ผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ ประสบปัญหาขาดทุนหยุดเลี้ยงเกินครึ่ง ยอดส่งออกลดลงจาก 3 หมื่นตันเหลือ 1 หมื่นตันต่อปี หลังภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว น้ำมันขึ้นราคา อาหารกุ้งแพง
นายอุดร พิบูลย์ รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งขาวในจังหวัดกระบี่ ต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมันมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าอาหารเลี้ยงสัตว์ขึ้นราคา ทำให้ต้นเกษตรกรต้องแบกรับรับกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย สงผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ในจังหวัดกระบี่ประสบปัญหาขาดทุนต้องหยุดเลี้ยงกุ้งประมาณครึ่งหนึ่ง จากเดิมที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่มีการส่งออกกุ้ง ประมาณปีละ 3 หมื่นตัน แต่ขณะนี้ลดลงเหลือประมาณ 1 หมื่นตัน และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีก
รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า หากว่าสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป ตนเชื่อว่าเกษตรกรเลี้ยงกุ้งทุกรายคงจะต้องหยุดเลี้ยงกุ้งอย่างแน่นอน เพราะทนกับสภาพขาดทุนไม่ไหว ซึ่งสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน นอกเหนือจากการช่วยเหลือในเรื่องของราคาน้ำมัน และอาหารกุ้งแล้ว ช่วยให้รัฐบาลหาตลาดรับซื้อกุ้งให้มากยิ่งขึ้น อย่าใช้แต่ตลาดอเมริกาเป็นหลัก เพราะในปัจจุบันนี้ กุ้งขนาด 70 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคาเพียง 100 บาท เท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับการลงทุน
“ผมเชื่อว่า รัฐบาลมีความสามารถที่จะช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะในเรื่องของการหาตลาดใหม่ๆ มาเสริม ซึ่งมีหลายประเทศที่น่าสนใจ ทั้งแถบเอเชีย และยุโรป แต่ในเมื่อทางรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นเกษตรกร ก็ไม่สามารถที่จะหาตลาดเองได้ จึงอยากฝากรัฐบาลให้เข้ามาช่วยดูแลด้วย เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการเดือดร้อนมาก และกำลังจะหยุดเลี้ยง ซึ่งไม่เฉพาะจังหวัดกระบี่ หลายจังหวัดที่มีการเลี้ยงกุ้งก็ประสบปัญหาเหมือนกัน”
นายอุดร พิบูลย์ รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งขาวในจังหวัดกระบี่ ต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมันมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าอาหารเลี้ยงสัตว์ขึ้นราคา ทำให้ต้นเกษตรกรต้องแบกรับรับกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย สงผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ในจังหวัดกระบี่ประสบปัญหาขาดทุนต้องหยุดเลี้ยงกุ้งประมาณครึ่งหนึ่ง จากเดิมที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่มีการส่งออกกุ้ง ประมาณปีละ 3 หมื่นตัน แต่ขณะนี้ลดลงเหลือประมาณ 1 หมื่นตัน และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีก
รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า หากว่าสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป ตนเชื่อว่าเกษตรกรเลี้ยงกุ้งทุกรายคงจะต้องหยุดเลี้ยงกุ้งอย่างแน่นอน เพราะทนกับสภาพขาดทุนไม่ไหว ซึ่งสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน นอกเหนือจากการช่วยเหลือในเรื่องของราคาน้ำมัน และอาหารกุ้งแล้ว ช่วยให้รัฐบาลหาตลาดรับซื้อกุ้งให้มากยิ่งขึ้น อย่าใช้แต่ตลาดอเมริกาเป็นหลัก เพราะในปัจจุบันนี้ กุ้งขนาด 70 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคาเพียง 100 บาท เท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับการลงทุน
“ผมเชื่อว่า รัฐบาลมีความสามารถที่จะช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะในเรื่องของการหาตลาดใหม่ๆ มาเสริม ซึ่งมีหลายประเทศที่น่าสนใจ ทั้งแถบเอเชีย และยุโรป แต่ในเมื่อทางรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นเกษตรกร ก็ไม่สามารถที่จะหาตลาดเองได้ จึงอยากฝากรัฐบาลให้เข้ามาช่วยดูแลด้วย เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการเดือดร้อนมาก และกำลังจะหยุดเลี้ยง ซึ่งไม่เฉพาะจังหวัดกระบี่ หลายจังหวัดที่มีการเลี้ยงกุ้งก็ประสบปัญหาเหมือนกัน”