ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผช.ผบช.เตือนสื่ออย่าเข้าทางโจร เผย เหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา สามารถจับคนร้ายและสรุปสำนวนส่งฟ้องศาลแล้ว 113 คดี ตัดสินและลงโทษทั้งประหารชีวิตและจำคุกไปแล้วไม่น้อยกว่า 70 คดี ด้านประธานชมรมกำนันน้อยใจ หน่วยงานข้างบนไม่เห็นหัว
พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์สื่อมวลชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรมเซาเทิร์น วิว อ.เมืองปัตตานี ว่า ขบวนการก่อการร้ายพยายามสร้างสถานการณ์ ทั้งฆ่าตัดคอ เผา ระเบิด พยายามทำให้เห็นความโหดร้ายให้ปรากฏผ่านสื่อ เพื่อให้สังคมโลกเห็น
ดังนั้น สื่อซึ่งเป็นกลไกสำคัญ อย่าได้ตกเป็นเครื่องมือของขบวนการก่อการร้าย ขณะเดียวกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ตำรวจสามารถจับคนร้ายและสรุปสำนวนส่งฟ้องศาลไปแล้ว 113 คดี ศาลได้ตัดสินและลงโทษทั้งประหารชีวิตและจำคุกไปแล้วไม่น้อยกว่า 70 คดี
“ผมยืนยันว่า การแก้ปัญหาเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้โดยองค์รวม สื่อก็เป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยแก้ปัญหาควรสะท้อนให้ประชาชนรู้ข้อเท็จจริง”
นายเบญจ อับดุลบุตร ประธานกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน อ.ยะหริ่ง เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่รัฐได้พยายามทำงานเต็มศักยภาพ ทุ่มงบประมาณลงพื้นที่จำนวนมหาศาล แต่งบประมาณร้อยละ 15 เท่านั้นที่ลงถึงรากหญ้า ตนเห็นว่าการแก้ปัญหายังเดินผิดทาง รัฐควรแก้ปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนก่อน โดยการสร้างงานในพื้นที่ ให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ก่อนการพัฒนาด้านอื่นๆ
นายเบญจ เปิดเผยว่า กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหา แต่ไม่มีงบประมาณที่จะเข้าไปแก้ปัญหา ที่ตัวเองรู้เมื่อคลุกคลีกับชาวบ้าน ลำพังเงินเดือนๆ ละ 5,000 บาท จะนำไปแก้ปัญหาอะไรได้ มีแต่อำนาจปกครอง การพัฒนาไม่มีส่วนร่วม การพัฒนาตำบลจะถูกกำหนดโดยนโยบายของ นายก อบต.จนบางครั้งฝืนความรู้สึกและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ตนได้ตั้งข้อสังเกตไว้ หากพื้นที่ใดที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่ลงรอยกับ นายก อบต.เหตุการณ์ร้ายจะเกิดขึ้นพื้นที่นั้นมาก เข้าทำนองผู้นำไปไม่รอดเหตุการณ์ใต้ก็ย่ำแย่
“การที่สื่อตั้งศูนย์ระบายทุกข์ของประชาชนที่ปัตตานี เป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุน ประชาชนจะมีที่ระบาย เพราะยังมีข้าราชการบางคนบางสังกัดยังรังแกประชาชน หน่วยงานของภาครัฐน่าจะทำด้วย แต่อย่าให้เหมือนกับศูนย์ร้องขอความเป็นธรรมของ ศอ.บต.ที่จัดตั้งที่ที่ว่าการอำเภอให้ ประชาชนร้องทุกข์ ศูนย์ไม่รู้อยู่ที่ไหน หัวแถวต้องการแก้ปัญหาแต่หางแถวไม่เอาไหนการแก้ปัญหาไม่ได้”
พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์สื่อมวลชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรมเซาเทิร์น วิว อ.เมืองปัตตานี ว่า ขบวนการก่อการร้ายพยายามสร้างสถานการณ์ ทั้งฆ่าตัดคอ เผา ระเบิด พยายามทำให้เห็นความโหดร้ายให้ปรากฏผ่านสื่อ เพื่อให้สังคมโลกเห็น
ดังนั้น สื่อซึ่งเป็นกลไกสำคัญ อย่าได้ตกเป็นเครื่องมือของขบวนการก่อการร้าย ขณะเดียวกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ตำรวจสามารถจับคนร้ายและสรุปสำนวนส่งฟ้องศาลไปแล้ว 113 คดี ศาลได้ตัดสินและลงโทษทั้งประหารชีวิตและจำคุกไปแล้วไม่น้อยกว่า 70 คดี
“ผมยืนยันว่า การแก้ปัญหาเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้โดยองค์รวม สื่อก็เป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยแก้ปัญหาควรสะท้อนให้ประชาชนรู้ข้อเท็จจริง”
นายเบญจ อับดุลบุตร ประธานกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน อ.ยะหริ่ง เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่รัฐได้พยายามทำงานเต็มศักยภาพ ทุ่มงบประมาณลงพื้นที่จำนวนมหาศาล แต่งบประมาณร้อยละ 15 เท่านั้นที่ลงถึงรากหญ้า ตนเห็นว่าการแก้ปัญหายังเดินผิดทาง รัฐควรแก้ปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนก่อน โดยการสร้างงานในพื้นที่ ให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ก่อนการพัฒนาด้านอื่นๆ
นายเบญจ เปิดเผยว่า กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหา แต่ไม่มีงบประมาณที่จะเข้าไปแก้ปัญหา ที่ตัวเองรู้เมื่อคลุกคลีกับชาวบ้าน ลำพังเงินเดือนๆ ละ 5,000 บาท จะนำไปแก้ปัญหาอะไรได้ มีแต่อำนาจปกครอง การพัฒนาไม่มีส่วนร่วม การพัฒนาตำบลจะถูกกำหนดโดยนโยบายของ นายก อบต.จนบางครั้งฝืนความรู้สึกและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ตนได้ตั้งข้อสังเกตไว้ หากพื้นที่ใดที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่ลงรอยกับ นายก อบต.เหตุการณ์ร้ายจะเกิดขึ้นพื้นที่นั้นมาก เข้าทำนองผู้นำไปไม่รอดเหตุการณ์ใต้ก็ย่ำแย่
“การที่สื่อตั้งศูนย์ระบายทุกข์ของประชาชนที่ปัตตานี เป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุน ประชาชนจะมีที่ระบาย เพราะยังมีข้าราชการบางคนบางสังกัดยังรังแกประชาชน หน่วยงานของภาครัฐน่าจะทำด้วย แต่อย่าให้เหมือนกับศูนย์ร้องขอความเป็นธรรมของ ศอ.บต.ที่จัดตั้งที่ที่ว่าการอำเภอให้ ประชาชนร้องทุกข์ ศูนย์ไม่รู้อยู่ที่ไหน หัวแถวต้องการแก้ปัญหาแต่หางแถวไม่เอาไหนการแก้ปัญหาไม่ได้”