นครศรีธรรมราช – มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สร้างห้องปฏิบัติการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ อนุรักษ์สายพันธุ์กล้วยไม้ป่าเทือกเขาหลวงเชิงเศรษฐกิจ
ผศ.ดร.ผดุงศักดิ์ สุขสอาด อาจารย์สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เน้นสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเน้นวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โจทย์การวิจัยจึงได้มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยพบว่า ในพื้นที่หมู่บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมีความหลากหลายของสายพันธุ์กล้วยไม้ในเขตเทือกเขาหลวง ซึ่งชาวบ้านสามารถนำมาสร้างเป็นรายได้ได้โดยไม่ต้องทำลายธรรมชาติ หรือไปหามาจากธรรมชาติ
ผศ.ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าวต่อและว่า กล้วยไม้แถบนครศรีธรรมราช เป็นพืชที่มีอนาคตสามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมากชนิดหนึ่ง สามารถจำหน่ายในรูปของการตัดดอกหรือไม้กระถาง อีกทั้งแนวโน้มความต้องการกล้วยไม้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับมีการพิจารณาถึงสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของนครศรีธรรมราช ในย่านนั้น พบว่า เหมาะมากสำหรับการปลุกกล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นในลักษณะของพืชสมรม โดยอาศัยร่มเงาและความชื้นจากไม้ประธานในแปลงปลูก และในย่านเทือกเขาหลวงเองนั้นมีพันธุ์กล้วยไม้ถิ่นที่เหมาะและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว
“การวิจัยพบว่าเมล้ดกล้วยไม้ที่เกิดขึ้น ไม่มีอาหารสะสมภายในทำให้การเจริญงอกงามหรืออัตรางอกที่ต่ำมาก ซึ่งการเพาะตามธรรมชาตินั้นไม่สามารถทำให้เมล้ดงอกได้กับความต้องการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ เป็นปัญหาที่สำคัญ”
ผศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ระบุอีกว่า เพื่อเป็นการสร้างรายได้ และอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วยไม้ จึงใช้แนวทางที่ชาวบ้านสามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ได้เอง ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อภายใต้สภาพการปลอดเชื้อแทน เพราะสามารถจัดการด้านอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตของเมล็ดกล้วยไม้ได้
การจัดการอบรมและเรียนรู้ให้กับเกษตรกรลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การคัดเลือกฝักกล้วยไม้ การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อปนเปื้อนที่ผิวฝักกล้วยไม้ การเพาะเลี้ยงการย้าย ทุกขั้นตอนในโรงเรียน ขณะเดียวกันได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสาธิต ณ หมู่บ้านคีรีวง เพื่อเป็นต้นแบบของห้องปฏิบัติการพื้นฐานตัวอย่าง ให้กับเกษตรผู้สนใจนำไปเป็นต้นแบบและปฏิบัติการได้จริง
ผศ.ดร.ผดุงศักดิ์ สุขสอาด อาจารย์สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เน้นสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเน้นวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โจทย์การวิจัยจึงได้มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยพบว่า ในพื้นที่หมู่บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมีความหลากหลายของสายพันธุ์กล้วยไม้ในเขตเทือกเขาหลวง ซึ่งชาวบ้านสามารถนำมาสร้างเป็นรายได้ได้โดยไม่ต้องทำลายธรรมชาติ หรือไปหามาจากธรรมชาติ
ผศ.ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าวต่อและว่า กล้วยไม้แถบนครศรีธรรมราช เป็นพืชที่มีอนาคตสามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมากชนิดหนึ่ง สามารถจำหน่ายในรูปของการตัดดอกหรือไม้กระถาง อีกทั้งแนวโน้มความต้องการกล้วยไม้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับมีการพิจารณาถึงสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของนครศรีธรรมราช ในย่านนั้น พบว่า เหมาะมากสำหรับการปลุกกล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นในลักษณะของพืชสมรม โดยอาศัยร่มเงาและความชื้นจากไม้ประธานในแปลงปลูก และในย่านเทือกเขาหลวงเองนั้นมีพันธุ์กล้วยไม้ถิ่นที่เหมาะและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว
“การวิจัยพบว่าเมล้ดกล้วยไม้ที่เกิดขึ้น ไม่มีอาหารสะสมภายในทำให้การเจริญงอกงามหรืออัตรางอกที่ต่ำมาก ซึ่งการเพาะตามธรรมชาตินั้นไม่สามารถทำให้เมล้ดงอกได้กับความต้องการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ เป็นปัญหาที่สำคัญ”
ผศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ระบุอีกว่า เพื่อเป็นการสร้างรายได้ และอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วยไม้ จึงใช้แนวทางที่ชาวบ้านสามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ได้เอง ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อภายใต้สภาพการปลอดเชื้อแทน เพราะสามารถจัดการด้านอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตของเมล็ดกล้วยไม้ได้
การจัดการอบรมและเรียนรู้ให้กับเกษตรกรลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การคัดเลือกฝักกล้วยไม้ การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อปนเปื้อนที่ผิวฝักกล้วยไม้ การเพาะเลี้ยงการย้าย ทุกขั้นตอนในโรงเรียน ขณะเดียวกันได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสาธิต ณ หมู่บ้านคีรีวง เพื่อเป็นต้นแบบของห้องปฏิบัติการพื้นฐานตัวอย่าง ให้กับเกษตรผู้สนใจนำไปเป็นต้นแบบและปฏิบัติการได้จริง