นครศรีธรรมราช – เทศบาลนครศรีธรรมราช เผยผลตรวจตัวอย่างอาหารทอดเขตเทศบาลเมือง พบเสี่ยงอันตรายเกือบ 40 % หัวใสซื้อไปผลิตไบโอดีเซลใช้ในองค์กร
นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้จัดทำโครงการการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ซึ่งมีอยู่อย่างเพียงพอในพื้นที่ เนื่องในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีบรรดาร้านค้าแผงลอยที่จำหน่ายไก่ทอด หมูทอด และเนื้อทอด จำนวนมาก มีการใช้นำมันทอดซ้ำบ่อยครั้ง ซึ่งนำมันที่ใช้ทอดซ้ำมีค่าโพลาร์เกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งแก่ผู้บริโภคได้
ดังนั้นการใช้แนวคิดการนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล จึงเป็นทางหนึ่งที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งแก่ผู้บริโภค ประชาชนในเขตเทศบาลมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากมลพิษ ได้บริโภคอาหารที่ปรุงจากน้ำมันที่ได้มาตรฐาน เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการสั่งซื้อน้ำมันดีเซลขององค์กร และเพื่อสนับสนุนการผลิตและการใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่มีมาตรฐานจากน้ำมันที่ใช้แล้วในชุมชน
จากนั้นทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการออกตรวจน้ำมันทอดซ้ำ ตามร้านค้าแผงลอยในเขตเทศบาลตามกระบวนการตรวจค่าโพลาร์ในน้ำมันด้วยเครื่อง Testo 265 จำนวน 363 ราย รวม 363 ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีผลการตรวจ ไม่ผ่านมาตรฐาน (ค่าโพลาร์เกิน 25 % ของน้ำหนัก) จำนวน 135 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37.19
พบมากที่สุดคือ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดไก่ จำนวน 105 ตัวอย่าง ทางเทศบาลได้ซื้อน้ำมันทอดซ้ำจากแม่ค้าผู้ประกอบการไม่ผ่านมาตรฐานมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล จำนวน 2,400 ลิตร โดยมีต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเฉลี่ยราคาลิตรละ 17.00 บาท ทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้จ่ายน้ำมันไบโอดีเซลให้กับรถยนต์ภายในกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 คัน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อน้ำมันดีเซลได้ประมาณ 30,000 บาททีเดียว
นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้จัดทำโครงการการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ซึ่งมีอยู่อย่างเพียงพอในพื้นที่ เนื่องในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีบรรดาร้านค้าแผงลอยที่จำหน่ายไก่ทอด หมูทอด และเนื้อทอด จำนวนมาก มีการใช้นำมันทอดซ้ำบ่อยครั้ง ซึ่งนำมันที่ใช้ทอดซ้ำมีค่าโพลาร์เกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งแก่ผู้บริโภคได้
ดังนั้นการใช้แนวคิดการนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล จึงเป็นทางหนึ่งที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งแก่ผู้บริโภค ประชาชนในเขตเทศบาลมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากมลพิษ ได้บริโภคอาหารที่ปรุงจากน้ำมันที่ได้มาตรฐาน เป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการสั่งซื้อน้ำมันดีเซลขององค์กร และเพื่อสนับสนุนการผลิตและการใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่มีมาตรฐานจากน้ำมันที่ใช้แล้วในชุมชน
จากนั้นทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการออกตรวจน้ำมันทอดซ้ำ ตามร้านค้าแผงลอยในเขตเทศบาลตามกระบวนการตรวจค่าโพลาร์ในน้ำมันด้วยเครื่อง Testo 265 จำนวน 363 ราย รวม 363 ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีผลการตรวจ ไม่ผ่านมาตรฐาน (ค่าโพลาร์เกิน 25 % ของน้ำหนัก) จำนวน 135 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37.19
พบมากที่สุดคือ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดไก่ จำนวน 105 ตัวอย่าง ทางเทศบาลได้ซื้อน้ำมันทอดซ้ำจากแม่ค้าผู้ประกอบการไม่ผ่านมาตรฐานมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล จำนวน 2,400 ลิตร โดยมีต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเฉลี่ยราคาลิตรละ 17.00 บาท ทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้จ่ายน้ำมันไบโอดีเซลให้กับรถยนต์ภายในกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 คัน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อน้ำมันดีเซลได้ประมาณ 30,000 บาททีเดียว