ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตตื่นตัวรวมพลังหยุดยั้งวัณโรคหลังพบผู้ป่วยเกือบ 800 รายต่อปี จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วย
นายแพทย์วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกถือเอาวันที่ 24 มีนาคมของทุกปีเป็นวันวัณโรคสากล ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดคำขวัญของวันวัณโรคโลก คือ “รวมพลังหยุดยั้งวัณโรค” (I AM stopping TB) โดยขณะนี้องค์การอนามัยโลกจัดประเทศไทยความรุนแรงของโรควัณโรคในอันดับที่ 17 จากจำนวน 22 ประเทศ ที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลก
สำหรับในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนปีละ 650-800 ราย พบแรงงานต่างด้าวป่วยเป็นวัณโรคร้อยละ 18 ของผู้ป่วยทั้งหมด และผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อเอดส์ร่วมด้วยร้อยละ 23-28 ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคของจังหวัดภูเก็ต รักษาสำเร็จเพียงร้อยละ 70-75
ส่วนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอดส์ร่วมด้วย ผลสำเร็จของการรักษาลดลงเหลือร้อยละ 60 เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ย้ายเข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ต ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการรักษา เนื่องจากมีการย้ายถิ่นฐานกลับภูมิลำเนาเดิมไม่สามารถติดตามผลการรักษาได้
อย่างไรก็ตาม ในการรวมพลังเพื่อหยุดยั้งวัณโรคนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมวัณโรคเชิงรุกมาโดยตลอด พร้อมจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงความรุนแรงของวัณโรค และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจัดทีมพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลและกำกับการกินยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะวัณโรคเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
นายแพทย์วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกถือเอาวันที่ 24 มีนาคมของทุกปีเป็นวันวัณโรคสากล ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดคำขวัญของวันวัณโรคโลก คือ “รวมพลังหยุดยั้งวัณโรค” (I AM stopping TB) โดยขณะนี้องค์การอนามัยโลกจัดประเทศไทยความรุนแรงของโรควัณโรคในอันดับที่ 17 จากจำนวน 22 ประเทศ ที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลก
สำหรับในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนปีละ 650-800 ราย พบแรงงานต่างด้าวป่วยเป็นวัณโรคร้อยละ 18 ของผู้ป่วยทั้งหมด และผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อเอดส์ร่วมด้วยร้อยละ 23-28 ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคของจังหวัดภูเก็ต รักษาสำเร็จเพียงร้อยละ 70-75
ส่วนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอดส์ร่วมด้วย ผลสำเร็จของการรักษาลดลงเหลือร้อยละ 60 เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ย้ายเข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ต ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการรักษา เนื่องจากมีการย้ายถิ่นฐานกลับภูมิลำเนาเดิมไม่สามารถติดตามผลการรักษาได้
อย่างไรก็ตาม ในการรวมพลังเพื่อหยุดยั้งวัณโรคนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมวัณโรคเชิงรุกมาโดยตลอด พร้อมจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงความรุนแรงของวัณโรค และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจัดทีมพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลและกำกับการกินยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะวัณโรคเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้