กระบี่ - ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวกระบี่ ชี้ ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% กระทบการท่องเที่ยวในระยะสั้น
นายธรรมศักดิ์ ภูพันธ์วิวัฒน์ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา เชื่อว่า จะมีผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และคาดว่าต่อไปก็คงจะดีขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดกระบี่ หรือในจังหวัดฝั่งอันดามัน กระบี่ พังงา ภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสแกนดิเนเวีย ประมาณ 90-95% เพราะฉะนั้นสกุลเงินที่นักท่องเที่ยวนำมาแลกเปลี่ยนใช้จ่ายภายในประเทศ ก็ไม่กระทบมากนัก เพราะเป็นเงินสกุลยูโร ไม่ได้เป็นเงินสกุลดอลลาร์
นายธรรมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ช่วงไฮซีซัน คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 จนถึงเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นมาการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดกระบี่มากกว่า 95% โดยเฉพาะ ห้องพักของโรงแรมในบริเวณหาดอ่าวนาง และเกาะลันตา มีนักท่องเที่ยวเข้าพักเต็มตลอด และส่วนใหญ่มีการจองห้องพักล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปี เพราะฉะนั้นการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% จึงไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะมีการตกลงราคากันล่วงหน้าเป็นปีและมีการทำสัญญาจ่ายเงินไว้แล้ว
“ผู้ที่ได้รับกระทบมากที่สุดก็คงจะเป็นผู้ส่งออกในระดับประเทศมากกว่า เพราะเมื่อมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรองแล้วจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นและจากการที่ประเทศไทยได้ใช้มาตรการกันเงินสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ มาแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งผลที่ออกมามีทั้งผลดีและผลเสีย
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรการที่จะมารองรับและช่วงเวลาที่เหมาะสม และว่าเมื่อมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรองไปแล้วก็มีทั้งผลดี และผลเสียเช่นเดียวกัน โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็อาจจะเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว ส่วนรายย่อยที่ยังไม่มีความเข้มแข็งก็จะมีปัญหาบ้าง ซึ่งทางรัฐบาลควรจะให้เหตุผลด้วยถึงการยกเลิก”
นายธรรมศักดิ์ ภูพันธ์วิวัฒน์ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา เชื่อว่า จะมีผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และคาดว่าต่อไปก็คงจะดีขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดกระบี่ หรือในจังหวัดฝั่งอันดามัน กระบี่ พังงา ภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสแกนดิเนเวีย ประมาณ 90-95% เพราะฉะนั้นสกุลเงินที่นักท่องเที่ยวนำมาแลกเปลี่ยนใช้จ่ายภายในประเทศ ก็ไม่กระทบมากนัก เพราะเป็นเงินสกุลยูโร ไม่ได้เป็นเงินสกุลดอลลาร์
นายธรรมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ช่วงไฮซีซัน คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 จนถึงเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นมาการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดกระบี่มากกว่า 95% โดยเฉพาะ ห้องพักของโรงแรมในบริเวณหาดอ่าวนาง และเกาะลันตา มีนักท่องเที่ยวเข้าพักเต็มตลอด และส่วนใหญ่มีการจองห้องพักล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปี เพราะฉะนั้นการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% จึงไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะมีการตกลงราคากันล่วงหน้าเป็นปีและมีการทำสัญญาจ่ายเงินไว้แล้ว
“ผู้ที่ได้รับกระทบมากที่สุดก็คงจะเป็นผู้ส่งออกในระดับประเทศมากกว่า เพราะเมื่อมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรองแล้วจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นและจากการที่ประเทศไทยได้ใช้มาตรการกันเงินสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ มาแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งผลที่ออกมามีทั้งผลดีและผลเสีย
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรการที่จะมารองรับและช่วงเวลาที่เหมาะสม และว่าเมื่อมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรองไปแล้วก็มีทั้งผลดี และผลเสียเช่นเดียวกัน โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็อาจจะเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว ส่วนรายย่อยที่ยังไม่มีความเข้มแข็งก็จะมีปัญหาบ้าง ซึ่งทางรัฐบาลควรจะให้เหตุผลด้วยถึงการยกเลิก”