ตรัง - สวนดุสิตร่วมปลูกหญ้าทะเลอ่าวหยงสตาร์ จังหวัดตรัง กว่า 30,000 ต้น เพิ่มปริมาณหญ้าทะเลให้พื้นที่
นายสฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง กล่าววว่า ชาวบ้านชุมชนหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง และสโมสรโรตารี่ 3 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดตรัง พัทลุง และ ยะลา รวมกว่า 250 คน ได้ร่วมกันปลูกหญ้าทะเลบริเวณอ่าวหยงสตาร์ เป็นจำนวน 30,000 ต้น เพื่อสร้างความสมดุลคืนสู่ธรรมชาติใต้ท้องทะเลตรัง หลังจากเมื่อปลายปี 2547 เกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ จนส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเลตรังอย่างมาก
ดังนั้น ชาวบ้านชุมชนหยงสตาร์ จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง และสโมสรโรตารี่ ในการส่งเสริมและปลูกหญ้าทะเลคืนสู่ท้องทะเลตรังมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เนื่องจากหญ้าทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดปริมาณสัตว์น้ำทุกชนิดในท้องทะเล แต่หากเมื่อใดหญ้าทะเลถูกทำลายลง ก็จะส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำลดน้อยลง ทั้งนี้ เมื่อมีการปลูกหญ้าทะเลขึ้นมาทดแทน ปรากฏว่า ได้ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งยังช่วยลดระดับความรุนแรงของสตอมเสิร์ชได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หญ้าทะเลที่ปลูกและใช้ประโยชน์ได้แล้ว ในช่วงตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปี 2548-2550 มีระยะทางยาวกว่า 20 กิโลเมตร เนื่องจากหญ้าทะเลนั้น ถือเป็นแหล่งอาหารของพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลตรังมากที่สุดของประเทศไทย โดยขณะนี้พบพะยูนในจังหวัดตรัง เป็นกว่า 115 ตัว ดังนั้น โครงการปลูกหญ้าทะเลดังกล่าว จึงเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและอนุรักษ์ เพื่อให้พะยูนอยู่คู่กับท้องทะเลตรังสืบต่อไป
นายสฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง กล่าววว่า ชาวบ้านชุมชนหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง และสโมสรโรตารี่ 3 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดตรัง พัทลุง และ ยะลา รวมกว่า 250 คน ได้ร่วมกันปลูกหญ้าทะเลบริเวณอ่าวหยงสตาร์ เป็นจำนวน 30,000 ต้น เพื่อสร้างความสมดุลคืนสู่ธรรมชาติใต้ท้องทะเลตรัง หลังจากเมื่อปลายปี 2547 เกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ จนส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเลตรังอย่างมาก
ดังนั้น ชาวบ้านชุมชนหยงสตาร์ จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง และสโมสรโรตารี่ ในการส่งเสริมและปลูกหญ้าทะเลคืนสู่ท้องทะเลตรังมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เนื่องจากหญ้าทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดปริมาณสัตว์น้ำทุกชนิดในท้องทะเล แต่หากเมื่อใดหญ้าทะเลถูกทำลายลง ก็จะส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำลดน้อยลง ทั้งนี้ เมื่อมีการปลูกหญ้าทะเลขึ้นมาทดแทน ปรากฏว่า ได้ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งยังช่วยลดระดับความรุนแรงของสตอมเสิร์ชได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หญ้าทะเลที่ปลูกและใช้ประโยชน์ได้แล้ว ในช่วงตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปี 2548-2550 มีระยะทางยาวกว่า 20 กิโลเมตร เนื่องจากหญ้าทะเลนั้น ถือเป็นแหล่งอาหารของพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลตรังมากที่สุดของประเทศไทย โดยขณะนี้พบพะยูนในจังหวัดตรัง เป็นกว่า 115 ตัว ดังนั้น โครงการปลูกหญ้าทะเลดังกล่าว จึงเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและอนุรักษ์ เพื่อให้พะยูนอยู่คู่กับท้องทะเลตรังสืบต่อไป