กระบี่ - เตรียมส่งมอบอีแร้งยักษ์ให้สถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า จังหวัดพัทลุง ระบุ เป็นอีแร้งหิมาลัย พลัดหลงฝูงมาจากประเทศทิเบต ไม่เคยพบประเทศไทยมาก่อน
เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (8 ม.ค.) นายสมชาย จิตหลัง หัวหน้าหน่วยประสานงานป้องกันและปราบปรามทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้นำอีแร้งยักษ์ที่ชาวบ้านพบในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.คลองเขม้า อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ มาไว้ที่หน่วยป้องกันและปราบปรามทรัพยากรป่าไม้ ต.ทับปริก อ.เมือง จ.กระบี่ และนำอาหารเนื้อสัตว์มาให้อีแร้งกินเป็นอาหาร ระหว่างรอส่งมอบให้ สถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า จ.พัทลุง นำไปดูแลรักษา โดยมีชาวบ้านที่ทราบข่าวเดินทางมามุงดูกันเป็นจำนวนมาก
นายสนอง ศรีนันทพันธุ์ ปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากการส่งเจ้านกแร้งที่ตรวจสอบพบว่า อีแร้งดังกล่าว เป็นอีแร้งหิมาลัย ลักษณะขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในแถบประเทศเนปาล และ ทิเบต คาดว่า อีแร้งตัวนี้ อพยพหนีหนาวมาจากประเทศดังกล่าว แต่ระหว่างทางอาจพลัดหลงจากฝูง และหมดเรี่ยวแรงพลัดตกลงมา ซึ่งในขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจดูอาการพร้อมทั้งให้น้ำเกลือเพื่อให้มีเรี่ยวแรง
นอกจากนั้น ก็ยังได้นำตัวอย่างอุจจาระ เพื่อไปตรวจสอบเชื้อไข้หวัดนก โดยจะส่งไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะทราบผล
เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (8 ม.ค.) นายสมชาย จิตหลัง หัวหน้าหน่วยประสานงานป้องกันและปราบปรามทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้นำอีแร้งยักษ์ที่ชาวบ้านพบในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.คลองเขม้า อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ มาไว้ที่หน่วยป้องกันและปราบปรามทรัพยากรป่าไม้ ต.ทับปริก อ.เมือง จ.กระบี่ และนำอาหารเนื้อสัตว์มาให้อีแร้งกินเป็นอาหาร ระหว่างรอส่งมอบให้ สถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า จ.พัทลุง นำไปดูแลรักษา โดยมีชาวบ้านที่ทราบข่าวเดินทางมามุงดูกันเป็นจำนวนมาก
นายสนอง ศรีนันทพันธุ์ ปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากการส่งเจ้านกแร้งที่ตรวจสอบพบว่า อีแร้งดังกล่าว เป็นอีแร้งหิมาลัย ลักษณะขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในแถบประเทศเนปาล และ ทิเบต คาดว่า อีแร้งตัวนี้ อพยพหนีหนาวมาจากประเทศดังกล่าว แต่ระหว่างทางอาจพลัดหลงจากฝูง และหมดเรี่ยวแรงพลัดตกลงมา ซึ่งในขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจดูอาการพร้อมทั้งให้น้ำเกลือเพื่อให้มีเรี่ยวแรง
นอกจากนั้น ก็ยังได้นำตัวอย่างอุจจาระ เพื่อไปตรวจสอบเชื้อไข้หวัดนก โดยจะส่งไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะทราบผล