นครศรีธรรมราช - โรงแยกก๊าซขนอมยันปริมาณก๊าซยังเพียงพอ ใช้ไปได้อีก 20 ปีแนะรัฐให้ความสำคัญโครงการ “เซาเทิร์นซีบอร์ด”
นายอุทัย มหิทธิมหาวงศ์ ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการ โรงแยกก๊าซขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้โรงแยกก๊าซขนอม มีกำลังการผลิต 650 ตัน/วัน ซึ่งเพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้สำหรับประชาชนในภาคใต้ และปริมาณก๊าซจากแหล่งธรรมชาติที่มีอยู่เพียงพอต่อความต้องการและความจำเป็นในการใช้อีก 20 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมจะต้องลดการใช้พลังงานลง ไม่เช่นนั้นคนไทยจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จากการปรับราคาของก๊าซ เนื่องจากหากปล่อยให้เป็นไปอย่างเสรี ราคาก๊าซจะอยู่ที่ 850 เหรียญ/ตัน แต่ไทยควบคุมไว้ที่ 315 เหรียญ/ตัน ซึ่งหากก๊าซในประเทศใช้ไม่เพียงพอจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาจะต้องเป็นไปตามกลไกการตลาด สำหรับการผลิตเพิ่มขึ้นทำได้ยากเนื่องจากมีกำลังการผลิตจำกัด และส่วนหนึ่งต้องส่งให้กับโรงไฟฟ้าขนอมด้วย
ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการโรงแยกก๊าซขนอม กล่าวเพิ่มเติมว่า หากรัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดค่าขนส่ง เนื่องจากปัจจุบันไทยสั่งและขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางวันละประมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน และมีประเทศอื่นๆ ที่ต้องขนส่งอ้อมสิงคโปร์เข้ามายังฝั่งอ่าวไทยอีกหลายประเทศ หากไทยมีระบบขนส่งที่ดี จะทำให้มีการใช้ท่าเรือของไทยสำหรับการขนส่งเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเชื่อว่าราคาของพลังงานจะลดลง
นายอุทัย มหิทธิมหาวงศ์ ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการ โรงแยกก๊าซขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้โรงแยกก๊าซขนอม มีกำลังการผลิต 650 ตัน/วัน ซึ่งเพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้สำหรับประชาชนในภาคใต้ และปริมาณก๊าซจากแหล่งธรรมชาติที่มีอยู่เพียงพอต่อความต้องการและความจำเป็นในการใช้อีก 20 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมจะต้องลดการใช้พลังงานลง ไม่เช่นนั้นคนไทยจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จากการปรับราคาของก๊าซ เนื่องจากหากปล่อยให้เป็นไปอย่างเสรี ราคาก๊าซจะอยู่ที่ 850 เหรียญ/ตัน แต่ไทยควบคุมไว้ที่ 315 เหรียญ/ตัน ซึ่งหากก๊าซในประเทศใช้ไม่เพียงพอจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาจะต้องเป็นไปตามกลไกการตลาด สำหรับการผลิตเพิ่มขึ้นทำได้ยากเนื่องจากมีกำลังการผลิตจำกัด และส่วนหนึ่งต้องส่งให้กับโรงไฟฟ้าขนอมด้วย
ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการโรงแยกก๊าซขนอม กล่าวเพิ่มเติมว่า หากรัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดค่าขนส่ง เนื่องจากปัจจุบันไทยสั่งและขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางวันละประมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน และมีประเทศอื่นๆ ที่ต้องขนส่งอ้อมสิงคโปร์เข้ามายังฝั่งอ่าวไทยอีกหลายประเทศ หากไทยมีระบบขนส่งที่ดี จะทำให้มีการใช้ท่าเรือของไทยสำหรับการขนส่งเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเชื่อว่าราคาของพลังงานจะลดลง