ปัตตานี – กองกำลัง 3 ฝ่าย ปกครอง-ตำรวจ-ทหาร โชว์ผลงานตรวจยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ ยาเสพย์ติดและสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อตอบสนองนโยบาย มท.1 ในช่วง 90 วัน ชี้ประสบผลสำเร็จในแทบทุกเรื่อง โดยเฉพาะคดีความมั่นคงลดลงน่าพอใจ
วันนี้ 12 มิ.ย.เวลา 15.30 น.ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายณฐพลฒ์ วิเชียรเพริศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พตอ.จีรวัฒน์ อุดมสุด รอง ผบก.ภ.จ.ปัตตานี นายประมุข ลมุล ปลัดจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมกันแถลงข่าวผลการดำเนินงานภายใต้นโยบายปัตตานี 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 พฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการเพื่อสนองตอบนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีหัวหน้าส่วนของฝ่ายปกครอง ตำรวจและทหารของ 12 อำเภอในจังหวัดปัตตานีร่วมแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย
นอกจากนั้น ได้นำอาวุธปืนสงครามอาวุธปืนสั้น กระสุนปืน เครื่องยิงลูกระเบิด ลูกเบิดเอ็ม 203 และระเบิดจำนวนหลายสิบรายการ พร้อมด้วยยาเสพติดทุกประเภทของทุก สภ.ใน จ.ปัตตานี ที่ยึดมาได้ที่ผ่านมา มารวบรวมเพื่อเห็นถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีความตั้งใจทำงานจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
จากการที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานอย่างเข้มข้น ส่งผลสถิติในคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจังหวัดปัตตานีทั้งคดีอุจฉกรรจ์ ฆ่ากันตาย ประทุษร้ายต่อร่างกาย เรื่องเพศ รวมทั้งคดีความมั่นคง และคดียาเสพย์ติดได้ลดลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการทยอยมอบตัวเป็นระยะๆ
จากข้อมูลสถิติโดยเปรียบเทียบ 90 วันก่อนใช้นโยบาย (1 ธ.ค.2550-29 ก.พ.2551) กับ 90 วันหลังใช้นโยบาย (1 มี.ค.2551-31 พ.ค.2551) ทำให้คดีการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ โดยเฉพาะคดีความมั่นคงลดลงจาก 114 คดี เป็น 81 คดี ส่วนสถานการณ์ในเขตพื้นที่ ในระดับสถานการณ์ในเขตพื้นที่เบาบางและปลอดภัยมากขึ้น ในช่วงการดำเนินนโยบายมีหมู่บ้านที่ไม่เกิดเหตุการณ์จำนวน 592 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 92.21 สูงกว่า 90 วันก่อนใช้นโยบาย 31 หมู่บ้านสำหรับด้านการปิดล้อมตรวจค้น จับกุมและมอบตัวมีมากขึ้น
นอกจากงานด้านสถานการณ์ในพื้นที่แล้ว ยังได้ทำงานด้านมวลชนควบคู่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งโครงการหมู่บ้านสันติสุข การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเสริมความศรัทธาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐกับประชาชน รวมทั้งงานด้านการสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ความเป็นจริงในสังคม ทำลายเงื่อนไขฝ่ายตรงข้าม การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำศาสนา การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ การพัฒนาการศึกษา และการจัดหาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าจังหวัดปัตตานี สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นน้อยลง และประชาชนให้ความร่วมมือต่อทางราชการมากขึ้น ส่งผลให้มีการมอบตัวมากขึ้น ก่อนนโยบาย 11 คน หลังใช้นโยบาย 197 คน ซึ่งจังหวัดปัตตานี จะยังคงดำเนินการตามนโยบายของ รมว.มหาดไทย ต่อไป
วันนี้ 12 มิ.ย.เวลา 15.30 น.ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายณฐพลฒ์ วิเชียรเพริศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พตอ.จีรวัฒน์ อุดมสุด รอง ผบก.ภ.จ.ปัตตานี นายประมุข ลมุล ปลัดจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมกันแถลงข่าวผลการดำเนินงานภายใต้นโยบายปัตตานี 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 พฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการเพื่อสนองตอบนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีหัวหน้าส่วนของฝ่ายปกครอง ตำรวจและทหารของ 12 อำเภอในจังหวัดปัตตานีร่วมแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย
นอกจากนั้น ได้นำอาวุธปืนสงครามอาวุธปืนสั้น กระสุนปืน เครื่องยิงลูกระเบิด ลูกเบิดเอ็ม 203 และระเบิดจำนวนหลายสิบรายการ พร้อมด้วยยาเสพติดทุกประเภทของทุก สภ.ใน จ.ปัตตานี ที่ยึดมาได้ที่ผ่านมา มารวบรวมเพื่อเห็นถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีความตั้งใจทำงานจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
จากการที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานอย่างเข้มข้น ส่งผลสถิติในคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจังหวัดปัตตานีทั้งคดีอุจฉกรรจ์ ฆ่ากันตาย ประทุษร้ายต่อร่างกาย เรื่องเพศ รวมทั้งคดีความมั่นคง และคดียาเสพย์ติดได้ลดลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการทยอยมอบตัวเป็นระยะๆ
จากข้อมูลสถิติโดยเปรียบเทียบ 90 วันก่อนใช้นโยบาย (1 ธ.ค.2550-29 ก.พ.2551) กับ 90 วันหลังใช้นโยบาย (1 มี.ค.2551-31 พ.ค.2551) ทำให้คดีการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ โดยเฉพาะคดีความมั่นคงลดลงจาก 114 คดี เป็น 81 คดี ส่วนสถานการณ์ในเขตพื้นที่ ในระดับสถานการณ์ในเขตพื้นที่เบาบางและปลอดภัยมากขึ้น ในช่วงการดำเนินนโยบายมีหมู่บ้านที่ไม่เกิดเหตุการณ์จำนวน 592 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 92.21 สูงกว่า 90 วันก่อนใช้นโยบาย 31 หมู่บ้านสำหรับด้านการปิดล้อมตรวจค้น จับกุมและมอบตัวมีมากขึ้น
นอกจากงานด้านสถานการณ์ในพื้นที่แล้ว ยังได้ทำงานด้านมวลชนควบคู่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งโครงการหมู่บ้านสันติสุข การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเสริมความศรัทธาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐกับประชาชน รวมทั้งงานด้านการสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ความเป็นจริงในสังคม ทำลายเงื่อนไขฝ่ายตรงข้าม การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำศาสนา การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ การพัฒนาการศึกษา และการจัดหาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าจังหวัดปัตตานี สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นน้อยลง และประชาชนให้ความร่วมมือต่อทางราชการมากขึ้น ส่งผลให้มีการมอบตัวมากขึ้น ก่อนนโยบาย 11 คน หลังใช้นโยบาย 197 คน ซึ่งจังหวัดปัตตานี จะยังคงดำเนินการตามนโยบายของ รมว.มหาดไทย ต่อไป