กระบี่ - พ่อค้าตลาดสดกระบี่ผวาแบงก์พันปลอม หลังมีข่าวแบงก์ปลอมระบาด จนต้องปิดป้ายว่าไม่รับธนบัตรใบละ 1,000 บาท
จากข่าวการระบาดของแบงก์พันปลอมที่พบในหลายพื้นที่ ส่งผลทำให้พ่อค้าแม้ค่าในตลาดสดมหาราช เทศบาลเมืองกระบี่ ต่างพากันหวาดผวาต้องมีการปิดป้ายข้อความหน้าร้านว่าไม่รับใบ1,000 หรือธนบัตรใบละ 1,000 บาทเพื่อป้องกันความผิดพลาด ขณะที่บางรายยอมเสียเวลาไปให้ร้านเซเว่นตรวจสอบแลกกับการซื้อของ จึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งสืบหาแหล่งที่มาและทำลายโดยเร็ว
นายเอกรินทร์ ติเสส อายุ 33 ปี เจ้าข้องร้านขายของชำในตลาดสดมหาราชเทศบาลเมืองกระบี่ กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องติดป้ายไม่รับแบงก์พันที่หน้าร้านเนื่องจากว่า มีเพื่อนเอาแบงก์พันปลอมมาให้ดูและเปรียบเทียบกับของจริง ปรากฏว่าแยกไม่ออก เมื่อแยกไม่ออกก็ทำให้เราเสี่ยงมากขึ้น เลยตัดปัญหาไม่รับดีกว่า เพราะเกรงว่าจะขาดทุน เพราะถ้าลูกค้าซื้อของมา 10 บาทแล้วให้แบงก์พันปลอมโดยที่เราไม่รู้ เราก็ต้องเอาเงินทอนของจริงให้เขาไป 990 บาทเท่ากับว่าเราขาดทุน จึงเลือกที่จะไม่รับดีกว่า
นายเอกรินทร์ กล่าวอีกว่า ถ้าเป็นแบงก์พันแบบเก่าก็จะรับเพราะผ่านการใช้งานมาหลายครั้ง สามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาลเร่งตรวจสอบให้ได้ว่าแบงก์ปลอมมีที่มาอย่างไร หรือถ้าทางธนาคารพบแล้วก็ให้เก็บเอาไว้ หรือทำลายเสียเพื่อจะไม่ให้กลับเข้ามาสู่ตลาดอีก
ขณะที่นางสาวิตรี รัฐเทวี อายุ53 ปี แม้ค้าที่ขายของในตลาดสดมากว่า 20 ปี กล่าว่า เพื่อป้องกันความผิดพลาด เมื่อเกิดสงสัยว่าเป็นแบงก์ปลอมก็จะนำไปให้พนักงานที่ร้านเซเว่นช่วยตรวจสอบ โดยการซื้อของ เช่น ลูกอม เป็นการตอบแทน ยอมเสียเวลาดีกว่าเสียเงิน
จากข่าวการระบาดของแบงก์พันปลอมที่พบในหลายพื้นที่ ส่งผลทำให้พ่อค้าแม้ค่าในตลาดสดมหาราช เทศบาลเมืองกระบี่ ต่างพากันหวาดผวาต้องมีการปิดป้ายข้อความหน้าร้านว่าไม่รับใบ1,000 หรือธนบัตรใบละ 1,000 บาทเพื่อป้องกันความผิดพลาด ขณะที่บางรายยอมเสียเวลาไปให้ร้านเซเว่นตรวจสอบแลกกับการซื้อของ จึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งสืบหาแหล่งที่มาและทำลายโดยเร็ว
นายเอกรินทร์ ติเสส อายุ 33 ปี เจ้าข้องร้านขายของชำในตลาดสดมหาราชเทศบาลเมืองกระบี่ กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องติดป้ายไม่รับแบงก์พันที่หน้าร้านเนื่องจากว่า มีเพื่อนเอาแบงก์พันปลอมมาให้ดูและเปรียบเทียบกับของจริง ปรากฏว่าแยกไม่ออก เมื่อแยกไม่ออกก็ทำให้เราเสี่ยงมากขึ้น เลยตัดปัญหาไม่รับดีกว่า เพราะเกรงว่าจะขาดทุน เพราะถ้าลูกค้าซื้อของมา 10 บาทแล้วให้แบงก์พันปลอมโดยที่เราไม่รู้ เราก็ต้องเอาเงินทอนของจริงให้เขาไป 990 บาทเท่ากับว่าเราขาดทุน จึงเลือกที่จะไม่รับดีกว่า
นายเอกรินทร์ กล่าวอีกว่า ถ้าเป็นแบงก์พันแบบเก่าก็จะรับเพราะผ่านการใช้งานมาหลายครั้ง สามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาลเร่งตรวจสอบให้ได้ว่าแบงก์ปลอมมีที่มาอย่างไร หรือถ้าทางธนาคารพบแล้วก็ให้เก็บเอาไว้ หรือทำลายเสียเพื่อจะไม่ให้กลับเข้ามาสู่ตลาดอีก
ขณะที่นางสาวิตรี รัฐเทวี อายุ53 ปี แม้ค้าที่ขายของในตลาดสดมากว่า 20 ปี กล่าว่า เพื่อป้องกันความผิดพลาด เมื่อเกิดสงสัยว่าเป็นแบงก์ปลอมก็จะนำไปให้พนักงานที่ร้านเซเว่นช่วยตรวจสอบ โดยการซื้อของ เช่น ลูกอม เป็นการตอบแทน ยอมเสียเวลาดีกว่าเสียเงิน