กระบี่ - ประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ แนะทางออกรัฐจัดเก็บภาษีที่ดิน มรดก ออกรับความคิดเห็น แล้วค่อยบังคับใช้ในอนาคต
นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากการที่ทางรัฐบาลมีนโยบายจะออกกฎหมาย การเก็บภาษที่เดินและภาษีสิ่งปลูกสร้างใหม่นั้น แน่นอนสามารถมองได้ 2 แง่ทั้งทางดีและทางลบ ทางดีก็คือชาวบ้านหรือประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐบาลที่เก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าและก็ภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น เพื่อจะมาเป็นรายได้ และค่าใช้จ่ายของภาครัฐ เพื่อนำกลับมาช่วยเหลือประชาชนคนยากจน
แต่ถ้ามองในด้านลบ คนที่จะเดือดร้อนเพิ่มขึ้นก็คือคนจน เพราะว่าต้นทุนทั้งหมดนี้ ผู้ประกอบการก็จะบวกไปในอสังหาริมทรัพย์ คือบวกไปในที่ดิน เพราะว่าถ้าผู้ประกอบการมีการเสียภาษีที่ดินที่สูง ค่าภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่เก็บไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้น จะทำให้ผู้ประกอบการไม่คุ้มทุน เมื่อจำหน่ายจ่ายโอนก็จะเป็นต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ ก็จะบวกมาในส่วนของราคาที่ดินที่สูงขึ้น ซึ่งคนที่จะต้องรับภาระก็คือคนซื้อไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
“แต่ทั้งหมดนี้จะบอกว่าการออกกฎหมายหรือนโยบายดังกล่าวว่าดีหรือไม่ดีนั้นคงจะเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป เพราะว่าวันนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด หรือกฎเกณฑ์ การตั้งอัตราขั้นต่ำว่ามีที่ดินเท่าไรที่ไม่ต้องเสีย และเสียภาษีในอัตราเท่าใด”
ประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า สำหรับภาคเอกชนมองว่า การออกระเบียบออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินภาษีอสังหาริมทรัพย์ หรือภาษีมรดกนั้น ถ้าออกประกาศแล้วมีผลบังคับใช้ ก็จะมีผู้ที่ต่อต้าน หรือผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะมีเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน ทั้งคนในรัฐบาลเอง หรือผู้ที่อยู่ในส่วนของผู้ประกอบการ ที่มีการซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรหรือมีที่ดินหรือทรัพย์สินที่เป็นมรดกเยอะก็คงจะค้านการประกาศใช้
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการออกกฎหมาย ควรจะให้มีผลบังคับใช้ใน 5-7 ปีข้างหน้า น่าจะเหมาะสม เพราะว่าบุคคลที่มีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อยู่ในมือ ก็มีเวลาที่จะปรับปรุง เพื่อไปใช้ประโยชน์ในส่วนของทรัพย์สินนั้น สุดท้ายเมื่อถึงเวลาบังคับใช้ทุกคนก็จะยอมรับ และที่สำคัญรัฐบาลก็ควรที่รับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนด้วย รวมทั้งเสียงของประชาชนด้วย อย่าใช้ความคิดเห็นจากฝ่ายรัฐบาลเพียงอย่างเดี่ยว ซึ่งถ้ามองในภาพรวมก็จะเป็นผลดีกับประเทศในระยะยาว แต่อยากจะให้รัฐบาลมีการกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
นายวัฒนา กล่าวว่าอีกว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีมรดกก็เป็นเรื่องที่ดีและไม่ดี เมื่อโอนไปให้ลูกหลานก็จะเสียภาษีมาก ซึ่งต้องไม่ลืมว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมากเขาทำงานมาเหมือนกัน และมีอัตราเสี่ยง พอมีกำไรก็คือทรัพย์สิน ซึ่งจะตกทอดเป็นมรดกของลูกหลาน ถ้ามองในด้านของผู้ประกอบการก็จะไม่มีความเป็นธรรม เมื่อออกเป็นกฎหมายภาษีมรดก ก็จะทำให้ให้คนไม่อยากสะสมเงินไม่อยากทำงาน เพื่อจะให้ได้มาซึ่งเงินและทรัพย์สินที่มากขึ้น ก็จะให้การพัฒนาประเทศมีความชะลอตัวหรือล่าช้าในระดับหนึ่งเพราะว่าวันนี้อย่าลืมว่าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถที่จะลงทุนได้ เมื่อลงทุนมากก็มีรายได้มาก เมื่อมีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมาก เมื่อกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้จะทำให้ผู้ประกอบการลงทุนน้อยลง เพราะมองว่าทำไปก็เสียภาษีเยอะ
เช่นเดียวกัน ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาก็อยากให้บังคับใช้ในอนาคต เช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องดูในรายละเอียด เช่น คนที่มีทรัพย์สินมรดก มูลค่า 10-20 ล้านแรกไม่ต้องเสียภาษี เพราะอย่าลืมว่าประชาชนบางคนมีทรัพย์สินเป็นมรดกเมื่อประเมินเป็นมูลค่าแล้วสูงมาก อย่างเช่นที่ดินแถวชายทะเลของจังหวัดกระบี่ บางคนมีเพียง 4-5 ไร่ เมื่อประเมินราคาแล้วไม่ต่ำ40-50 ล้านบาท แต่ไม่มีเงินสดอยู่ในมือ เมื่อต้องการโอนทรัพย์สินให้ลูกหลานที่เป็นที่ดินมีมูลค่าสูงราคาต่อไร่นับ 10 ล้าน จะต้องทำอย่างไร เพราะเชื่อว่าการเสียภาษีจะต้องสูงตามไปด้วย จึงอยากให้รัฐบาลช่วยกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจากที่คิดว่าเป็นผลดีก็จะเป็นผลเสียและซ้ำเติมคนยากจนเพิ่มขึ้
นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากการที่ทางรัฐบาลมีนโยบายจะออกกฎหมาย การเก็บภาษที่เดินและภาษีสิ่งปลูกสร้างใหม่นั้น แน่นอนสามารถมองได้ 2 แง่ทั้งทางดีและทางลบ ทางดีก็คือชาวบ้านหรือประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐบาลที่เก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าและก็ภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น เพื่อจะมาเป็นรายได้ และค่าใช้จ่ายของภาครัฐ เพื่อนำกลับมาช่วยเหลือประชาชนคนยากจน
แต่ถ้ามองในด้านลบ คนที่จะเดือดร้อนเพิ่มขึ้นก็คือคนจน เพราะว่าต้นทุนทั้งหมดนี้ ผู้ประกอบการก็จะบวกไปในอสังหาริมทรัพย์ คือบวกไปในที่ดิน เพราะว่าถ้าผู้ประกอบการมีการเสียภาษีที่ดินที่สูง ค่าภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่เก็บไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้น จะทำให้ผู้ประกอบการไม่คุ้มทุน เมื่อจำหน่ายจ่ายโอนก็จะเป็นต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ ก็จะบวกมาในส่วนของราคาที่ดินที่สูงขึ้น ซึ่งคนที่จะต้องรับภาระก็คือคนซื้อไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
“แต่ทั้งหมดนี้จะบอกว่าการออกกฎหมายหรือนโยบายดังกล่าวว่าดีหรือไม่ดีนั้นคงจะเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป เพราะว่าวันนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด หรือกฎเกณฑ์ การตั้งอัตราขั้นต่ำว่ามีที่ดินเท่าไรที่ไม่ต้องเสีย และเสียภาษีในอัตราเท่าใด”
ประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า สำหรับภาคเอกชนมองว่า การออกระเบียบออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินภาษีอสังหาริมทรัพย์ หรือภาษีมรดกนั้น ถ้าออกประกาศแล้วมีผลบังคับใช้ ก็จะมีผู้ที่ต่อต้าน หรือผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะมีเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน ทั้งคนในรัฐบาลเอง หรือผู้ที่อยู่ในส่วนของผู้ประกอบการ ที่มีการซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรหรือมีที่ดินหรือทรัพย์สินที่เป็นมรดกเยอะก็คงจะค้านการประกาศใช้
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการออกกฎหมาย ควรจะให้มีผลบังคับใช้ใน 5-7 ปีข้างหน้า น่าจะเหมาะสม เพราะว่าบุคคลที่มีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อยู่ในมือ ก็มีเวลาที่จะปรับปรุง เพื่อไปใช้ประโยชน์ในส่วนของทรัพย์สินนั้น สุดท้ายเมื่อถึงเวลาบังคับใช้ทุกคนก็จะยอมรับ และที่สำคัญรัฐบาลก็ควรที่รับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนด้วย รวมทั้งเสียงของประชาชนด้วย อย่าใช้ความคิดเห็นจากฝ่ายรัฐบาลเพียงอย่างเดี่ยว ซึ่งถ้ามองในภาพรวมก็จะเป็นผลดีกับประเทศในระยะยาว แต่อยากจะให้รัฐบาลมีการกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
นายวัฒนา กล่าวว่าอีกว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีมรดกก็เป็นเรื่องที่ดีและไม่ดี เมื่อโอนไปให้ลูกหลานก็จะเสียภาษีมาก ซึ่งต้องไม่ลืมว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมากเขาทำงานมาเหมือนกัน และมีอัตราเสี่ยง พอมีกำไรก็คือทรัพย์สิน ซึ่งจะตกทอดเป็นมรดกของลูกหลาน ถ้ามองในด้านของผู้ประกอบการก็จะไม่มีความเป็นธรรม เมื่อออกเป็นกฎหมายภาษีมรดก ก็จะทำให้ให้คนไม่อยากสะสมเงินไม่อยากทำงาน เพื่อจะให้ได้มาซึ่งเงินและทรัพย์สินที่มากขึ้น ก็จะให้การพัฒนาประเทศมีความชะลอตัวหรือล่าช้าในระดับหนึ่งเพราะว่าวันนี้อย่าลืมว่าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถที่จะลงทุนได้ เมื่อลงทุนมากก็มีรายได้มาก เมื่อมีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมาก เมื่อกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้จะทำให้ผู้ประกอบการลงทุนน้อยลง เพราะมองว่าทำไปก็เสียภาษีเยอะ
เช่นเดียวกัน ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาก็อยากให้บังคับใช้ในอนาคต เช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องดูในรายละเอียด เช่น คนที่มีทรัพย์สินมรดก มูลค่า 10-20 ล้านแรกไม่ต้องเสียภาษี เพราะอย่าลืมว่าประชาชนบางคนมีทรัพย์สินเป็นมรดกเมื่อประเมินเป็นมูลค่าแล้วสูงมาก อย่างเช่นที่ดินแถวชายทะเลของจังหวัดกระบี่ บางคนมีเพียง 4-5 ไร่ เมื่อประเมินราคาแล้วไม่ต่ำ40-50 ล้านบาท แต่ไม่มีเงินสดอยู่ในมือ เมื่อต้องการโอนทรัพย์สินให้ลูกหลานที่เป็นที่ดินมีมูลค่าสูงราคาต่อไร่นับ 10 ล้าน จะต้องทำอย่างไร เพราะเชื่อว่าการเสียภาษีจะต้องสูงตามไปด้วย จึงอยากให้รัฐบาลช่วยกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจากที่คิดว่าเป็นผลดีก็จะเป็นผลเสียและซ้ำเติมคนยากจนเพิ่มขึ้