ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ลูกจ้างภูเก็ตขอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 7 บาท เป็นวันละ 200 บาทในปี 51 แต่ฝ่ายนายจ้างและหน่วยราชการไม่ยอมเห็นว่าค่าจ่างปัจจุบันสูงอยู่แล้ว หากปรับอีกจะกระทบต่อการลงทุนโดยรวมของภูเก็ต
นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และลูกจ้าง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
นายสุทธิพงค์ สายสาคร แรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การประชุมคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดในครั้งนี้ เพื่อติดตามข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำฉบับที่ 8 ที่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 193 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551 ทั้งในด้านความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้างและข้อมูลประกอบการพิจารณาความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและรวมทั้งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของจังหวัดภูเก็ต
จากการติดตามทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และฝ่ายราชการ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว ไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด ทั้งในเรื่องของการจ้างงาน การลงทุน และลูกจ้าง เนื่องจากธุรกิจในภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งปกติค่าจ้างจะสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่กระทบบ้างในส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก แต่ไม่ถึงขั้นทำให้นายจ้างไม่มีความสามารถในการจ่ายค่างจ้างแต่อย่างใด
นายสิทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ ทางฝ่ายลูกจ้างได้เสนอขอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก 7 บาทจากวันละ 193 บาท เป็นวันละ 200 บาท ในเดือน ม.ค.52 ที่จะถึงนี้ แต่ทางฝ่ายราชการและนายจ้างเห็นว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในภูเก็ตขณะนี้วันละ 193 บาท ถือเป็นค่าจ้างที่สูงมากแล้ว
หากมีการปรับเพิ่มเป็น 200 บาท อาจจะกระทบต่อการลงทุนของจังหวัดภูเก็ตได้ แต่หากต่อไปดัชนีผู้บริโภคและเงินเฟ้อสูงขึ้นกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง ทางคณะอนุกรรมการฯ จะะมีการพิจารณาของเสนอของลูกจ้างอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปีนี้
นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และลูกจ้าง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
นายสุทธิพงค์ สายสาคร แรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การประชุมคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดในครั้งนี้ เพื่อติดตามข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำฉบับที่ 8 ที่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 193 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551 ทั้งในด้านความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้างและข้อมูลประกอบการพิจารณาความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและรวมทั้งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของจังหวัดภูเก็ต
จากการติดตามทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และฝ่ายราชการ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว ไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด ทั้งในเรื่องของการจ้างงาน การลงทุน และลูกจ้าง เนื่องจากธุรกิจในภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งปกติค่าจ้างจะสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่กระทบบ้างในส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก แต่ไม่ถึงขั้นทำให้นายจ้างไม่มีความสามารถในการจ่ายค่างจ้างแต่อย่างใด
นายสิทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ ทางฝ่ายลูกจ้างได้เสนอขอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก 7 บาทจากวันละ 193 บาท เป็นวันละ 200 บาท ในเดือน ม.ค.52 ที่จะถึงนี้ แต่ทางฝ่ายราชการและนายจ้างเห็นว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในภูเก็ตขณะนี้วันละ 193 บาท ถือเป็นค่าจ้างที่สูงมากแล้ว
หากมีการปรับเพิ่มเป็น 200 บาท อาจจะกระทบต่อการลงทุนของจังหวัดภูเก็ตได้ แต่หากต่อไปดัชนีผู้บริโภคและเงินเฟ้อสูงขึ้นกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง ทางคณะอนุกรรมการฯ จะะมีการพิจารณาของเสนอของลูกจ้างอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปีนี้