ตรัง – กกต.ตรัง คึกคักมีผู้สมัคร ส.ว.รวม 3 คนประเดิมวันแรก ทั้งอดีต ผอ.รพ.ศูนย์ตรัง, อดีต ส.ส.ปชป.6 สมัย และข้าราชการ
วันนี้ (21 ม.ค.) บรรยากาศการเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จังหวัดตรัง ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลนครตรัง โดยในช่วงภาคเช้าของวันแรก มีผู้เข้ายื่นใบสมัคร จำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายเรวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ ได้หมายเลข 1 นายแพทย์ชวลา สัมพันธ์รัตน์ อดีต ส.ว.ตรัง ปี 2549 และอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ตรัง ได้หมายเลข 2 และ นายวิเชียร คันฉ่อง อดีต ส.ส.ตรัง 6 สมัย พรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 3
ทั้งนี้ ผู้ที่เดินทางมาถึงสถานที่รับสมัครเป็นคนแรก ในเวลา 07.54 น.คือ นายเรวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมกับผู้ติดตามประมาณ 4-5 คน ต่อมาเวลา 08.20 น.นายแพทย์ชวลา สัมพันธ์รัตน์ ได้เดินทางมาพร้อมกับ นางสุภา สัมพันธ์รัตน์ ภรรยา ซึ่งเคยลงสมัคร ส.ว.ตรัง เมื่อปี 2542 และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพรศิริกุล
อย่างไรก็ตาม ถือว่า ผู้สมัครทั้ง 2 คน เดินทางมารับสมัครพร้อมกัน ทำให้ต้องมีการจับสลากเพื่อเลือกหมายเลขผู้สมัคร ปรากฏว่า นายเรวัตตะ ได้หมายเลข 1 และ นายแพทย์ชวลา ได้หมายเลข 2 หลังจากนั้น นายวิเชียร คันฉ่อง ก็เดินทางมาถึงในเวลา 09.30 น.และได้หมายเลข 3
นายเรวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ กล่าวว่า ตนรับราชการอยู่ที่กรุงเทพมหานครมานานกว่า 30 ปี หลังเกษียณอายุราชการก็เดินทางกลับมาจังหวัดตรัง ตั้งใจจะกลับมาทำงานเพื่อบ้านเกิด ก็ได้ทำงานที่บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) แต่สุดท้ายก็คิดว่าอยากจะนำความรู้ ความสามารถที่มี ทำงานเพื่อมวลชนดีกว่า จึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ตรัง ในครั้งนี้ แม้ตนจะใหม่กับสนามเลือกตั้งในจังหวัดตรัง แต่ระยะเวลาที่เหลือจะรีบลงพื้นที่หาเสียงอย่างสุดชีวิต เพราะมั่นใจว่าหากเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด ก็จะมีโอกาสได้อธิบายทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในสภาว่า ส.ว.มีหน้าที่อย่างไร
ทั้งนี้ หากได้ลงพื้นที่มาก เชื่อว่า จะทำให้มีโอกาสมาก เพราะคนตรังเป็นคนฉลาด เข้าใจเลือกคนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ดังนั้น โอกาสของตนจึงขึ้นอยู่กับการพบปะกับประชาชนให้มากที่สุดเท่านั้น
ส่วนที่ต้องต่อสู้กับผู้สมัครซึ่งเป็นอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่มีอะไรหนักใจ เพราะตนคิดว่าไม่ได้ต้องการแข่งขันกับใคร แต่ต้องการแข่งขันกับตัวเอง และมั่นใจว่าคนตรังมีวิจารญาณในการเลือกตั้งสูง มีสำนึกทางการเมือง จะเข้าใจ และแยกแยะได้ว่า เลือกใครเข้าไปทำหน้าที่อะไร จึงมีความมั่นใจสูง
วันนี้ (21 ม.ค.) บรรยากาศการเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จังหวัดตรัง ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลนครตรัง โดยในช่วงภาคเช้าของวันแรก มีผู้เข้ายื่นใบสมัคร จำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายเรวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ ได้หมายเลข 1 นายแพทย์ชวลา สัมพันธ์รัตน์ อดีต ส.ว.ตรัง ปี 2549 และอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ตรัง ได้หมายเลข 2 และ นายวิเชียร คันฉ่อง อดีต ส.ส.ตรัง 6 สมัย พรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 3
ทั้งนี้ ผู้ที่เดินทางมาถึงสถานที่รับสมัครเป็นคนแรก ในเวลา 07.54 น.คือ นายเรวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมกับผู้ติดตามประมาณ 4-5 คน ต่อมาเวลา 08.20 น.นายแพทย์ชวลา สัมพันธ์รัตน์ ได้เดินทางมาพร้อมกับ นางสุภา สัมพันธ์รัตน์ ภรรยา ซึ่งเคยลงสมัคร ส.ว.ตรัง เมื่อปี 2542 และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพรศิริกุล
อย่างไรก็ตาม ถือว่า ผู้สมัครทั้ง 2 คน เดินทางมารับสมัครพร้อมกัน ทำให้ต้องมีการจับสลากเพื่อเลือกหมายเลขผู้สมัคร ปรากฏว่า นายเรวัตตะ ได้หมายเลข 1 และ นายแพทย์ชวลา ได้หมายเลข 2 หลังจากนั้น นายวิเชียร คันฉ่อง ก็เดินทางมาถึงในเวลา 09.30 น.และได้หมายเลข 3
นายเรวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ กล่าวว่า ตนรับราชการอยู่ที่กรุงเทพมหานครมานานกว่า 30 ปี หลังเกษียณอายุราชการก็เดินทางกลับมาจังหวัดตรัง ตั้งใจจะกลับมาทำงานเพื่อบ้านเกิด ก็ได้ทำงานที่บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) แต่สุดท้ายก็คิดว่าอยากจะนำความรู้ ความสามารถที่มี ทำงานเพื่อมวลชนดีกว่า จึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ตรัง ในครั้งนี้ แม้ตนจะใหม่กับสนามเลือกตั้งในจังหวัดตรัง แต่ระยะเวลาที่เหลือจะรีบลงพื้นที่หาเสียงอย่างสุดชีวิต เพราะมั่นใจว่าหากเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด ก็จะมีโอกาสได้อธิบายทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในสภาว่า ส.ว.มีหน้าที่อย่างไร
ทั้งนี้ หากได้ลงพื้นที่มาก เชื่อว่า จะทำให้มีโอกาสมาก เพราะคนตรังเป็นคนฉลาด เข้าใจเลือกคนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ดังนั้น โอกาสของตนจึงขึ้นอยู่กับการพบปะกับประชาชนให้มากที่สุดเท่านั้น
ส่วนที่ต้องต่อสู้กับผู้สมัครซึ่งเป็นอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่มีอะไรหนักใจ เพราะตนคิดว่าไม่ได้ต้องการแข่งขันกับใคร แต่ต้องการแข่งขันกับตัวเอง และมั่นใจว่าคนตรังมีวิจารญาณในการเลือกตั้งสูง มีสำนึกทางการเมือง จะเข้าใจ และแยกแยะได้ว่า เลือกใครเข้าไปทำหน้าที่อะไร จึงมีความมั่นใจสูง