ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเมินการลงทุนในภาคใต้ปี 51 คาดยังคงทรงตัวอยู่ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีหลายตัวแปรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในอุตสาหกรรมเด่นของใต้
นายจำรัส ศรีประสม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเมินภาวการณ์ลงทุนในภาคใต้ปี 2551 ว่า คาดว่า ยังคงทรงตัวอยู่ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนการจัดตั้งรัฐบาล และการกำหนดนโยบายของรัฐ แม้จะค่อนข้างชัดเจนในตัวนายกรัฐมนตรี แต่น่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่นักลงทุนจะมีความมั่นใจมากขึ้น และสถานการณ์ทางด้านการเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจกล้าตัดสินใจในการลงทุน
แต่ทั้งนี้ ยังมีตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจการลงทุนของนักลงทุน เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาค่าเงินบาท ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบไม่เพียงพอโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เด่นในภาคใต้ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการลงทุนในปีที่ผ่านมานั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 76 โครงการ เงินลงทุน 42,286.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 127.97 แต่อัตราการจ้างงานคนไทย 9,688 คน ลดลงร้อยละ 34.30
ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในกิจการประเภทบริการและสาธารณูปโภค เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้ทางด้านการเกษตร ซึ่งนักลงทุนกำลังให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน กิจการเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม รีสอร์ต เรือเฟอร์รี เรือยอชต์ สนามบินพาณิชย์ เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นต้น สำหรับกิจการด้านแปรรูปสินค้าการเกษตรก็ยังมีการลงทุนที่ต่อเนื่อง เช่น การผลิตน้ำยางข้น การผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา MDF การผลิตถุงมือทางการแพทย์ การผลิตอาหาร การผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น
นายจำรัส ศรีประสม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเมินภาวการณ์ลงทุนในภาคใต้ปี 2551 ว่า คาดว่า ยังคงทรงตัวอยู่ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนการจัดตั้งรัฐบาล และการกำหนดนโยบายของรัฐ แม้จะค่อนข้างชัดเจนในตัวนายกรัฐมนตรี แต่น่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่นักลงทุนจะมีความมั่นใจมากขึ้น และสถานการณ์ทางด้านการเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจกล้าตัดสินใจในการลงทุน
แต่ทั้งนี้ ยังมีตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจการลงทุนของนักลงทุน เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาค่าเงินบาท ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบไม่เพียงพอโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เด่นในภาคใต้ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการลงทุนในปีที่ผ่านมานั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 76 โครงการ เงินลงทุน 42,286.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 127.97 แต่อัตราการจ้างงานคนไทย 9,688 คน ลดลงร้อยละ 34.30
ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในกิจการประเภทบริการและสาธารณูปโภค เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้ทางด้านการเกษตร ซึ่งนักลงทุนกำลังให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน กิจการเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม รีสอร์ต เรือเฟอร์รี เรือยอชต์ สนามบินพาณิชย์ เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นต้น สำหรับกิจการด้านแปรรูปสินค้าการเกษตรก็ยังมีการลงทุนที่ต่อเนื่อง เช่น การผลิตน้ำยางข้น การผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา MDF การผลิตถุงมือทางการแพทย์ การผลิตอาหาร การผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น