นครศรีธรรมราช - อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เผยทำโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มีเป้าหมายเพื่อต้องการรองรับและสนองตอบต่อนโยบายของประเทศ ที่จะให้มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ให้บริการแบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงบูรณาการ กับหน่วยงานและองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ โดยมีการนำผลงานวิจัย ผลงานทางด้านวิชาการ ที่มีศักยภาพไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ที่ จ.นครศรีธรรมราช รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผศ.ดร.นิยม กำลังดี รักษาการแทนผู้อำนวยการ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้บริหารว่า โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 มีเป้าหมายเพื่อต้องการรองรับและสนองตอบต่อนโยบายของประเทศ ที่จะให้มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ขึ้น เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ให้บริการ แบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงบูรณาการกับหน่วยงาน และองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ โดยมีการนำผลงานวิจัย ผลงานทางด้านวิชาการที่มีศักยภาพไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนหนึ่งที่สำคัญนับเป็นการมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ โดยการผสานทรัพยากรพื้นฐานของมหาวิทยาลัย องค์ความรู้ภายในต่างๆ ตลอดจนประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่เป็นปัจจัยเอื้ออำนวย ต่อการประกอบกิจการและพัฒนาธุรกิจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้มารับบริการ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจได้อย่างนั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยการปรับปรุงรูปแบบองค์กร วิธีการบริหารงาน ความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องตลอดไป
สำหรับโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะเปิดเป็นศูนย์ให้บริการ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1.หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะเป็นแหล่งฟูกฟักผู้ประกอบการขนาดย่อม (SME) 2.หน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม การจัดการตลาดแก่ผู้ประกอบการ 3.โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย เพื่อให้คำปรึกษาด้านอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรแก่ผู้ประกอบการ
4.หน่วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จะให้บริการความรู้การดำเนินการเพื่อคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เอง ซึ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การประกอบการบนพื้นฐานความรู้ จะเป็นความมั่นคงบนรากฐานของความเป็นจริงได้อย่างดียิ่ง
ที่ จ.นครศรีธรรมราช รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผศ.ดร.นิยม กำลังดี รักษาการแทนผู้อำนวยการ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้บริหารว่า โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 มีเป้าหมายเพื่อต้องการรองรับและสนองตอบต่อนโยบายของประเทศ ที่จะให้มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ขึ้น เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ให้บริการ แบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงบูรณาการกับหน่วยงาน และองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ โดยมีการนำผลงานวิจัย ผลงานทางด้านวิชาการที่มีศักยภาพไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนหนึ่งที่สำคัญนับเป็นการมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ โดยการผสานทรัพยากรพื้นฐานของมหาวิทยาลัย องค์ความรู้ภายในต่างๆ ตลอดจนประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่เป็นปัจจัยเอื้ออำนวย ต่อการประกอบกิจการและพัฒนาธุรกิจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้มารับบริการ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจได้อย่างนั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยการปรับปรุงรูปแบบองค์กร วิธีการบริหารงาน ความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องตลอดไป
สำหรับโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะเปิดเป็นศูนย์ให้บริการ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1.หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะเป็นแหล่งฟูกฟักผู้ประกอบการขนาดย่อม (SME) 2.หน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม การจัดการตลาดแก่ผู้ประกอบการ 3.โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย เพื่อให้คำปรึกษาด้านอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรแก่ผู้ประกอบการ
4.หน่วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จะให้บริการความรู้การดำเนินการเพื่อคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เอง ซึ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การประกอบการบนพื้นฐานความรู้ จะเป็นความมั่นคงบนรากฐานของความเป็นจริงได้อย่างดียิ่ง