ชุมพร - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร เร่งควบคุมโรคไข้เลือดออกหวั่นระบาดหนัก โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก
พญ.กำภู ณ อยุธยา สาธารณสุขจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.ชุมพร มีสถิติสะสมทั้งปีจำนวน 737 ราย โดยส่วนมากอยู่ที่ อ.เมือง 303 ราย รองลงมา อ.ท่าแซะ 218 ราย ขณะที่ปัจจุบันยังพบเชื้อผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มเติมแต่มีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะปัจจัยการเกิดโรคอยู่ที่คนกับยุง คือ เชื้อจะอยู่กับคน 7-10 วัน แต่จะอยู่ที่ยุงนานถึง 30-45 วัน ดังนั้นจึงได้เร่งหาทางแก้ไขโดยใช้กลยุทธ์ในการป้องกัน คือ เมื่อมีการพบผู้ป่วยหรือพบเชื้อที่ใดก็ตามก็ต้องแยกคนกับยุงออกจากกันก่อน โดยคนที่ป่วยก็เอาเข้าสู่กระบวนการรักษาตามขั้นตอน และควบคุมพื้นที่อย่าให้มีผู้ป่วยเพิ่มเติม ส่วนยุงในพื้นที่ที่พบเชื้อจะต้องเร่งทำลาย ควบคู่กับการตัดวงจรชีวิตของยุงด้วยการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
พญ.กำภู กล่าวต่อว่า ต้องเร่งคุมสถานการณ์ให้ได้เพราะว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในปี 2553 สูงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอุณภูมิโลกที่ร้อนสูงขึ้น ทำให้เหมาะสมกับการแพร่ขยายพันธุ์ของยุงลาย และหากคุมสถานการณ์ตอนนี้ไม่ได้ สถานการณ์ในปีหน้าจะบานปลาย ตัวเลขผู้ป่วยก็จะพุ่งสูง จนอาจทำให้ผู้คนเกิดการล้มป่วยและเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม สภาพโดยทั่วไปของ จ.ชุมพร ก็ยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้โดยง่าย ทั้งเรื่องของสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดเกือบทั้งปี ทำให้มีน้ำท่วมขังตามที่ต่างๆ
นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวจำนวนมากด้วย และอยู่กันเป็นแบบครอบครัว เช่น ปากน้ำชุมพร และปากน้ำหลังสวน ก็มักจะพบเชื้อจำนวนมาก เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ขาดความเอาใจใส่ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งจากสองปัจจัยดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดของโรค
พญ.กำภู ณ อยุธยา สาธารณสุขจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.ชุมพร มีสถิติสะสมทั้งปีจำนวน 737 ราย โดยส่วนมากอยู่ที่ อ.เมือง 303 ราย รองลงมา อ.ท่าแซะ 218 ราย ขณะที่ปัจจุบันยังพบเชื้อผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มเติมแต่มีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะปัจจัยการเกิดโรคอยู่ที่คนกับยุง คือ เชื้อจะอยู่กับคน 7-10 วัน แต่จะอยู่ที่ยุงนานถึง 30-45 วัน ดังนั้นจึงได้เร่งหาทางแก้ไขโดยใช้กลยุทธ์ในการป้องกัน คือ เมื่อมีการพบผู้ป่วยหรือพบเชื้อที่ใดก็ตามก็ต้องแยกคนกับยุงออกจากกันก่อน โดยคนที่ป่วยก็เอาเข้าสู่กระบวนการรักษาตามขั้นตอน และควบคุมพื้นที่อย่าให้มีผู้ป่วยเพิ่มเติม ส่วนยุงในพื้นที่ที่พบเชื้อจะต้องเร่งทำลาย ควบคู่กับการตัดวงจรชีวิตของยุงด้วยการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
พญ.กำภู กล่าวต่อว่า ต้องเร่งคุมสถานการณ์ให้ได้เพราะว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในปี 2553 สูงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอุณภูมิโลกที่ร้อนสูงขึ้น ทำให้เหมาะสมกับการแพร่ขยายพันธุ์ของยุงลาย และหากคุมสถานการณ์ตอนนี้ไม่ได้ สถานการณ์ในปีหน้าจะบานปลาย ตัวเลขผู้ป่วยก็จะพุ่งสูง จนอาจทำให้ผู้คนเกิดการล้มป่วยและเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม สภาพโดยทั่วไปของ จ.ชุมพร ก็ยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้โดยง่าย ทั้งเรื่องของสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดเกือบทั้งปี ทำให้มีน้ำท่วมขังตามที่ต่างๆ
นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวจำนวนมากด้วย และอยู่กันเป็นแบบครอบครัว เช่น ปากน้ำชุมพร และปากน้ำหลังสวน ก็มักจะพบเชื้อจำนวนมาก เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ขาดความเอาใจใส่ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งจากสองปัจจัยดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดของโรค