ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ปลาดาวมงกุฎหนามระบาดหวั่นกระทบแนวปะการัง ขอความร่วมมืออาสาสมัครแจ้งเบาะแสร่วมกำจัดเพื่อลดจำนวน เกรงปะการังได้รับความเสียหายเหมือน 25 ปี ที่ผ่านมา
นางสาวนลินี ทองแถม นักวิชาการประมง 7 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์การเพิ่มจำนวนของปลาดาวมงกุฎหนามอย่างรวดเร็ว ว่า ขณะนี้มีการสำรวจพบว่าปลาดาวมงกุฎหนามมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงตามแนวปะการังในบางพื้นที่
เช่น ที่บริเวณเกาะแอล จ.ภูเก็ต และหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแนวปะการังสมบูรณ์ แต่การเพิ่มขึ้นของปลาดาวมงกุฎหนาม เกรงว่า จะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังได้ เนื่องจากปลาดาวมงกุฎหนามกินเนื้อเหยื่อของปะการังเป็นอาหาร ทำให้ปะการังตายได้ ซึ่งเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า การเพิ่มจำนวนของปลาดาวมงกุฎหนามจำนวนมาก เกินการควบคุมของระบบนิเวศ ทำให้แนวปะการังในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเช่นหาดป่าตอง และเกาะอาดังราวีได้รับความเสียหายทั้งหมด
ขณะนี้พบว่า บางจุดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง มีการเพิ่มจำนวนของปลาดาวมงกุฎหนามอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งสถาบันฯกำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการขอความร่วมมือจากอาสาสมัครและนักดำน้ำ หากพบว่า แหล่งดำน้ำใดมีปลาดาวมงกุฎหนามในจำนวนมากก็จะต้องร่วมกันกำจัดโดยจัดทีมอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ เก็บขึ้นมาตากแดดให้แห้งเพื่อให้ขยายพันธุ์เร็วเกินไป
สำหรับการเพิ่มขึ้นของปลาดาวมงกุฎหนาม คาดว่า น่าจะเกิดจากสาเหตุศัตรูของปลาดาวมงกุฎหนามมีจำนวนลดลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนน้ำเสียที่ไหลลงทะเลทำให้แพลงตอนในทะเล ซึ่งเป็นอาหารของตัวอ่อนปลาดาวมงกุฎหนามโตเร็ว เพราะจะนั้นจะต้องช่วยกันกำจัดจำนวนให้ลดลงด้วยเพื่อไม่ให้กระทบต่อแนวปะการัง
นางสาวนลินี ทองแถม นักวิชาการประมง 7 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์การเพิ่มจำนวนของปลาดาวมงกุฎหนามอย่างรวดเร็ว ว่า ขณะนี้มีการสำรวจพบว่าปลาดาวมงกุฎหนามมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงตามแนวปะการังในบางพื้นที่
เช่น ที่บริเวณเกาะแอล จ.ภูเก็ต และหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแนวปะการังสมบูรณ์ แต่การเพิ่มขึ้นของปลาดาวมงกุฎหนาม เกรงว่า จะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังได้ เนื่องจากปลาดาวมงกุฎหนามกินเนื้อเหยื่อของปะการังเป็นอาหาร ทำให้ปะการังตายได้ ซึ่งเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า การเพิ่มจำนวนของปลาดาวมงกุฎหนามจำนวนมาก เกินการควบคุมของระบบนิเวศ ทำให้แนวปะการังในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเช่นหาดป่าตอง และเกาะอาดังราวีได้รับความเสียหายทั้งหมด
ขณะนี้พบว่า บางจุดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง มีการเพิ่มจำนวนของปลาดาวมงกุฎหนามอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งสถาบันฯกำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการขอความร่วมมือจากอาสาสมัครและนักดำน้ำ หากพบว่า แหล่งดำน้ำใดมีปลาดาวมงกุฎหนามในจำนวนมากก็จะต้องร่วมกันกำจัดโดยจัดทีมอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ เก็บขึ้นมาตากแดดให้แห้งเพื่อให้ขยายพันธุ์เร็วเกินไป
สำหรับการเพิ่มขึ้นของปลาดาวมงกุฎหนาม คาดว่า น่าจะเกิดจากสาเหตุศัตรูของปลาดาวมงกุฎหนามมีจำนวนลดลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนน้ำเสียที่ไหลลงทะเลทำให้แพลงตอนในทะเล ซึ่งเป็นอาหารของตัวอ่อนปลาดาวมงกุฎหนามโตเร็ว เพราะจะนั้นจะต้องช่วยกันกำจัดจำนวนให้ลดลงด้วยเพื่อไม่ให้กระทบต่อแนวปะการัง