กระบี่ - ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งกระบี่ ร้องรัฐหาตลาดใหม่ ตะวันออกกลาง และรัสเซีย แทนตลาดหลักอเมริกา หลังราคากุ้งตกต่ำ ทำเกษตรกรขาดทุน
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ ว่า การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรยังคงเลี้ยงกันตามปกติ โดยมีพื้นที่เลี้ยงประมาณ 1 หมื่นไร่ กระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง ทั้งอำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอคลองท่อม อำเภอเกาะลันตา และอำเภอเหนือคลอง มีผลผลิต/ปี ประมาณ 2.5 หมื่นตัน
กุ้งที่นิยมเลี้ยงกันมากก็ยังคงเป็นกุ้งขาว เนื่องจากจากโตเร็ว และมีความทนทานต่อโรค ส่วนกุ้งกุลาดำนั้นจากที่เคยนิยมเลี้ยง ปัจจุบันเกษตรกรก็เลิกเลี้ยงแล้ว เนื่องจากเลี้ยงยาก โรคมาก และโตช้า โอกาสที่จะประสบกับภาวะขาดทุนมีสูง ถึงแม้ว่าราคาโดยเฉลี่ยจะดีกว่ากุ้งขาวก็ตาม
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งสูงมาก ทั้งอาหารและน้ำมัน ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับราคากุ้งที่ได้ปรับลดลง โดยเฉลี่ยกุ้งขาว ซื้อขายกันอยู่ในตลาดรับซื้อ 50 ตัว ราคา 130 บาท 60 ตัว ราคา 118 บาท 70 ตัว ราคา 112 บาท ในขณะที่ราคาอาหารกุ้งตกกระสอบละประมาณ 1,000 บาท ซึ่งจากราคาดังกล่าวข้างต้นหากว่าเกษตรกรไม่มีการปรับตัว หรือวิธีการเลี้ยงต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างแน่นอน หากว่าจะให้เกษตรกรเลี้ยงอยู่ต่อไปได้ ราคาควรจะอยู่ที่ 50 ตัว ราคากิโลกรัมละ 150 บาท 60 ตัว ราคา 130 บาท 70 ตัว ราคา 115 บาท แต่ที่เกษตรกรต้องทนเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ก็หวังว่าในช่วงปลายปีราคาก็จะดีขึ้น
สำหรับตลาดหลักในการส่งออกกุ้งของไทย ยังเป็นตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออกสูงถึง 49 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าจะเจอกับพิษเศรษฐกิจเล่นงานอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังมีการนำเข้าอย่างปกติ รองลงมาได้แก่ตลาด ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนตลาดที่น่าจับตามอง และควรจะเจรจาให้มีการสั่งซื้อจากไทย ก็น่าจะเป็นตลาดในตะวันออกกลาง และรัสเซีย ซึ่งหากว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรัฐบาลสามารถเข้าไปเจรจาเปิดตลาดใหม่ได้ ก็จะส่งผลดีต่อราคากุ้งไทยอย่างแน่นอน และทางผู้เลี้ยงก็ได้เรียกร้องมาตลอดแต่ก็ยังไม่มีชัดเจน และในวันที่ 1 พ.ย.2551 ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ จะจัดสัมมนาแนวทางการเลี้ยงกุ้งให้กับผู้เลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สามารถเลี้ยงต่อไปได้โดยไม่ขาดทุน
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ ว่า การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรยังคงเลี้ยงกันตามปกติ โดยมีพื้นที่เลี้ยงประมาณ 1 หมื่นไร่ กระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง ทั้งอำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอคลองท่อม อำเภอเกาะลันตา และอำเภอเหนือคลอง มีผลผลิต/ปี ประมาณ 2.5 หมื่นตัน
กุ้งที่นิยมเลี้ยงกันมากก็ยังคงเป็นกุ้งขาว เนื่องจากจากโตเร็ว และมีความทนทานต่อโรค ส่วนกุ้งกุลาดำนั้นจากที่เคยนิยมเลี้ยง ปัจจุบันเกษตรกรก็เลิกเลี้ยงแล้ว เนื่องจากเลี้ยงยาก โรคมาก และโตช้า โอกาสที่จะประสบกับภาวะขาดทุนมีสูง ถึงแม้ว่าราคาโดยเฉลี่ยจะดีกว่ากุ้งขาวก็ตาม
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งสูงมาก ทั้งอาหารและน้ำมัน ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับราคากุ้งที่ได้ปรับลดลง โดยเฉลี่ยกุ้งขาว ซื้อขายกันอยู่ในตลาดรับซื้อ 50 ตัว ราคา 130 บาท 60 ตัว ราคา 118 บาท 70 ตัว ราคา 112 บาท ในขณะที่ราคาอาหารกุ้งตกกระสอบละประมาณ 1,000 บาท ซึ่งจากราคาดังกล่าวข้างต้นหากว่าเกษตรกรไม่มีการปรับตัว หรือวิธีการเลี้ยงต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างแน่นอน หากว่าจะให้เกษตรกรเลี้ยงอยู่ต่อไปได้ ราคาควรจะอยู่ที่ 50 ตัว ราคากิโลกรัมละ 150 บาท 60 ตัว ราคา 130 บาท 70 ตัว ราคา 115 บาท แต่ที่เกษตรกรต้องทนเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ก็หวังว่าในช่วงปลายปีราคาก็จะดีขึ้น
สำหรับตลาดหลักในการส่งออกกุ้งของไทย ยังเป็นตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออกสูงถึง 49 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าจะเจอกับพิษเศรษฐกิจเล่นงานอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังมีการนำเข้าอย่างปกติ รองลงมาได้แก่ตลาด ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนตลาดที่น่าจับตามอง และควรจะเจรจาให้มีการสั่งซื้อจากไทย ก็น่าจะเป็นตลาดในตะวันออกกลาง และรัสเซีย ซึ่งหากว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรัฐบาลสามารถเข้าไปเจรจาเปิดตลาดใหม่ได้ ก็จะส่งผลดีต่อราคากุ้งไทยอย่างแน่นอน และทางผู้เลี้ยงก็ได้เรียกร้องมาตลอดแต่ก็ยังไม่มีชัดเจน และในวันที่ 1 พ.ย.2551 ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ จะจัดสัมมนาแนวทางการเลี้ยงกุ้งให้กับผู้เลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สามารถเลี้ยงต่อไปได้โดยไม่ขาดทุน