พัทลุง – พบเป็ดไล่ทุ่งเมืองลุงตายแล้วจำนวนหนึ่ง ปศุสัตว์ชี้ติดเชื้อ “เอฟไฟว์เอ็น 3” สั่งทุกพื้นที่เฝ้าระวังเข้มงวด
นายไพโรจน์ อินทรศรี ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า แม้ว่าพื้นที่จังหวัดพัทลุงจะยังไม่มีรายงานการแพร่ระบาดไข้หวัดนกทั้งในคน และในสัตว์ แต่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยเฉพาะอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีก ซึ่งจากรายงาน พบว่า
ในปี 2550 มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 4 หมื่นตัว 1,529 ครอบครัว, การเลี้ยงแบบฟาร์ม 502 ราย 1 ล้าน 4 แสน 6 หมื่น 2,606 ตัว เลี้ยงไก่ไข่ 340 ราย รวม 4 แสน 6 หมื่น 1,610 ตัว เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง 44 ราย รวม 6 หมื่น 1,744 ตัว
โดยเฉพาะการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งที่ตำบลชัยบุรี และตำบลพญาขันต์ อำเภอเมือง นับว่าเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก เนื่องจากเกษตรกรจะซื้อลูกเป็ดจากภาคกลางมาเลี้ยงในพื้นที่ และยังพบว่าเป็ดไล่ทุ่งดังกล่าว ตลอดทั้งสัปดาห์ได้ตายลงไปแล้วจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง ได้ลงตรวจสอบแล้ว พบว่า สาเหตุมาจากติดเชื้อ เอฟไฟว์เอ็น 3 เชื้อความรุนแรงต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้สั่งกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงทำลายซากเป็ดและได้เฝ้าระวังติดตามการระบาดอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
นายไพโรจน์ อินทรศรี ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า แม้ว่าพื้นที่จังหวัดพัทลุงจะยังไม่มีรายงานการแพร่ระบาดไข้หวัดนกทั้งในคน และในสัตว์ แต่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยเฉพาะอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีก ซึ่งจากรายงาน พบว่า
ในปี 2550 มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 4 หมื่นตัว 1,529 ครอบครัว, การเลี้ยงแบบฟาร์ม 502 ราย 1 ล้าน 4 แสน 6 หมื่น 2,606 ตัว เลี้ยงไก่ไข่ 340 ราย รวม 4 แสน 6 หมื่น 1,610 ตัว เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง 44 ราย รวม 6 หมื่น 1,744 ตัว
โดยเฉพาะการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งที่ตำบลชัยบุรี และตำบลพญาขันต์ อำเภอเมือง นับว่าเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก เนื่องจากเกษตรกรจะซื้อลูกเป็ดจากภาคกลางมาเลี้ยงในพื้นที่ และยังพบว่าเป็ดไล่ทุ่งดังกล่าว ตลอดทั้งสัปดาห์ได้ตายลงไปแล้วจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง ได้ลงตรวจสอบแล้ว พบว่า สาเหตุมาจากติดเชื้อ เอฟไฟว์เอ็น 3 เชื้อความรุนแรงต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้สั่งกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงทำลายซากเป็ดและได้เฝ้าระวังติดตามการระบาดอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง