xs
xsm
sm
md
lg

นร.สตูลร่วมสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตยากันยุง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สตูล - นักเรียนสตูล ร่วมสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการนำเปลือกไม้บงพร้อมดอกปาล์มเกสรผู้ทำยากันยุง ได้ผลชะงักไปพร้อมป้องกันภาวะโลกร้อน


วันที่ (26 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้นำเปลือกไม้บง และ ดอกปาล์มเกสรผู้ นำมาเผาไฟเพื่อไล่แมลง และยุงที่มากวนใจในยามค่ำคืนที่มีมานานแล้ว และภูมิปัญญาของชาวบ้านเหล่านี้กำลังจะถูกลืมเลือน

นางสาวดาฮารัตน์ ยาบา อายุ 17 ปี นักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยา เจ้าของโครงงานวิจัยยากันยุงจากสมุนไพรพื้นเมือง บอกว่า ที่มาของยากันยุงสมุนไพรนี้ มาจากผู้เฒ่าผู้แก่เคยบอกว่า เปลือกไม้บง และดอกปาล์มเกสรผู้สามารถนำมากำจัดยุงได้ ดังนั้น ตนและเพื่อนๆ จึงได้จัดตั้งกลุ่มกันทำยากันยุงจากวัสดุธรรมชาติ และคิดว่า การทำยากันยุงจากสมุนไพรคงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเท่าไหร่

จึงทำให้เพื่อนๆ เห็นความสำคัญเหล่านั้น และนำเอาดอกปาล์มเกสรผู้ มาบดให้ละเอียด และนำเอาเปลือกไม้บงมาบดให้ละเอียด ก่อนมาผสมกันให้เข้ากัน จากนั้นผสมน้ำเปล่าในปริมาณที่พอเหมาะให้เข้ากัน โดยใช้มือกวนให้เนื้อมีสภาพที่ไม่แข็งมากนัก จากนั้นนำไปอัดลงบล็อกที่คล้ายขดยากันยุง ตากแดดอ่อนประมาณ 12 ชั่วโมง ก็จะได้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง

สำหรับผลิตภัณฑ์ยากันยุงจากสมุนไพรนี้ มีคุณประโยชน์อย่างมากนอกจากจะใช้ไล่ยุงแล้ว ควันจากยากันยุงก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย อีกทั้งช่วยลดภาวะโลกร้อน เพราะไม่ต้องผสมสารเคมีที่เป็นอันตรายลงไปเหมือนยากันยุงที่จำหน่ายในท้องตลาด ทำง่าย และเป็นการสืบสารภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีแต่โบราณ ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยจำเป็น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างงานสร้างรายได้ เพราะเริ่มมีชาวบ้านที่ทราบข่าวมาขอซื้อไปใช้บ้างแล้วโดยจำหน่ายขดละ 10 บาท



กำลังโหลดความคิดเห็น