรือที่เราเรียกว่าชุมชนแออัด ซึ่งชุมชนเหล่านี้ก็ค่อยเพาะขึ้นไปเรื่อยๆ จาก 5 ชุมชน เป็น 10 ชุมชน จาก 10 เป็น 20 ชุมชน ปัจจุบันนี้ก็เกือบ 30 ชุมชน ตอนที่ตนเข้ามาอยู่ในจังหวัดภูเก็ตใหม่ๆ บอกมี 26 ชุมชน ถามไปถามมาบอก 28 ชุมชน และวันนี้ก็เกือบ 30 ชุมชนแล้ว แสดงว่ามันมีแต่เพิ่มไม่มีลด เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแก้ปัญหาตรงนี้
ทั้งนี้ เพราะคนบางที่มัวไปแก้ปัญหาคนรวย ปัญหาธุรกิจล่มจมอะไรต่างๆ เราลืมแก้ปัญหาคนเหล่านี้ไปหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ตนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของคนภูเก็ตทุกคน ไม่ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของใครคนใดคนหนึ่ง ตนก็ถือว่าทุกข์ของคนจนกับทุกข์ของคนรวยก็เท่าๆ กัน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาก็ต้องแก้ปัญหาทุกระดับ
อย่างทุกข์ของชุมชน 1.คือเรื่องของแนวเขต ที่จะต้องดูแลให้ชัดเจน แนวเขตแค่ไหนเป็นเขตของคนมีสตางค์ ของนายทุน แค่ไหนเป็นเขตที่ของรัฐ ของป่า ของธนารักษ์ ของประชาชน แล้วก็จะกันตรงไหนไว้เป็นป่า จะกันตรงไหนไว้เป็นที่สำหรับให้พี่น้องชุมชนแออัดพออยู่อาศัยไปได้ในรูปแบบของการให้เช่า หรือให้อยู่อาศัยโดยวิธีการอื่นใดก็แล้วแต่ อาจจะเป็นโฉนดรวม หรือว่าเป็นผังรวมของชุมชนเป็นหลัก
2.เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งการอุปโภคบริโภค คนทุกคนไม่ว่าจนหรือรวย มีเท่ากัน ใช้เหมือนกัน ก็จะต้องหาวิธีการที่จะบริการคนในชุมชนอย่างไรให้ได้ 3.เรื่องการฟื้นฟูธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ป่าชุมชนต่างๆ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดก็ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนเป็นตัวตั้ง เพราะคนที่จะรู้ปัญหาแท้จริงของชุมชนก็คือคนในชุมชน
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ตนต้องเร่งรัดทำเป็นอันดับแรกก่อนก็คือ ปัญหาเรื่องของสุขภาพ เพราะชุมชนส่วนใหญ่เป็นชุมชนแออัด ซึ่งได้มอบสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพดูแลในส่วนนี้ ในเรื่องของการเจ็บไข้ รองลงมา คือเรื่องของอาชีพ ทุกคนต้องมีอาชีพเพราะทุกคนต้องกิน ต้องใช้ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในเรื่องของการหาอาชีพให้คนในชุมชนได้มีอาชีพมีรายได้
ถัดจากเรื่องของอาชีพ คือ เรื่องของป่าชุมชน ก็จะพูดถึงแผนที่ว่าอาณาเขตแค่ไหนเป็นแนวป่า ก็จะกันเขตให้ชัดเจน แล้วก็เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งก็จะขยายผลต่อไป อีกเรื่อง คือ เรื่องที่อยู่อาศัยก็จะขยายไปเรื่อยๆ ตามความจำเป็นลดหลั่นกันไป นี่คือสิ่งที่จัดลำดับความสำคัญในการที่จะแก้ปัญหาให้กับชุมชน
อย่างไรก็ตามใน 3 ลำดับแรกที่กล่าวมาอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนลำดับสุดท้ายคือเรื่องปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาที่แก้ยากที่สุด เพราะเกี่ยวกับหลายฝ่าย เช่น ทางฝ่ายที่ดิน ทางฝ่าย ส.ป.ก.ป่าไม้ เจ้าท่า หรือของทางฝ่ายธนารักษ์ เหล่านี้เป็นต้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ และที่สำคัญก็ คือ ต้องอาศัยพี่น้องประชาชนให้ข้อมูลที่แท้จริง และอย่างที่ประธานอนุกรรมการแก้ปัญหาระดับชาติบอกว่าคืออย่าโลภ ไม่ใช่ว่าทำเพื่อรวย แต่ทำเพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ได้ที่อยู่อาศัยเพื่อเอาไปขาย
จุดนี้ต้องขอฝากพี่น้องชุมชนด้วยว่าได้ที่อยู่อาศัยแล้วอย่าเอาไปขาย คำว่าที่อยู่อาศัยก็บอกชัดเจนแล้วว่าที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ที่อยู่ขาย ถ้าขายแล้วไปบุกที่อื่นต่อ ไม่ใช่ทำนองอย่างนั้น นี้คือสิ่งที่หลายฝ่ายเป็นกังวล ส่วนใครที่คิดจะงอกเงยจากตรงนี้ไปเป็นรายได้ ก็ต้องไปหาที่อื่นไม่ใช่ที่ตรงนี้ นี่คือภาพรวมที่จะแก้ปัญหาของชุมชนที่ภูเก็ตให้เป็นระบบ ถ้าทำอย่างนี้ตนคิดว่าทุกชุมชนก็จะมีแนวที่จะเดินได้
“ปัญหาทุกปัญหาขึ้นอยู่กับเราว่าจะแก้หรือเปล่า ปัญหาไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนในชุมชน แต่มันต้องใช้เวลา” นายปรีชา กล่าวทิ้งท้าย