นครศรีธรรมราช - ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือด้วยการแทรกแซงราคา และประกันราคากุ้ง
ที่ห้องประชุมนายอำเภอ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เวลา 14.00 น.วันนี้ (10 มิ.ย.) ตัวแทนเกษตรกรชาวนากุ้งในพื้นที่พัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง มีแกนนำคือ นายพิมล คงจันทร์ ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านประมาณ 20 คน เข้าพบนายมนูญ ตันติกุล ปะมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายจารุมัย นพรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรับทราบผลการที่กลุ่มเกษตรกรชาวนากุ้งทำหนังสือร้องเรียนให้รัฐบาลให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงกุ้งได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลมา 4 เรื่องด้วยกัน คือ 1.ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ซึ่งทางรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาโดยวิธีการรับจำนำกุ้งเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2551 ที่ผ่านมาแล้ว 2.หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรกู้ยืม เพื่อนำไปฟื้นฟูและลดต้นทุนการผลิต 3.ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคช่วยเหลือในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ทำเรื่องนำเสนอเพื่อช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนในการเลี้ยงกุ้ง และ 4.ให้ทางจังหวัดจัดงบประมาณในการขุดลอกคลองในเขตโซนน้ำเค็มของ อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทร ทั้งระบบ
นายมนูญ ตันติกุล ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเกี่ยวกับการรับจำนำกุ้งจำนวน 1 หมื่นตันว่าทางรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.ได้มีมติให้เปิดรับจำนำกุ้งจากเกษตรกรกำหนดราคา กก.ละ 120 บาท ซึ่งหลังจากมีการแจ้งมติ คชก.ต่อกลุ่มผู้ชุมนุมในพื้นที่ภาคใต้แล้ว
กลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่พอใจจึงมีการพิจารณาราคาใหม่ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยกำหนดราคารับจำนำกุ้งขนาด 40 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 160 บาท, ขนาด 50 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 140 บาท, ขนาด 60 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 130 บาท , ขนาด 70 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 115 บาท และขนาด 80 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 105 บาท
หลังจากได้คำชี้แจงแล้วทางผู้เลี้ยงกุ้งพอจะรับได้ ในการช่วยเหลือในระยะสั้น แต่อยากร้องเรียนให้รัฐบาลถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการประกันราคา หรือเข้ามาแทรกแซงราคาน่าจะดีกว่าเพราะสามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีหลักประกันที่ชัดเจนขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ขอให้มีการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในเบื้องต้นก่อน โดยทางรัฐบาลจะเริ่มรับจำนำกุ้งตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2551 ไปจนถึงเดือนวันที่ 21 กันยายน 2551 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งตัวแทนของผู้เลี้ยงกุ้งก็พอใจก่อนจะเดินทางกลับในที่สุด
ที่ห้องประชุมนายอำเภอ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เวลา 14.00 น.วันนี้ (10 มิ.ย.) ตัวแทนเกษตรกรชาวนากุ้งในพื้นที่พัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง มีแกนนำคือ นายพิมล คงจันทร์ ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านประมาณ 20 คน เข้าพบนายมนูญ ตันติกุล ปะมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายจารุมัย นพรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรับทราบผลการที่กลุ่มเกษตรกรชาวนากุ้งทำหนังสือร้องเรียนให้รัฐบาลให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงกุ้งได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลมา 4 เรื่องด้วยกัน คือ 1.ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ซึ่งทางรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาโดยวิธีการรับจำนำกุ้งเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2551 ที่ผ่านมาแล้ว 2.หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรกู้ยืม เพื่อนำไปฟื้นฟูและลดต้นทุนการผลิต 3.ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคช่วยเหลือในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ทำเรื่องนำเสนอเพื่อช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนในการเลี้ยงกุ้ง และ 4.ให้ทางจังหวัดจัดงบประมาณในการขุดลอกคลองในเขตโซนน้ำเค็มของ อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทร ทั้งระบบ
นายมนูญ ตันติกุล ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเกี่ยวกับการรับจำนำกุ้งจำนวน 1 หมื่นตันว่าทางรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.ได้มีมติให้เปิดรับจำนำกุ้งจากเกษตรกรกำหนดราคา กก.ละ 120 บาท ซึ่งหลังจากมีการแจ้งมติ คชก.ต่อกลุ่มผู้ชุมนุมในพื้นที่ภาคใต้แล้ว
กลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่พอใจจึงมีการพิจารณาราคาใหม่ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยกำหนดราคารับจำนำกุ้งขนาด 40 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 160 บาท, ขนาด 50 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 140 บาท, ขนาด 60 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 130 บาท , ขนาด 70 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 115 บาท และขนาด 80 ตัวต่อ 1 กก.ราคา 105 บาท
หลังจากได้คำชี้แจงแล้วทางผู้เลี้ยงกุ้งพอจะรับได้ ในการช่วยเหลือในระยะสั้น แต่อยากร้องเรียนให้รัฐบาลถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการประกันราคา หรือเข้ามาแทรกแซงราคาน่าจะดีกว่าเพราะสามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีหลักประกันที่ชัดเจนขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ขอให้มีการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในเบื้องต้นก่อน โดยทางรัฐบาลจะเริ่มรับจำนำกุ้งตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2551 ไปจนถึงเดือนวันที่ 21 กันยายน 2551 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งตัวแทนของผู้เลี้ยงกุ้งก็พอใจก่อนจะเดินทางกลับในที่สุด