ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์หายากเร่งช่วยชีวิตเต่าทะเลขนาดใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากเครื่องมือประมง ต้องตัดขาทิ้งเพื่อช่วยชีวิต ระบุช่วงมรสุมปีนี้มีเต่าทะเลเกยตื้นฝั่งทะเลอันดามันแล้ว 15 ตัว
นายสัตวแพทย์สนธยา มานะวัฒนกุล นายสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ต กล่าวถึงการรักษาเต่าทะเลขนาดใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บมาจากจังหวัดสตูลว่า เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากนักอนุรักษ์ชาวพื้นบ้านที่เกาะโต๊ะใหญ่ จังหวัดสตูล ว่ามีเต่าตะนุขนาดใหญ่ได้รับบาดเจ็บเครื่องมือประมงขึ้นมามาเกยตื้น หลังจากได้รับแจ้งจึงส่งเจ้าหน้าที่ไปรับตัวมารักษา ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ตเมื่อคืนที่ผ่านมาพบว่าเต่าตะนุอายุประมาณ 20 ปี น้ำหนักประมาณ 75 กิโลกรัม
สำหรับอาการบาดเจ็บของเต่าทะเลตัวดังกล่าว พบว่าถูกอวนรัดที่บริเวณขาด้านหน้าจนขาเน่าขาดและมีอาการติดเชื้อโรค และถูกเบ็ดราวเกี่ยวติดบริเวณขาหน้าอีก 5 ตัว ซึ่งต้องรีบทำการผ่าตัดตัดขาหน้าออกโดยด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคติดเข้าไปในกระแสเลือด และหลังผ่าตัดแล้วยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถนำไปปล่อยตามธรรมชาติได้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าเต่าจะมีอาการแข็งแรง
นายแพทย์สนธยา กล่าวต่อว่า ในช่วงเริ่มต้นหน้ามรสุมในปีนี้เป็นต้นมา ปรากฏว่าพบเต่าพันธ์หายากต่างๆ มาเกยตื้นในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันแล้วถึง 15 ตัว ด้วยกันประกอบด้วยเต่าหญ้า เต่ากะและเต่าตะนุ ส่วนใหญ่จะได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากมลพิษที่เกิดจากการเช่นการทิ้งถึงพลาสติกลงในทะเล กล่องโพมต่างๆ และจากอุปกรณ์ในการทำการประมง เมื่อมรสุมและคลื่นแรงทำให้เต่าได้รับบาดเจ็บแล้วขึ้นมาเกยตื้น
เต่าทะเลที่ได้รับบาดเจ็บมาไม่สามารถที่จะนำกลับไปปล่อยตามธรรมชาติได้ ต้องอนุบาลไว้เพื่อการศึกษาและให้ประชาชนได้ชมเท่านั้น อย่างเช่นเต่าหญ้านั้นถือว่าหาอยากมากในปัจจุบันมีเฉพาะที่ชายฝั่งทะเลอันดามันพบล่าสุดที่เกาะพระทอง จังหวัดพังงาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งล่าสุดพบเกยตื้นบริเวณหาดสุรินทร์ จังหวัดภูเก็ต และที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ทั้งสองตัวมีอาการปลอดบวมและติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากได้รับมลพิษจะลอยตัวอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถจมหรือดำน้ำ
นายสัตวแพทย์สนธยา มานะวัฒนกุล นายสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ต กล่าวถึงการรักษาเต่าทะเลขนาดใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บมาจากจังหวัดสตูลว่า เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากนักอนุรักษ์ชาวพื้นบ้านที่เกาะโต๊ะใหญ่ จังหวัดสตูล ว่ามีเต่าตะนุขนาดใหญ่ได้รับบาดเจ็บเครื่องมือประมงขึ้นมามาเกยตื้น หลังจากได้รับแจ้งจึงส่งเจ้าหน้าที่ไปรับตัวมารักษา ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภูเก็ตเมื่อคืนที่ผ่านมาพบว่าเต่าตะนุอายุประมาณ 20 ปี น้ำหนักประมาณ 75 กิโลกรัม
สำหรับอาการบาดเจ็บของเต่าทะเลตัวดังกล่าว พบว่าถูกอวนรัดที่บริเวณขาด้านหน้าจนขาเน่าขาดและมีอาการติดเชื้อโรค และถูกเบ็ดราวเกี่ยวติดบริเวณขาหน้าอีก 5 ตัว ซึ่งต้องรีบทำการผ่าตัดตัดขาหน้าออกโดยด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคติดเข้าไปในกระแสเลือด และหลังผ่าตัดแล้วยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถนำไปปล่อยตามธรรมชาติได้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าเต่าจะมีอาการแข็งแรง
นายแพทย์สนธยา กล่าวต่อว่า ในช่วงเริ่มต้นหน้ามรสุมในปีนี้เป็นต้นมา ปรากฏว่าพบเต่าพันธ์หายากต่างๆ มาเกยตื้นในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันแล้วถึง 15 ตัว ด้วยกันประกอบด้วยเต่าหญ้า เต่ากะและเต่าตะนุ ส่วนใหญ่จะได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากมลพิษที่เกิดจากการเช่นการทิ้งถึงพลาสติกลงในทะเล กล่องโพมต่างๆ และจากอุปกรณ์ในการทำการประมง เมื่อมรสุมและคลื่นแรงทำให้เต่าได้รับบาดเจ็บแล้วขึ้นมาเกยตื้น
เต่าทะเลที่ได้รับบาดเจ็บมาไม่สามารถที่จะนำกลับไปปล่อยตามธรรมชาติได้ ต้องอนุบาลไว้เพื่อการศึกษาและให้ประชาชนได้ชมเท่านั้น อย่างเช่นเต่าหญ้านั้นถือว่าหาอยากมากในปัจจุบันมีเฉพาะที่ชายฝั่งทะเลอันดามันพบล่าสุดที่เกาะพระทอง จังหวัดพังงาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งล่าสุดพบเกยตื้นบริเวณหาดสุรินทร์ จังหวัดภูเก็ต และที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ทั้งสองตัวมีอาการปลอดบวมและติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากได้รับมลพิษจะลอยตัวอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถจมหรือดำน้ำ