ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ -นักวิชาการใต้หนุน คปค.ประกาศให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ชี้ “วิษณุ-บวรศักดิ์” ไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวเนื่องจากเคยรับใช้รัฐบาลทักษิณมาก่อน แนะใช้ข้อเสนอของ กอส.เป็นนโยบายในการแก้ปัญหา
ผศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) และประธานบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เข้ายึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว เป็นโอกาสเหมาะสมที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน หัวหน้า คปค.จะนำปัญหาความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร็วที่สุด เพราะ 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายผิดพลาดและใช้งบประมาณทุ่มเทกับเรื่องอื่นแทนการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน
“หลังรัฐประหารแล้วชาวบ้านคาดหวังถึงการทำงานของคณะปฎิรูปฯ มาก และก็เป็นโอกาสดีที่จะเข้ามาดูแลพี่น้องอย่างเต็มที่ รวมถึงแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานของรัฐให้มีเอกภาพ ซึ่งจะต้องทุ่มเทพลังในการคัดเลือกคนดี มีความสามารถ เข้าใจปัญหามาดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะหากคณะปฎิรูปฯไม่สามารถคลี่คลายปัญหา และเร่งคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็วก็จะเสียความชอบธรรม ซึ่งเรามีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ยินดีให้ความช่วยเหลือ แนะนำหลายท่าน” ผศ.ดร.วิชัย กล่าว และว่า
ในความรู้สึกส่วนตัวนั้น ควรจะให้เหตุระเบิดใจกลางเมืองหาดใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน และควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เร่งด่วนเป็นรูปธรรม เช่น การทุ่มงบติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามหาผู้กระทำผิด แต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ให้ความสนใจเรื่องอื่นมากกว่า ดังเช่นงานพืชสวนโลก ที่ทุ่มเงินถึง 3,000 ล้านบาท จึงอยากให้ คปค.พิจารณาความสำคัญเรื่องเร่งด่วนใหม่ และต่อไปก็ต้องพิจารณาถึงพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมด้วยเพื่อป้องกันเหตุในอนาคต อันจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในระยะยาว
เมื่อถามว่าระยะเวลา 1 ปีนั้นเพียงพอหรือไม่ที่ คปค.จะเร่งสะสางปัญหาเร่งด่วน ให้กลไกต่างๆ ในสังคมทำงานได้เต็มที่อย่างอิสระ ก่อนให้คณะรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งบริหารงานนั้น ผศ.ดร.วิชัย กล่าวว่า เป็นเวลาที่นานพอแก้ไขปัญหาหลายอย่างที่หมักหมม เพราะมีอำนาจในการจัดการเป็นเอกภาพแล้ว อีกทั้งเชื่อมั่นว่า พล.อ.สนธิ นั้น ซึ่งเป็นคนมุสลิมจะเข้าใจปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้ดีกว่า จึงควรรวมพลังประชาชน ราชการ พิจารณาข้อเสนอแนะว่าสิ่งใดเหมาะที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อาทิ ข้อเสนอให้เจรจากับกลุ่มแกนนำซึ่งอาจจะกระทำในทางการลับ ควบคู่ไปกับการใช้กฎหมายสร้างความยุติธรรมส่วนปัญหาอื่นๆ นั้น ก็ยังสามารถสรรหาบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจปัญหา มาดูแลได้
“เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นควรใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นหลัก และพิจารณาแก้ไขในบางมาตราเพื่อไม่ให้เสียเวลามาก ซึ่งคิดว่าประมาณ 6 เดือนก็น่าจะเสร็จเรียบร้อย แล้วเร่งคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว จะทำให้คณะปฎิรูปฯ มีความสง่างามยิ่งขึ้นในการเข้ายึดอำนาจแก้วิกฤต”
ส่วนกรณีของการให้นายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มาเป็นหลักในเรื่องกฎหมายนั้น ผศ.ดร.วิชัย กล่าวว่า แม้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถแต่ก็ไม่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ความรอบรู้เป็นที่ปรึกษาในบางเรื่องจะดีกว่า เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วไปว่าเคยเป็นเนติบริกรให้กับรัฐบาลทักษิณมาแล้ว และมีอาจารย์อีกหลายท่านที่มีความสามารถมาช่วยเหลือแทน
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี รองคณะบดีฝ่ายวิจัยและบริการชุมชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า หลังจากที่ คปค.ได้ทำหน้าที่บริหารประเทศเป็นการชั่วคราวแทนรัฐบาลแล้ว ประชาชนชาวใต้ต่างจับตาถึงการทำงานในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบ และอยากให้ คปค.ให้คำมั่นสัญญาในการแก้ปัญหาไฟใต้ แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ก็ตาม โดยการลดความรุนแรงของปัญหา เปลี่ยนนโยบาย ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การปฎิบัติอย่างแท้จริง ตลอดจนการให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชน นักวิชาการ ที่ได้นำเสนอแนวทางแก้ไข และในส่วนตัวแล้วจะเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ คปค.จะนำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเร่งแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เหตุความไม่สงบที่รุนแรงและขยายตัวใน 3 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ ยิ่งมีความซับซ้อนปัญหายิ่งขยายตัวและกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว ซึ่งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้วยังทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย โดยเฉพาะการเดินนโยบาย 2 อย่าง แต่มุ่งใช้กฎหมายและความรุนแรงปราบปรามอย่างหนักเป็นหลัก เมื่อไม่สามารถควบคุมได้ก็ใช้การสมานฉันท์เป็นกำบังของตัวเองทางการเมือง ทำให้ไม่ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ที่ร่วมกลั่นกรองแนวทางการแก้ปัญหา
ดังนั้น ก้าวแรกของการเริ่มคลี่คลายปัญหาความไม่สงบ จึงควรที่จะตอบสนองด้านอัตลักษณ์ของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความแตกต่างด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ให้สวัสดิการสังคม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความยุติธรรม และพิจารณาข้อเสนอขององค์กรต่างๆ จากทุกภาคส่วนที่เคยเสนอต่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้รับการเห็นชอบเนื่องจากจุดยืนที่ต่างกัน โดยเฉพาะ กอส. ได้กลั่นกรองและศึกษาปัญหาในมิติต่างๆ ก่อนเสนอรัฐบาลในหลายเรื่อง
ด้าน ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เป็นสิ่งดีมากที่ คปค.ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และควรมาดูปัญหาให้ชัดเจน ว่ามีปัญหาติดขัดตรงไหน ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะจะปล่อยไว้ไม่ไหวแล้ว ประชาชนได้รับความลำบากเป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าการแก้ปัญหาจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการปรับทิศทางการแก้ปัญหา แต่หากยังมีความสับสน เพราะเห็นปัญหาไม่ชัด และกำหนดทิศทางการแก้ไขไม่ตรงจุดก็จะยังคงเป็นเช่นเดิม
“เราฟังมามากแล้วเหลือเพียงมาสรุปว่าจะทำอย่างไรต่อไป ตอนนี้กลุ่มที่ก่อเหตุร้ายก็ยังคงมีอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนก็แย่ มันหลวมมาก หากยังแก้กันแบบเดิมก็ไม่มีประโยชน์ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาก็ต้องถามว่าทำอะไรได้บ้าง เช่น กอ.สสส.จชต. ตอนนี้ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาและต้องเป็นสิ่งที่ประชาชนเชื่อมั่น”
ผศ.ดร.วรวิทย์ เห็นด้วย หาก คปค.จะนำข้อเสนอของ กอส.มาเป็นนโยบายหลักในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะบางเรื่องสามารถนำไปใช้ได้เลย และช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงเหมาะสมที่สุดที่ คปค.จะนำแนวทางของ กอส.มาใช้แก้ปัญหา
“ตอนนี้ความรุนแรงยังไม่ยุติ เราต้องสร้างสังคมใหม่ที่มีการยึดมั่นในสันติวิธี มาใช้แก้ปัญหา และทำให้ประชาชนเห็นว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เขาก็จะเลิกสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการไปเอง” ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าว
ผศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) และประธานบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เข้ายึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว เป็นโอกาสเหมาะสมที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน หัวหน้า คปค.จะนำปัญหาความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร็วที่สุด เพราะ 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายผิดพลาดและใช้งบประมาณทุ่มเทกับเรื่องอื่นแทนการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน
“หลังรัฐประหารแล้วชาวบ้านคาดหวังถึงการทำงานของคณะปฎิรูปฯ มาก และก็เป็นโอกาสดีที่จะเข้ามาดูแลพี่น้องอย่างเต็มที่ รวมถึงแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานของรัฐให้มีเอกภาพ ซึ่งจะต้องทุ่มเทพลังในการคัดเลือกคนดี มีความสามารถ เข้าใจปัญหามาดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะหากคณะปฎิรูปฯไม่สามารถคลี่คลายปัญหา และเร่งคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็วก็จะเสียความชอบธรรม ซึ่งเรามีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ยินดีให้ความช่วยเหลือ แนะนำหลายท่าน” ผศ.ดร.วิชัย กล่าว และว่า
ในความรู้สึกส่วนตัวนั้น ควรจะให้เหตุระเบิดใจกลางเมืองหาดใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน และควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เร่งด่วนเป็นรูปธรรม เช่น การทุ่มงบติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามหาผู้กระทำผิด แต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ให้ความสนใจเรื่องอื่นมากกว่า ดังเช่นงานพืชสวนโลก ที่ทุ่มเงินถึง 3,000 ล้านบาท จึงอยากให้ คปค.พิจารณาความสำคัญเรื่องเร่งด่วนใหม่ และต่อไปก็ต้องพิจารณาถึงพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมด้วยเพื่อป้องกันเหตุในอนาคต อันจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในระยะยาว
เมื่อถามว่าระยะเวลา 1 ปีนั้นเพียงพอหรือไม่ที่ คปค.จะเร่งสะสางปัญหาเร่งด่วน ให้กลไกต่างๆ ในสังคมทำงานได้เต็มที่อย่างอิสระ ก่อนให้คณะรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งบริหารงานนั้น ผศ.ดร.วิชัย กล่าวว่า เป็นเวลาที่นานพอแก้ไขปัญหาหลายอย่างที่หมักหมม เพราะมีอำนาจในการจัดการเป็นเอกภาพแล้ว อีกทั้งเชื่อมั่นว่า พล.อ.สนธิ นั้น ซึ่งเป็นคนมุสลิมจะเข้าใจปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้ดีกว่า จึงควรรวมพลังประชาชน ราชการ พิจารณาข้อเสนอแนะว่าสิ่งใดเหมาะที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อาทิ ข้อเสนอให้เจรจากับกลุ่มแกนนำซึ่งอาจจะกระทำในทางการลับ ควบคู่ไปกับการใช้กฎหมายสร้างความยุติธรรมส่วนปัญหาอื่นๆ นั้น ก็ยังสามารถสรรหาบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจปัญหา มาดูแลได้
“เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นควรใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นหลัก และพิจารณาแก้ไขในบางมาตราเพื่อไม่ให้เสียเวลามาก ซึ่งคิดว่าประมาณ 6 เดือนก็น่าจะเสร็จเรียบร้อย แล้วเร่งคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว จะทำให้คณะปฎิรูปฯ มีความสง่างามยิ่งขึ้นในการเข้ายึดอำนาจแก้วิกฤต”
ส่วนกรณีของการให้นายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มาเป็นหลักในเรื่องกฎหมายนั้น ผศ.ดร.วิชัย กล่าวว่า แม้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถแต่ก็ไม่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ความรอบรู้เป็นที่ปรึกษาในบางเรื่องจะดีกว่า เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วไปว่าเคยเป็นเนติบริกรให้กับรัฐบาลทักษิณมาแล้ว และมีอาจารย์อีกหลายท่านที่มีความสามารถมาช่วยเหลือแทน
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี รองคณะบดีฝ่ายวิจัยและบริการชุมชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า หลังจากที่ คปค.ได้ทำหน้าที่บริหารประเทศเป็นการชั่วคราวแทนรัฐบาลแล้ว ประชาชนชาวใต้ต่างจับตาถึงการทำงานในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบ และอยากให้ คปค.ให้คำมั่นสัญญาในการแก้ปัญหาไฟใต้ แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ก็ตาม โดยการลดความรุนแรงของปัญหา เปลี่ยนนโยบาย ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การปฎิบัติอย่างแท้จริง ตลอดจนการให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชน นักวิชาการ ที่ได้นำเสนอแนวทางแก้ไข และในส่วนตัวแล้วจะเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ คปค.จะนำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเร่งแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เหตุความไม่สงบที่รุนแรงและขยายตัวใน 3 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ ยิ่งมีความซับซ้อนปัญหายิ่งขยายตัวและกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว ซึ่งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้วยังทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย โดยเฉพาะการเดินนโยบาย 2 อย่าง แต่มุ่งใช้กฎหมายและความรุนแรงปราบปรามอย่างหนักเป็นหลัก เมื่อไม่สามารถควบคุมได้ก็ใช้การสมานฉันท์เป็นกำบังของตัวเองทางการเมือง ทำให้ไม่ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ที่ร่วมกลั่นกรองแนวทางการแก้ปัญหา
ดังนั้น ก้าวแรกของการเริ่มคลี่คลายปัญหาความไม่สงบ จึงควรที่จะตอบสนองด้านอัตลักษณ์ของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความแตกต่างด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ให้สวัสดิการสังคม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความยุติธรรม และพิจารณาข้อเสนอขององค์กรต่างๆ จากทุกภาคส่วนที่เคยเสนอต่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้รับการเห็นชอบเนื่องจากจุดยืนที่ต่างกัน โดยเฉพาะ กอส. ได้กลั่นกรองและศึกษาปัญหาในมิติต่างๆ ก่อนเสนอรัฐบาลในหลายเรื่อง
ด้าน ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เป็นสิ่งดีมากที่ คปค.ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และควรมาดูปัญหาให้ชัดเจน ว่ามีปัญหาติดขัดตรงไหน ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะจะปล่อยไว้ไม่ไหวแล้ว ประชาชนได้รับความลำบากเป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าการแก้ปัญหาจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการปรับทิศทางการแก้ปัญหา แต่หากยังมีความสับสน เพราะเห็นปัญหาไม่ชัด และกำหนดทิศทางการแก้ไขไม่ตรงจุดก็จะยังคงเป็นเช่นเดิม
“เราฟังมามากแล้วเหลือเพียงมาสรุปว่าจะทำอย่างไรต่อไป ตอนนี้กลุ่มที่ก่อเหตุร้ายก็ยังคงมีอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนก็แย่ มันหลวมมาก หากยังแก้กันแบบเดิมก็ไม่มีประโยชน์ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาก็ต้องถามว่าทำอะไรได้บ้าง เช่น กอ.สสส.จชต. ตอนนี้ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาและต้องเป็นสิ่งที่ประชาชนเชื่อมั่น”
ผศ.ดร.วรวิทย์ เห็นด้วย หาก คปค.จะนำข้อเสนอของ กอส.มาเป็นนโยบายหลักในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะบางเรื่องสามารถนำไปใช้ได้เลย และช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงเหมาะสมที่สุดที่ คปค.จะนำแนวทางของ กอส.มาใช้แก้ปัญหา
“ตอนนี้ความรุนแรงยังไม่ยุติ เราต้องสร้างสังคมใหม่ที่มีการยึดมั่นในสันติวิธี มาใช้แก้ปัญหา และทำให้ประชาชนเห็นว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เขาก็จะเลิกสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการไปเอง” ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าว