นราธิวาส - สสจ.นราธิวาส เผยพบผู้ป่วยโรค “ชิคุนกุนยา” เพิ่มอีกใน 4 อำเภอ รวมผู้ป่วยแล้วกว่า 200 ราย ย้ำ อสม.ทุกพื้นที่พ่นหมอกควันทำลายลูกน้ำยุงลายทุกๆ 7 วัน
นายศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคชิคุนกุนยาที่พบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้พบการระบาดของโรคชินคุนกุนยาเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีการขยายวงกว้างไปอีก 4 อำเภอ คือ อ.สุไหงโก-ลก พบผู้ป่วยอีก 2 ราย อำเภอระแงะพบผู้ป่วย 2 ราย อำเภอบาเจาะพบผู้ป่วย 1 ราย และอำเภอรือเสาะมีผู้ป่วย 1 ราย
ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ 3 อำเภอแรกที่พบผู้ป่วยโรคนี้ก็มียอดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันคือ อำเภอยี่งอ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 101 ราย อำเภอแว้ง พบผู้ป่วยอีก 83 ราย และ อำเภอเจาะไอร้องพบผู้ป่วยอีก 14 ราย โดยขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสนั้นมีผู้ป่วยโรคชินคุนกุนยารวมทั้งหมด 204 ราย ซึ่งยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการป้องกันและการทำลายพาหะของโรคด้วยว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ทุกอำเภอต่างลงพื้นที่เพื่อพ่นหมอกควันทำลายลูกน้ำทั้งในหมู่บ้านและภายในสวนทุกๆ 7 วัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ อีกทั้งมีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ อสม.เฝ้าระวังการระบาดของโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
นายศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคชิคุนกุนยาที่พบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้พบการระบาดของโรคชินคุนกุนยาเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีการขยายวงกว้างไปอีก 4 อำเภอ คือ อ.สุไหงโก-ลก พบผู้ป่วยอีก 2 ราย อำเภอระแงะพบผู้ป่วย 2 ราย อำเภอบาเจาะพบผู้ป่วย 1 ราย และอำเภอรือเสาะมีผู้ป่วย 1 ราย
ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ 3 อำเภอแรกที่พบผู้ป่วยโรคนี้ก็มียอดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันคือ อำเภอยี่งอ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 101 ราย อำเภอแว้ง พบผู้ป่วยอีก 83 ราย และ อำเภอเจาะไอร้องพบผู้ป่วยอีก 14 ราย โดยขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสนั้นมีผู้ป่วยโรคชินคุนกุนยารวมทั้งหมด 204 ราย ซึ่งยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการป้องกันและการทำลายพาหะของโรคด้วยว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ทุกอำเภอต่างลงพื้นที่เพื่อพ่นหมอกควันทำลายลูกน้ำทั้งในหมู่บ้านและภายในสวนทุกๆ 7 วัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ อีกทั้งมีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ อสม.เฝ้าระวังการระบาดของโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด