นราธิวาส – ชาวประมงพื้นบ้านนราฯ เดือดร้อนหนักจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น วอนภาครัฐเร่งช่วยเหลือ
นายมูฮามัดดือราฟี สามะแอ ประธานชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส กล่าวถึงราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นรายวัน ประกอบกับทรัพยากรทางน้ำที่ลดลงมากส่งผลให้ผู้ประกอบการเรือประมงพื้นบ้านกว่า 400 ครัวเรือนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเดือดร้อนหนัก เนื่องจากต้นทุนต่อเที่ยวอยู่ที่ 500 บาท แต่รายรับต่อเที่ยวได้เพียง 300 บาท โดย ใน 1 ปีชาวประมงออกเรือได้เพียง 6 เดือน อีก 4 เดือนเป็นฤดูมรสุม และอีก 2 เดือนเป็นห้วงที่ไม่แน่นอนว่าจะสามารถจับสัตว์น้ำได้หรือไม่
ดังนั้นจึงวอนภาครัฐเร่งเข้ามาดูแลเรื่องราคาน้ำมัน ที่แม้ปัจจุบันมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ แต่เมื่อเทียบกับน้ำมันจากประเทศมาเลเซียที่มีพ่อค้านำมาจำหน่ายถึงชุมชน น้ำมันไบโอดีเซลก็ยังมีราคาสูงอยู่มาก ซึ่งหากภาครัฐช่วยให้กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้มีน้ำมันราคาภายในประเทศราคาถูกใช้ก็จะทำให้กลุ่มเรือประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นได้ประกอบอาชีพนี้ต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดภาระของชาวประมงในพื้นที่ จึงได้มีการเปิดกองทุนออมทรัพย์สำหรับชาวประมงเพื่อให้ชาวประมงในพื้นที่กู้เงินในอัตราไม่เกิน 2,600 บาทต่อครั้ง โดยไม่คิดดอกเบี้ย และไม่จำกัดเวลา ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 100 ครัวเรือนที่มากู้กับกองทุน และอีกส่วนหนึ่งก็ไปกู้เงินนอกระบบมาใช้เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้ชาวประมงหันมาเลี้ยงปลาในกระชังแทนการออกเรือ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในเบื้องต้นอีกทางหนึ่งด้วย
นายมูฮามัดดือราฟี สามะแอ ประธานชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส กล่าวถึงราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นรายวัน ประกอบกับทรัพยากรทางน้ำที่ลดลงมากส่งผลให้ผู้ประกอบการเรือประมงพื้นบ้านกว่า 400 ครัวเรือนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเดือดร้อนหนัก เนื่องจากต้นทุนต่อเที่ยวอยู่ที่ 500 บาท แต่รายรับต่อเที่ยวได้เพียง 300 บาท โดย ใน 1 ปีชาวประมงออกเรือได้เพียง 6 เดือน อีก 4 เดือนเป็นฤดูมรสุม และอีก 2 เดือนเป็นห้วงที่ไม่แน่นอนว่าจะสามารถจับสัตว์น้ำได้หรือไม่
ดังนั้นจึงวอนภาครัฐเร่งเข้ามาดูแลเรื่องราคาน้ำมัน ที่แม้ปัจจุบันมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ แต่เมื่อเทียบกับน้ำมันจากประเทศมาเลเซียที่มีพ่อค้านำมาจำหน่ายถึงชุมชน น้ำมันไบโอดีเซลก็ยังมีราคาสูงอยู่มาก ซึ่งหากภาครัฐช่วยให้กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้มีน้ำมันราคาภายในประเทศราคาถูกใช้ก็จะทำให้กลุ่มเรือประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นได้ประกอบอาชีพนี้ต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดภาระของชาวประมงในพื้นที่ จึงได้มีการเปิดกองทุนออมทรัพย์สำหรับชาวประมงเพื่อให้ชาวประมงในพื้นที่กู้เงินในอัตราไม่เกิน 2,600 บาทต่อครั้ง โดยไม่คิดดอกเบี้ย และไม่จำกัดเวลา ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 100 ครัวเรือนที่มากู้กับกองทุน และอีกส่วนหนึ่งก็ไปกู้เงินนอกระบบมาใช้เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้ชาวประมงหันมาเลี้ยงปลาในกระชังแทนการออกเรือ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในเบื้องต้นอีกทางหนึ่งด้วย